การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 1

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

ภาพหรือตารางที่คลาดเคลื่อนไปขอรับฟรีได้โดยตรงจาก e-mail : 
wiruch@wiruch.com หรือ wirmail@yahoo.com

1. บทนำ

เหตุผลสำคัญของการเขียนบทความที่เป็นรายงานผลการวิจัยนี้ เนื่องจากความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หรือที่เรียกว่า รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรสำคัญองค์กรหนึ่งของกระบวนการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยหน่วยงานและประชาชนจะอาศัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่พึ่งสูงสุดเพื่อช่วยปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของตนเองรวมทั้งการปฏิรูปการเมืองของไทย เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันคู่กรณีและทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ ตลอดจนองค์กรอื่นของรัฐ แต่ถ้าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญย่อหย่อนในการปฏิบัติหน้าที่ ยินยอมให้กฎหมายลำดับรอง เช่น ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญหรือพิจารณาวินิจฉัยคดีในทิศทางที่ทำให้รัฐธรรมนูญขาดความศักดิ์สิทธิ์หรือยินยอมให้ฝ่ายการเมืองครอบงำการพิจารณาวินิจฉัยคดีแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และประชาชนทั่วประเทศได้ร่วมมือกันร่างขึ้นย่อมล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งกระบวนการปฏิรูปการเมืองย่อมล้มเหลวตามไปด้วย ความสำคัญและความจำเป็นของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเริ่มบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบหลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2544 ย่อมทำให้มีคำร้อง ปัญหา ข้อพิพาท หรือคดีมาสู่การพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้นด้วย

รายงานผลการวิจัยนี้จะมีส่วนช่วยเสริมหรือชี้นำการแก้ไขปัญหาของประเทศที่สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ เช่น  (1) รับทราบองค์ความรู้ใหม่ทางวิชาการที่เป็นระบบและชัดเจนเกี่ยวกับการวิเคราะห์คำวินิจฉัยและแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้อง ข้อเท็จจริงในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งได้รับความคิดเห็นทางวิชาการ อันเป็นลักษณะของข้อมูลสำหรับอนาคตด้วย (2) นำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางสำหรับแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (3) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐซึ่งรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะมีส่วนช่วยให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มความระมัดระวังและความรอบคอบในการปฏิบัติหน้าที่  (4) มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ประชาชนเกิดตื่นตัว มั่นใจ กล้าที่จะใช้สิทธิเสรีภาพ และเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น ๆ และ (5) มีส่วนช่วยเสนอข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใหม่เมื่อคนเก่าตาย ลาออก หรือหมดวาระ โดยองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการคัดเลือกจะได้ทราบและเข้าใจแนวคิดหรืออุดมการณ์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนว่าเป็นอย่างไร เป็นไปในทิศทางใด แล้วนำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาสำหรับคัดเลือกบุคคลที่มีแนวคิดหรืออุดมการณ์ที่ประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวมต้องการเข้าไปดำรงตำแหน่งแทน โดยอาจเข้าไปในลักษณะที่ช่วยลด เพิ่ม  หรือถ่วงดุลตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ เพื่อให้มีจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมากเพียงพอที่จะร่วมกันวินิจฉัยไปในทิศทางที่ประชาชนในยุคสมัยนั้นต้องการมิใช่คัดเลือกใครก็ได้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าไปโดยไม่คำนึงถึงปรัชญา แนวคิด หรืออุดมการณ์ของบุคคลนั้นว่าจะคำนึงถึงผลประโยชน์ตลอดจนความต้องการของประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวมที่สะท้อนหรือแสดงออกในขณะนั้นเพียงใด ทั้งนี้เพราะองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลต่อทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันวุฒิสภายังไม่มีมาตรการใดที่จะทำการกลั่นกรองแบบนี้และยากจะกระทำได้ถ้าปราศจากการวิเคราะห์ชี้นำของนักวิชาการที่วิเคราะห์ข้อมูลได้ชัดเจน

2. กรอบการวิเคราะห์และระเบียบวิธีวิจัย

รายงานผลการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ (1)  พิจารณาศึกษาแนวคิดและการบริหารการจัดการในเรื่องโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการบริหารงานบุคคลของศาลรัฐธรรมนูญไทย (2) วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทยทุกเรื่องตั้งแต่ปี 2541 ถึง ปี 2543 (3) วิเคราะห์ภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน  ตลอดจนปรัญชาและแนวคิดทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นอย่างไร และ (4)  เสนอแนะผลการศึกษาวิจัยที่สามารถใช้เสริมหรือชี้นำสำหรับการพัฒนาระบบ เช่น โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งพัฒนาที่ตัวบุคคล โดยเฉพาะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

กรอบแนวคิดที่นำมาใช้ในรายงานผลการวิจัยนี้ สืบเนื่องมาจากความเชื่อพื้นฐาน 2 ประการที่ว่า การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในอดีต  ควบคู่กับการวิเคราะห์ปรัชญาและแนวคิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในอดีต ทั้ง 2 ประการ นี้ถือว่าเป็น “เหตุ” หรือ “อดีต” ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดหรือพยากรณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และ/หรือ คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนนั้นในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งถือว่าเป็น “ผล” หรือ “ปัจจุบันและอนาคต” อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและหน่วยงานทั้งในทางวิชาการและในทางปฏิบัติ โปรดดูภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ภาพรวมกรอบแนวคิดที่นำมาใช้

ความเชื่อพื้นฐาน 2 ประการ


การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของ การวิเคราะห์ปรัชญาและ

(อดีต) ศาลรัฐธรรมนูญและคำ แนวคิดของตุลาการศาล (เหตุ)

วินิจฉัยส่วนบุคคลในอดีต รัฐธรรมนูญในอดีต

มีแนวโน้มช่วยบ่งบอก

หรือพยากรณ์

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และ/หรือ

(ปัจจุบัน และ คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาล (ผล)

อนาคต) รัฐธรรมนูญคนนั้นในปัจจุบันและอนาคต

    เป็นประโยชน์ต่อ

ประชาชน หน่วยงาน


ในทางวิชาการ ในทางปฏิบัติ

 

 

รายงานผลการวิจัยนี้เป็นการผสมผสานข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร การวิจัยสนาม และการสัมมนาทางวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็น  การวิจัยเอกสารนั้นได้รวบรวมข้อมูลซึ่งแบ่งเป็นข้อเท็จจริงและความคิดเห็นจากหนังสือ เอกสาร ข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายระหว่างประเทศ (international network หรือ internet) และจากคำปรึกษาหรือคำแนะนำจากผู้มีความรู้และมีประสบการณ์สูงเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนการวิจัยสนามได้รวบรวมข้อมูลจาก 2 ส่วน ส่วนแรก  รวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติพิเศษหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญแบบเจาะจง (purposive sampling หรือ selective purposive) โดยให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน กรอกแบบสอบถามเองด้วยความสมัครใจ กลุ่มตัวอย่างจำกัดเฉพาะผู้เชี่ยวชาญสาขานิติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และผู้สัดทัดกรณีทางการเมืองการปกครองและการบริหาร ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้ความสนใจและติดตามการเมืองการปกครองและการบริหารประเทศอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเป็นเวลานาน แม้มิได้มีอาชีพเป็นนักการเมืองก็ตาม อีกส่วนหนึ่ง รวบรวมจากการสัมภาษณ์แนวลึกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องทุกคน รวมจำนวน 14 คน ทั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญและให้สัดส่วนการพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์การวิจัยเอกสารมากเป็นพิเศษ

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นในที่นี้จึงเรียก “คำวินิจฉัยกลาง หรือคำวินิจฉัยรวมของศาลรัฐธรรมนูญ” ว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” พร้อมกับเรียก “คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน” ว่า “คำวินิจฉัยส่วนบุคคล” ในส่วนนี้แบ่งการนำเสนอเป็น 5 หัวข้อ

2.1  แนวคิดของศาลรัฐธรรมนูญไทยและการบริหารการจัดการในเรื่องโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการบริหารงานบุคคลของศาลรัฐธรรมนูญไทย

2.1.1  ระบบการเมืองการปกครองและการบริหารของไทยมีส่วนสำคัญในการกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการบริหารงานบุคคลของศาลรัฐธรรมนูญ หมายความว่า ในระยะเริ่มแรกที่ฝ่ายการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติเข้ามามีอำนาจและบทบาทสำคัญในการปกครองประเทศ ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการแต่งตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ  ต่อมาในช่วงเวลาที่ประเทศปกครองโดยคณะปฏิวัติที่ยึดอำนาจการปกครองประเทศและประกาศใช้รัฐธรรมนูญซึ่งเรียกว่า ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร หรือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว  ในช่วงเวลานั้นจะไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และเมื่อระบบการเมืองการปกครองของประเทศเป็นประชาธิปไตยซึ่งสนับสนุนและปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน การควบคุมตรวจสอบ ตลอดจนการปฏิรูปการเมืองการปกครองและการบริหาร ทำให้มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นในปี พ.ศ. 2541 และสืบทอดมาจนทุกวันนี้ ทั้งนี้ การพิจารณาศึกษาศาลรัฐธรรมนูญไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันส่วนใหญ่จะพิจารณาจากรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้บัญญัติโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการบริหารงานบุคคลของศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรที่เรียกอย่างอื่นไว้ เห็นได้จากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 3 ของประเทศได้บัญญัติให้มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกเหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่ต้องการให้ศาลยุติธรรมเข้ามาแทรกแซงหรือเข้ามามีอำนาจวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ อำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีเพียงกรณีเดียว คือ การพิจารณาว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความแย้งหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ต่อจากนั้นมารัฐธรรมนูญฉบับถาวรทุกฉบับ ไม่รวมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและธรรมนูญการปกครอง ก็ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้มีวิวัฒนาการปรับเปลี่ยนทั้งในเรื่องของโครงสร้างและคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเรื่อยมาจนกระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540

2.1.2  ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นส่วนหนึ่งของระบบศาลไทย ซึ่งประกอบด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และศาลอื่น แม้รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีฐานะสูงกว่าศาลทั้งหลาย แต่ศาลรัฐธรรมนูญมีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากศาลทั้งหลาย ที่สำคัญเช่น

1) ศาลรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ โดยสถาปนาศาลรัฐธรรมนูญขึ้นก่อนแล้วจึงมีพระราชบัญญัติออกตามมาภายหลัง ขณะที่ศาลทั้งหลายมีพระราชบัญญัติจัดตั้งออกมาก่อน แล้วจึงสถาปนาหรือจัดตั้งองค์กรนั้นขึ้นภายหลัง

2) รัฐธรรมนูญยังบัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยังมีความพิเศษโดยเป็นเด็ดขาดหรือเป็นที่สุด ไม่อาจอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลใดๆ ได้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงแสดงให้เห็นถึงความสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของรัฐสภา มติคณะรัฐมนตรี หรือคำพิพากษาศาล

3) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และองค์กรอื่นของรัฐ

4) แม้รัฐธรรมนูญได้ยังบัญญัติให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ของศาล  คณะกรรมการนี้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ของศาลทั้งหลาย แต่ไม่รวมศาลรัฐธรรมนูญ

5) ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระที่ประชาชนฝากความหวังและคาดหวังอย่างสูงสุดที่จะให้ช่วยรักษาความศักดิ์สิทธิของรัฐธรรมนูญ ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และช่วยสนับสนุนการปฏิรูปการเมืองการบริหารและการปกครองประเทศ โปรดดูภาพที่ 2

 

 

 

 

 

ภาพที่ 2 โครงสร้างระบบศาลไทย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

ศาลรัฐธรรมนูญ

(มาตรา 255-270)

คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ของศาล

(มาตรา 248)

ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร ศาลอื่น

(มาตรา 271-275) (มาตรา 276-280) (มาตรา 281)

ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด

ศาลอุทธรณ์

ศาลชั้นต้น ศาลปกครองชั้นต้น

 

 

2.1.3 ศาลรัฐธรรมนูญมีโครงสร้างหรือองค์ประกอบที่ปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง  โดยประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 14 คน รวมทั้งสิ้น 15 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคล ดังปรากฏในภาพที่ 3

 

 

 

ภาพที่ 3 โครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญ

(1) ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรง

ตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา

ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาล

ฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน

(4) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขา

รัฐศาสตร์ซึ่งได้รับเลือก (2) ตุลาการในศาลปก

จากวุฒิสภา จำนวน 3 ศาลรัฐธรรมนูญ ครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือก


คน โดยการสรรหาและ โดยที่ประชุมใหญ่ศาล

จัดทำบัญชีรายชื่อของ ประธานฯ 1 คน ปกครองสูงสุดโดยวิธีลง

คณะกรรมการสรรหา ตุลาการฯ 14 คน คะแนนลับจำนวน 2 คน

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

(3) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา จำนวน

5 คน โดยการสรรหาและจัดทำบัญชี

รายชื่อของคณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

2.1.4   เดิมอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีไม่มาก  แต่หลังจากประเทศเป็นประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้น รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เป็นฉบับแรกที่ได้จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ  และบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอำนาจหน้าที่ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญในอดีต โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ดังสรุปไว้ในภาพที่ 4

 

ภาพที่ 4 อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่แบ่งเป็น 5 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย แบ่งเป็น (1) การตรวจสอบร่างกฎหมายก่อนประกาศใช้ (2) การตรวจ สอบกฎหมายหลังประกาศใช้มิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และ (3) การตรวจสอบประเด็นตามกฎหมาย





อำนาจหน้าที่ กลุ่มที่ 2 ปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ของศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งคำร้องและมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

แบ่งเป็น 5 กลุ่ม

กลุ่มที่ 3 ปัญหาบุคคล หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

กลุ่มที่ 4 ปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมือง

กลุ่มที่ 5 ปัญหาอื่น ๆ ที่ไม่อาจจัดไว้ในกลุ่มที่ 1-4 ได้

 

2.1.5 ในส่วนของการบริหารงานบุคคล รัฐธรรมนูญได้ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติและหลักประกันของศาลรัฐธรรมนูญโดยเน้นเรื่องความเป็นอิสระ  ความมั่นคงในตำแหน่ง การได้ค่าตอบแทนสูง และความสัมพันธ์กับฝ่ายนิติบัญญัติ โดยวุฒิสภาซึ่งมีอำนาจถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์เพื่อลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและยังมีอำนาจถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย ทั้งหมดนี้ได้สรุปไว้ในภาพที่ 5

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ 5 การบริหารงานบุคคลของศาลรัฐธรรมนูญ

การบริหารงานบุคคลที่ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติ

และหลักประกันของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเน้นเรื่อง


การบริหารงานบุคคล 1) ความเป็นอิสระ

ของศาลรัฐธรรมนูญ 2) ความมั่นคงในตำแหน่ง

3) การได้ค่าตอบแทนสูง

4) ความสัมพันธ์กับฝ่ายนิติบัญญัติ

 

2.1.6 การที่ศาลรัฐธรรมนูญไทยมีโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการบริหารงานบุคคลดังกล่าวข้างต้น เหตุผลส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของแนวคิดจากต่างประเทศที่เป็นสากล แนวคิดสำคัญของต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญมีหลายแนวคิด  แต่ละแนวคิดอาจมีหลักการบางส่วนที่คาบเกี่ยวกันได้ ในทางปฏิบัติไม่อาจแยกแต่ละแนวคิดออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด แต่ละประเทศอาจนำแต่ละแนวคิดหรือหลายแนวคิดไปใช้ได้ โดยไม่จำเป็นที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะยึดถือและใช้เพียงแนวคิดเดียวตลอดเวลา นอกจากนี้ บางประเทศอาจมองแนวคิดในมุมมองที่แตกต่างกันได้ เช่น มองว่าศาลรัฐธรรมนูญเกิดจากแนวคิดรวมอำนาจ เพราะมีองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยปัญหารัฐธรรมนูญเพียงองค์กรเดียว ในขณะที่บางประเทศอาจมองว่าศาลรัฐธรรมนูญเกิดจากแนวคิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นต้น โปรดดูภาพที่ 6 ประกอบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ 6 แนวคิดสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ

แนวคิดสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ 6 แนวคิด

1. การ 2. การ 3. ความ 4. ความแตกต่าง 5. รัฐธรรมนูญ 6. องค์กร

รวม กระจาย เชี่ยวชาญ ระหว่างกฎหมาย นิยมสมัย พิเศษทาง

อำนาจ อำนาจ เฉพาะด้าน และศาล ใหม่ การเมือง







ศาลยุติ อำนาจ ให้องค์กร ความแตกต่าง ยึดมั่นในรัฐ มีองค์กร

ธรรมเป็น พิจารณา ที่มีความ ระหว่าง ธรรมนูญ หลัก พิเศษทาง

องค์กร วินิจฉัย เชี่ยวชาญ กฎหมายเอกชน ประชาธิปไตย การเมือง

หลักที่มี คดี เฉพาะ และกฎหมาย การควบคุม ทำหน้าที่

อำนาจ กระจาย ด้านทำ มหาชนทำให้มี ตรวจสอบ ควบคุม

พิจารณา อยู่ใน หน้าที่ องค์กรทำหน้า และการ ตรวจสอบ

วินิจฉัย หลาย พิจารณา ที่พิจารณา ปกป้อง กฎหมาย

คดีทั้ง องค์กร วินิจฉัยรัฐ วินิจฉัยคดีเพิ่ม คุ้มครอง โดยไม่มี

ปวง ธรรมนูญ ขึ้นนอกเหนือ สิทธิเสรีภาพ ฐานะเป็น

จากศาลยุติธรรม ของประชาชน ศาล

มีอิทธิพลต่อ

การจัดตั้ง

ศาลรัฐธรรมนูญ

 

 

2.2  ผลการศึกษาวิจัยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทยตั้งแต่ปี 2541 ถึง ปี 2543 จำนวน 1,403 เรื่อง

2.2.1 จำนวนคำวินิจฉัยที่นำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ คำวินิจฉัยที่นำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ในที่นี้ ตั้งแต่ปี 2541 ถึง ปี 2543 มีจำนวน 1,403 เรื่อง แบ่งเป็น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 101 เรื่อง และคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 1,302 เรื่อง ทั้งนี้ ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 

ตารางที่ 1 จำนวนคำวินิจฉัยที่นำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ในที่นี้

ปี

จำนวน

(เรื่อง หรือ

คำวินิจฉัย)

คำวินิจฉัย

ของศาล

รัฐธรรมนูญ

คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของ

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

รวมเรื่องที่วิเคราะห์

ในที่นี้

2541

16 (ครบทุกเรื่อง)

16

208

 

2542

54 (ครบทุกเรื่อง)

54

701

 

2543

31 (ไม่ครบทุกเรื่อง)P

31

393

 

รวม

101

101

1,302

1,403

P ในปี 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 64 เรื่อง แต่ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนถึงเดือนสิงหาคม 2544 ซึ่ง

เป็นเวลาที่เก็บรวบรวมและวิเคราห์ข้อมูลตามโครงการศึกษาวิจัยนี้มีจำนวน 31 เรื่องเท่านั้น เรื่องสุด

ท้ายที่นำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ คือ คำวินิจฉัยที่ 31/2543  แม้ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน

2544 จะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพิ่มอีก 33 เรื่อง ทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี

2543 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาครบทั้ง 64 เรื่อง แต่ก็มิได้นำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ด้วย

เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลาของโครงการศึกษาวิจัยนี้ที่สิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2544

2.2.2 ประเภทของผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หากจัดแบ่งประเภทของผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญมีจำนวน 15 ประเภท แต่ถ้าจัดแบ่งตามตำแหน่งจะมีจำนวน 11 ประเภท เนื่องจากได้รวมประเภทที่เป็นตำแหน่งเดียวกันหรือเป็นคน ๆ เดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น รวมประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎรเข้าด้วยกัน เพราะเป็นบุคคลคนเดียวกัน โปรดดูตารางที่ 2

 

 

 

ตารางที่ 2 ประเภทของผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย

ประเภทของผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ

1) จัดแบ่งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจ

2) จัดแบ่งตามตำแหน่ง

1) ประธานรัฐสภา (มาตรา 142)

1) ประธานรัฐสภา หรือ

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

2) ประธานรัฐสภาหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 266)

3) ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธาน

รัฐสภา (มี 2 กรณี ตามมาตรา 262 และมาตรา 263)

4) ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานวุฒิสภา (มี 3 กรณี

ตามมาตรา 177 มาตรา 96 และมาตรา 219)

2) ประธานวุฒิสภา

5) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 118 (8))

3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

6) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา (มาตรา 180)

4) สมาชิกวุฒิสภา

7) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรรมการบริหารของพรรคการ

เมืองหรือสมาชิกพรรคการเมือง (มาตรา 47 วรรคสาม)

5) กรรมการบริหารของพรรค

การเมือง หรือสมาชิก

พรรคการเมือง หรือผู้ขอ

จัดตั้งพรรคการเมือง

8) ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมือง (ตามพระราชบัญญัติประกอบ

รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 17)

9) ศาล (หมายถึง ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร และ

ศาลอื่น ๆ) (มาตรา 264)

6) ศาล

10) นายกรัฐมนตรี (มาตรา 262)

7) นายกรัฐมนตรี

11) อัยการสูงสุด (มาตรา 63)

8) อัยการสูงสุด

12) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(มี 2 กรณี ตามมาตรา 295 และมาตรา 321 วรรคสอง)

9) คณะกรรมการป้องกันและ

ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

13) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา (มาตรา 198)

10) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

14) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (มี 3 กรณี ตามมาตรา 315 วรรค

ห้า (2) มาตรา 319 วรรคสาม และมาตรา 324 วรรคหนึ่ง (2))

11) คณะกรรมการการเลือกตั้ง

หรือ นายทะเบียนพรรคการเมือง

15) นายทะเบียนพรรคการเมือง (มี 2 กรณี ตามพระราชบัญญัติ

ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541

มาตรา 27 และ มาตรา 65, 72, 73)

เมื่อพิจารณาศึกษาถึงจำนวนผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยโดยใช้การจัดแบ่งตามตำแหน่งออกเป็น 11 ประเภทดังกล่าว พบว่า ในจำนวน 101 คำวินิจฉัย ศาลยุติธรรมเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญมากที่สุด คือ มีจำนวน 51 เรื่อง รองลงมาตามลำดับคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งหรือนายทะเบียนพรรคการเมือง จำนวน 16 เรื่อง และประธานรัฐสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 13 เรื่อง สำหรับผู้ยื่นคำร้องจำนวนน้อยที่สุดโดยยื่นคนละ 1 เรื่อง คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา นายกรัฐมนตรี และ ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมือง ในขณะที่สมาชิกวุฒิสภา และอัยการสูงสุดไม่ได้ยื่นคำร้องแม้แต่เรื่องเดียว

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในจำนวนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 101 เรื่อง นั้น มีเพียงศาลยุติธรรมเท่านั้นที่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ศาลอื่นใด เช่น ศาลปกครอง หรือศาลทหาร ยังไม่เคยยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ

2.2.3 มาตราที่ผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย  จากคำวินิจฉัย 101 เรื่อง มาตราที่ผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุดคือ มาตรา 264 มีจำนวน 53 เรื่อง มาตรานี้กำหนดว่าเมื่อเกิดการโต้แย้งขึ้น ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งเรื่องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

2.2.4 จำนวนประเด็นหลักของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นหลักของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึง ประเด็นสำคัญที่ปรากฏอยู่ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเป็นประเด็นที่องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนำไปใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยและคณะผู้ศึกษาวิจัยได้นำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ ประเด็นหลักนั้นอาจมีประเด็นเดียวหรือหลายประเด็นก็ได้ สำหรับคำวินิจฉัยจำนวน 101 เรื่องนั้น มีประเด็นหลักตั้งแต่ 1-4 ประเด็นหลัก โดยมี 1 ประเด็นหลักมากที่สุด คือ 75 เรื่อง, รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ มี 2 ประเด็นหลัก 20 เรื่อง, มี 3 ประเด็นหลัก 5 เรื่อง, และมี 4 ประเด็นหลัก 1 เรื่อง

2.2.5 ประเภทของปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย  ได้จัดแบ่งตาม “อำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” มี 5 ประเภท ได้แก่ (1) ปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย (2) ปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (3) ปัญหาบุคคลหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (4) ปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมือง และ (5) ปัญหาอื่น ๆ ซึ่งนอกเหนือจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เช่น คำวินิจฉัยที่ 24/2543 ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 กรณีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งฯ

ผลการพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์โดยใช้การจัดแบ่งที่กล่าวข้างต้นนี้ สรุปได้ว่า ปัญหาการตรวจสอบกฎหมายมีมากที่สุดทั้ง 3 ปี คือ มี 11, 41 และ 14 เรื่อง ตามลำดับ รวมทั้งสิ้น 66 เรื่อง ส่วนปัญหาอื่น ๆ มีน้อยที่สุดเพียง 1 เรื่อง โปรดดูตารางที่ 3

 

ตารางที่ 3 คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2541 ถึง ปี 2543 จำนวน 101 เรื่อง จำแนกตาม ปี และประเภทของปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย จำนวน 5 ประเภท

คำวินิจฉัย

ปี

ประเภทของปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย 5 ประเภท

 

รวม

1) ปัญหาการ

ตรวจสอบ

กฎหมาย

2) ปัญหา

อำนาจหน้าที่

ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ

3) ปัญหาบุคคล หรือ

ผู้ดำรงตำแหน่งทาง

การเมือง

4) ปัญหา

องค์กร

หรือพรรค

การเมือง

5)ปัญหา

อื่น ๆ

การตรวจสอบร่างกฎหมายก่อนและหลังประกาศใช้ และการตรวจสอบประเด็นตามกฎหมาย

รวมทั้งคำร้องและมติของคณะ

กรรมการการเลือกตั้ง

ครอบคลุมคุณสมบัติหรือสมาชิกภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และตำแหน่งที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ตลอดจนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจไม่ยื่นบัญชีฯ

ครอบคลุมเรื่องพรรคการเมืองและการยุบพรรคการเมือง

ปัญหาอื่นใดที่ไม่อาจจัดไว้ในข้อ 1-4

2541

11

4

0

1

0

16

2542

41

6

2

5

0

54

2543

14

5

7

4

1

31

รวม

66

15

9

10

1

101

2.2.6 ทิศทางคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  ในการพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยส่วนบุคคลในที่นี้ คณะผู้ศึกษาวิจัยมิได้ดำเนินการในลักษณะของการนำคำวินิจฉัยมารวบรวม เรียบเรียง แล้วเขียนบรรยายหรือพรรณนา พร้อมวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยนั้น แต่ได้ดำเนินการจัดกลุ่ม และแยกประเภทคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน เพื่อให้ได้จำนวนตัวเลขและตัวเลขรวมของแต่ละกลุ่ม ต่อจากนั้นจึงนำตัวเลขเสนอในตารางเพื่อพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ต่อไป ประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินการเช่นนี้ ไม่เพียงทำให้เห็นทั้งภาพรวมและภาพย่อยตลอดจนลักษณะและผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนในอดีตเท่านั้น แต่ยังทำให้เห็นพัฒนาการหรือแนวทางของคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนซึ่งในที่สุดจะกลายไปเป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเป็นเสียงข้างมาก หรือเป็นลักษณะของการนำข้อมูลที่ได้จากการพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ไปใช้ในการพยากรณ์แนวโน้มหรือทิศทางของคำวินิจฉัยในอนาคต ทั้งนี้ จะมีส่วนช่วยให้ผลการวิจัยเอกสารโดยเฉพาะในส่วนสำคัญคือส่วนที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนชัดเจน เป็นระบบ และน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ การที่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนมีอิสระในการพิจารณาวินิจฉัยอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนจึงมีอิสระที่จะพิจารณาวินิจฉัยและเขียนคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตนไปในลักษณะที่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย หรือใช้ถ้อยคำอื่น เป็นต้นว่า ยกคำร้อง ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย จำหน่ายคดี หรือขัดหรือแย้ง หรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ได้ ดังนั้น การจัดกลุ่ม แยกประเภทเพื่อให้ได้ตัวเลขจึงเป็นวิธีการที่สำคัญที่จะทำให้คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนที่มีต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 101 เรื่อง  ซึ่งมีความแตกต่างกันพอสมควรดังกล่าวแล้ว เป็นระบบและเป็นหมวดหมู่ที่แสดงให้เห็นถึงความเหมือน ความคล้ายคลึง หรือความแตกต่างกันของคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนในทุกคำวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน และยังสามารถนำไปวิเคราะห์ทางสถิติตามความจำเป็นได้อีกด้วย โปรดดูตารางที่ 9 ท้ายสุด

หลังจากนำคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน(จำนวน 1,302 เรื่อง) ที่มีส่วนในการพิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (จำนวน 101 เรื่อง) ในปี 2541 ถึง ปี 2543มาแปลงและจัดกลุ่มแล้ว สรุปได้ว่า คะแนนเสียงของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเฉพาะส่วนที่  “ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ”และ “ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” (โดยไม่รวม “อื่น ๆ”) มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนและยังแสดงให้เห็นสาระสำคัญ 2 ประการ

ประการแรก  เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย  มีแนวโน้มของคำวินิจฉัยที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 7.1 : 1 ส่วนปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมืองมีแนวโน้มของคำวินิจฉัยที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 8.8 : 1

ประการที่สอง  แต่เมื่อใดตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีแนวโน้มของคำวินิจฉัยที่จะเป็นไปในทิศทางที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 1 : 2.3 ส่วนปัญหาบุคคลหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีแนวโน้มของคำวินิจฉัยที่จะเป็นไปในทิศทางที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 1 : 8.9

ส่วนปัญหาอื่นๆ ไม่อาจแสดงแนวโน้มได้เพราะตัวเลขน้อยเกินไป โปรดดูตารางที่ 4 ประกอบ

ตารางที่ 4  แนวโน้มทิศทางคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำแนกตามกลุ่ม และประเภทของปัญหา 5 ประเภท

แนวโน้มทิศทางคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

กลุ่ม

ประเภทของปัญหา 5 ประเภท

คะแนนเสียง

ชอบ :ไม่ชอบ

กลุ่มที่ 1

มีแนวโน้มทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

1. ปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย

(จำนวน 66 เรื่อง)

701

98

ปรับตัวเลขเป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ

7.1

1

2. ปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมือง

(จำนวน 10 เรื่อง)

97

11

ปรับตัวเลขเป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ

8.8

1

กลุ่มที่ 2

มีแนวโน้มทำให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยไปในทิศทางที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

3. ปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ

(จำนวน 15 เรื่อง)

51

119

ปรับตัวเลขเป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ

1

2.3

4. ปัญหาบุคคลหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

(จำนวน 9 เรื่อง)

11

98

ปรับตัวเลขเป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ

1

8.9

กลุ่มที่ 3

(ไม่อาจแสดงแนวโน้มได้

เพราะตัวเลขน้อยเกินไป)

5. ปัญหาอื่น ๆ

(จำนวน 1 เรื่อง)

5

7

ปรับตัวเลขเป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ

1

1.4

2.2.7 การแสดงจุดยืนของคำวินิจฉัยส่วนบุคคล จากการวิจัยเอกสารพบความชัดเจนในการยึดมั่นในจุดยืนของคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนอย่างชัดเจน

1)  คำวินิจฉัยส่วนบุคคลที่มีต่อปัญหาของค์กรหรือพรรคการเมือง จากจำนวนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 101 เรื่อง มีคำวินิจฉัยที่เป็นปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมืองรวมทั้งสิ้น 10 เรื่อง ในจำนวนนี้ นายโกเมน ภัทรภิรมย์ มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยครบทุกครั้ง แต่มีคำวินิจฉัยที่แตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ กล่าวคือ ไม่มีคำวินิจฉัยว่า “ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” แม้แต่เรื่องเดียว แต่มีคำวินิจฉัยว่า “ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” 2 เรื่อง และมีคำวินิจฉัยเรื่องที่มีลักษณะเดียวกันว่า “อื่น ๆ” เช่น ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมือง (เนื่องจากเห็นว่าเป็นอำนาจที่พระราชบัญญัติพรรคการเมืองฯ มอบให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยไม่ใช่อำนาจที่รัฐธรรมนูญมอบให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย) หรือให้ยกคำร้อง จำนวน 8 เรื่อง (0 : 2 : 8) ในขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นเกือบทุกคนไม่มีคำวินิจฉัยว่า “อื่น ๆ” คำวินิจฉัยของนายโกเมน ภัทรภิรมย์ เช่นนี้ มีส่วนแสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นในจุดยืนของคำวินิจฉัยในเรื่องปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมืองอย่างชัดเจน เห็นตัวอย่างได้จาก คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของนายโกเมน ภัทรภิรมย์ ที่ 6/2541 เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคมวลชนเนื่องจากไปรวมกับพรรคความหวังใหม่ ซึ่งวินิจฉัยว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจสั่งยุบพรรคมวลชน รวมทั้งคำวินิจฉัยที่ 2/2542 เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้สั่งยุบพรรคปฏิรูป และคำวินิจฉัยที่ 29/2543 เรื่อง นายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้สั่งยุบพรรคธรรมรัฐ ทั้ง 2 คำวินิจฉัยนี้ นายโกเมน ภัทรภิรมย์ได้วินิจฉัยให้ยกคำร้องเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้อง

2) คำวินิจฉัยส่วนบุคคลที่มีต่อปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย จากจำนวนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่นำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ในที่นี้ 101 เรื่อง (โปรดดูตารางที่ 9) มีคำวินิจฉัยที่เป็นปัญหาการตรวจสอบกฎหมายรวมทั้งสิ้น 66 เรื่อง ในจำนวนนี้ นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ มีคำวินิจฉัยเรื่องที่มีลักษณะเดียวกันแตกต่างอย่างตรงกันข้ามกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ กล่าวคือ มีคำวินิจฉัยว่า ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 19 เรื่อง ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 42 เรื่อง วินิจฉัยว่า อื่น ๆ 1 เรื่อง และไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัย 4 เรื่อง (19 : 42 : 1 : 4) ขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่เกือบทุกคน เช่น นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ มีคำวินิจฉัยว่า ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 56 เรื่อง ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 4 เรื่อง และอื่น ๆ 6 เรื่อง (56 : 4 : 6) รวมทั้งนายสุวิทย์ ธีรพงษ์ มีคำวินิจฉัยว่า ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 57 เรื่อง ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 6 เรื่อง อื่น ๆ 1 เรื่อง และไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัย 2 เรื่อง (57 : 6 : 1 : 2) เป็นต้น คำวินิจฉัยของนายชัยอนันต์ สมุทวณิช เช่นนี้ มีส่วนแสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นในจุดยืนของคำวินิจฉัยในเรื่องปัญหาการตรวจสอบกฎหมายชัดเจนเห็นตัวอย่างได้จากคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของนายชัยอนันต์ สมุทวณิช ที่ 4/2542 วินิจฉัยว่าประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) ภายใต้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฯ เป็นประกาศที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตลอดทั้งคำวินิจฉัยที่ 5/2542 และ 12-35/2542 ได้วินิจฉัยว่าเนื่องจากประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยฯ และพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกอัตราดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี มีฐานะเป็นบทบัญญัติของกฎหมายและขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30

3)  จำนวนคำวินิจฉัยว่า “อื่นๆ” คำวินิจฉัยที่นำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ในที่นี้จำนวน 101 เรื่องซึ่งแบ่งเป็นปัญหา 5 ประเภทนั้น มีคำวินิจฉัยส่วนบุคคลว่า “อื่น ๆ” จำนวนมากพอสมควร หมายความว่าแทนที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยส่วนบุคคลต่อประเด็นหลักของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่ปรากฏว่า มีบ่อยครั้งที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนได้มีคำวินิจฉัยไปในลักษณะที่แตกต่างจาก 2 กลุ่มดังกล่าว เช่น วินิจฉัยให้ยกคำร้อง หรือวินิจฉัยว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้อง หรือไม่วินิจฉัยประเด็นหลัก เป็นต้น (ทั้งนี้ ไม่นับรวมเรื่องที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมิได้ร่วมพิจารณาวินิจฉัย) ผลที่ได้จากการวิจัยเอกสารครั้งนี้แสดงให้เห็นคำวินิจฉัยในลักษณะดังกล่าวอย่างชัดเจน นั่นก็คือ จากจำนวนเรื่องที่วินิจฉัยทั้งหมด 101 เรื่อง

3.1) นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ นายจุมพล ณ สงขลา และนายอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ โดย 2 คนแรกมาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา ส่วนคนหลังสุดมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ มีจำนวนคำวินิจฉัยที่จัดอยู่ในกลุ่ม “อื่น ๆ” จำนวน 12 เรื่อง 10, และ 9 เรื่อง ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แบ่งเป็นคำวินิจฉัยที่มีต่อปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย และ/หรือ ปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (โปรดดูตารางที่ 9)

3.2)  มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 3 คน ได้แก่ พลโทจุล อติเรก นายสุจินดา ยงสุนทร และนายสุวิทย์ ธีรพงษ์ มีคำวินิจฉัยที่จัดอยู่ในกลุ่มอื่น ๆ จำนวนน้อยที่สุด คือ 1 เรื่องเท่านั้น โดยเป็นคำวินิจฉัยที่มีต่อปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย นอกจากนี้ นายประเสริฐ นาสกุล มีจำนวน 2 เรื่อง ทั้งนี้ เป็นคำวินิจฉัยที่มีต่อปัญหาการตรวจสอบกฎหมายและองค์กรหรือพรรคการเมืองปัญหาละ 1 เรื่อง ข้อมูลส่วนนี้มีส่วนแสดงให้เห็นว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3 คนดังกล่าวซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ยกเว้นนายสุวิทย์ ธีรพงษ์ ที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา ได้พิจารณาวินิจฉัยและยึดถือประเด็นหลักในการทำคำวินิจฉัยอย่างเคร่งครัด

3.3)  มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 3 คน ที่เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยปัญหาไม่ครบ 101 เรื่อง เนื่องจากพ้นจากตำแหน่งเพราะอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ หรือลาออก หรือเพิ่งเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ นายเชาวน์ สายเชื้อ ร่วมพิจารณาวินิจฉัยจำนวน 69 เรื่อง โดยไม่ปรากฏว่ามีคำวินิจฉัยที่จัดอยู่ในกลุ่มอื่นแม้แต่เรื่องเดียว ขณะที่นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ร่วมพิจารณาวินิจฉัยจำนวน 96 เรื่อง ในจำนวนนี้มีคำวินิจฉัยที่จัดอยู่ในกลุ่มอื่น ๆ จำนวน 1 เรื่อง รวมทั้งนายสุจิต บุญบงการ ร่วมพิจารณาวินิจฉัยจำนวน 26 เรื่อง ในจำนวนนี้มีคำวินิจฉัยที่จัดอยู่ในกลุ่มอื่น ๆ จำนวน 1 เรื่อง ทั้ง 3 คนนี้ ล้วนมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ เช่นนี้ มีส่วนแสดงให้เห็นถึงการพิจารณาวินิจฉัยที่ยึดถือประเด็นหลักในการทำคำวินิจฉัยอย่างเคร่งครัด แม้ว่าจะวินิจฉัยไม่ครบ 101 เรื่องก็ตาม

ข้อสังเกต ในเรื่องการมีคำวินิจฉัยในกลุ่มอื่น ๆ เช่น วินิจฉัยให้ ยกคำร้อง หรือ ไม่วินิจฉัยประเด็นหลัก นั้น ตามหลักทั่วไป ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยในองค์คณะมาตั้งแต่เริ่มแรก ต้องทำวินิจฉัยและทำคำวินิจฉัยในขั้นสุดท้ายด้วย การไม่วินิจฉัยจะเกิดขึ้นได้เมื่อ (1) เป็นกรณีที่องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า ไม่ควรรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัย (2) ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาวินิจฉัยมาตั้งแต่เริ่มแรก แต่ต่อมาพบว่าได้เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย จึงไม่อาจร่วมพิจารณาวินิจฉัยต่อไปอีกทำให้ไม่มีสิทธิที่จะวินิจฉัยในขั้นสุดท้าย หรือ (3) ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะมาตั้งแต่เริ่มแรกแต่ในวันลงมติไม่ได้เข้าร่วมประชุมเนื่องจากลาป่วยหรือลากิจ เช่น ไปราชการต่างประเทศ หรือ (4) แม้เข้าร่วมแต่ไม่ลงมติ เพราะเห็นว่าไม่ควรรับไว้พิจารณามาแต่ต้น

แต่ในทางปฏิบัติ  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนไม่วินิจฉัยประเด็นหลักซึ่งเป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญมีประเด็นหลักอยู่ 2 ประเด็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนไม่วินิจฉัยประเด็นหลักที่ 1 หรือประเด็นหลักที่ 2 ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง หรือบางคนอาจไม่วินิจฉัยประเด็นหลักทั้ง 2 ประเด็น ยิ่งไปกว่านั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนอาจกำหนดประเด็นขึ้นเอง และวินิจฉัยประเด็นอื่นที่กำหนดไว้นั้น สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนมีอิสระในการพิจารณาวินิจฉัยอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนจึงมีอิสระที่จะพิจารณาวินิจฉัยและเขียนคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตนไปในลักษณะที่เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย หรือใช้ถ้อยคำอื่น เป็นต้นว่า ยกคำร้อง ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย จำหน่ายคดี หรือขัดหรือแย้ง หรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก็ได้

2.2.8  การร่วมพิจารณาวินิจฉัย ผลจากการวิจัยเอกสาร ได้บ่งบอกให้เห็นตัวเลขการร่วมพิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่มาสู่ศาลรัฐธรรมนูญของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ

1) ในจำนวนคำวินิจฉัย 101 เรื่อง ที่นำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ในที่นี้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยจำนวน 1 เรื่อง หรือหมายถึงได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด มี 4 คน ได้แก่ นายประเสริฐ นาสกุล นายอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ และนายอุระ หวังอ้อมกลาง โดย 2 คนแรก มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และอีก 2 คนหลัง มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา ดังนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 4 คนดังกล่าวนี้ ได้ร่วมพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด (ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาเพียง 1 เรื่อง)

ในเรื่องการไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยมีข้อสังเกตว่า เมื่อใดที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใดดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ  โอกาสขาดประชุมหรือไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยจะมีน้อยมาก ที่เป็นเช่นนี้เพราะประธานศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กำหนดวันเวลาการประชุม วาระการประชุม รวมทั้งนำเรื่องหรือคำร้องเข้าสู่ที่ประชุม โดยทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมพิจารณาวินิจฉัยทุกครั้ง ถ้าประธานไม่มาหรือขาดประชุมก็ไม่อาจพิจารณาวินิจฉัยเรื่องใด ๆ ได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้มีรองประธานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทำหน้าที่แทน กรณีของนายประเสริฐ นาสกุล ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยเพียงครั้งเดียว โดยขอถอนตัวจากการร่วมพิจารณาวินิจฉัยเนื่องจากตนเองได้เคยมีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ด้วย และในครั้งที่ไม่ได้ร่วมพิจารณาวินิจฉัยนั้นอยู่ในปี 2541 ซึ่งนายประเสริฐ นาสกุล ก็ยังมิได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญก็เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยทุกครั้ง เช่นเดียวกับนายเชาวน์ สายเชื้อ ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ที่เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยทุกครั้ง เนื่องจากดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่เริ่มแรกจนกระทั่งพ้นจากตำแหน่ง

2) ในจำนวนคำวินิจฉัย 101 เรื่อง นายจุมพล ณ สงขลา ไม่ได้ร่วมพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด คือ 11 เรื่อง (คิดเป็นร้อยละ 10.9 ของเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยและนำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ในที่นี้) รองลงมา คือ ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัย 4 เรื่อง มี 3 คน ได้แก่ นายโกเมน ภัทรภิรมย์ นายสุจินดา ยงสุนทร และนายมงคล สระฏัน ในจำนวนนี้ 2 คนแรกมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ อีก 1 คนมาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา สำหรับเหตุผลของการไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนในแต่ละเรื่อง คณะผู้ศึกษาวิจัยไม่อาจหาได้ โดยทั่วไป ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ขาดประชุมหรือไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยเรื่องใด จะแจ้งต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญพร้อมเหตุผล แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ ไม่มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ และไม่ได้ลงประกาศในเว็บไซด์ (website) ของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม วิธีหนึ่งที่จะทำให้ได้ข้อมูลหรือเหตุผลเกี่ยวกับการไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ การสัมภาษณ์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน ซึ่งหลังจากการสัมภาษณ์ทำให้ได้คำตอบว่า เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใดไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัย จะแจ้งต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจทำเป็นลายลักษณ์อักษรหรือแจ้งด้วยวาจาก็ได้ ส่วนเหตุผลที่ไม่ได้เข้าร่วมอาจเป็นลักษณะของการลากิจ เช่น ติดราชการอื่น หรือไปราชการต่างประเทศ หรือการลาป่วย เช่น เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากเหตุผลอื่นได้อีก เป็นต้นว่า การจราจรติดขัดมากและมาประชุมไม่ทัน  หรือเกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องวันเวลานัดหมายประชุม

3) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ร่วมพิจารณาวินิจฉัยครบทุกเรื่องนับแต่เริ่มแรกจนกระทั่งพ้นตำแหน่ง คือ นายเชาวน์ สายเชื้อ ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ โดยร่วมพิจารณาวินิจฉัยครบทุกเรื่อง (69 เรื่อง) ที่เป็นเช่นนี้เพราะได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนแรกและดำรงตำแหน่งนี้จนกระทั่งพ้นตำแหน่งเมื่ออายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น นอกจากนี้ นายสุจิต บุญบงการ ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ที่เข้ามาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแทนนายเชาวน์ สายเชื้อ ก็ได้ร่วมพิจารณาวินิจฉัยครบทุกเรื่องด้วย แต่เป็นการร่วมพิจารณาวินิจฉัยเพียง 26 เรื่องเท่านั้น

  4) กรณีของนายชัยอนันต์ สมุทวณิช ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ และได้ลาออกจากตำแหน่ง ในขณะดำรงตำแหน่งอยู่ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยทั้งหมด 96 เรื่อง ปรากฏว่า ในจำนวนนี้ นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยจำนวน 9 เรื่อง (คิดเป็นร้อยละ 9.4 ของเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยในขณะนั้น)

  5) ปัญหาที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด คือ ปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย ซึ่งมีจำนวน 27 เรื่อง รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ ปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมือง 8 เรื่อง ปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ 6 เรื่อง และปัญหาบุคคลหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 3 เรื่อง

  6) คำวินิจฉัยที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด ได้แก่ คำวินิจฉัยที่ 7, 8, 9/2541 ทั้ง 3 คำวินิจฉัยนี้มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยจำนวน 4 คน

2.2.9 คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ มติเป็นเอกฉันท์ และมติไม่เป็นเอกฉันท์ เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยปรากฏว่าคะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาเท่ากัน ถ้าเมื่อใดคะแนนเสียงออกมาเท่ากันย่อมเกิดปัญหา เพราะรัฐธรรมนูญมิได้มีบทบัญญัติใดกล่าวถึงเรื่องคะแนนเสียงเท่ากันไว้ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงให้ความสนใจเป็นพิเศษสำหรับเรื่องที่มีแนวโน้มว่าคะแนนเสียงจะออกมาเท่ากัน และร่วมมือกันหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น วิธีการหนึ่งที่กระทำได้คือ เมื่อใดก็ตามที่จะลงคะแนนเสียง จะต้องมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ร่วมอยู่ในองค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนเลขคี่เสมอ แต่ถ้ามีจำนวนเลขคู่เมื่อใดและเรื่องที่จะลงมตินั้นมีแนวโน้มว่าจะมีคะแนนเสียงใกล้เคียงกัน ประธานศาลรัฐธรรมนูญก็อาจเลื่อนการประชุมออกไป (ได้ข้อมูลมาจากการสัมภาษณ์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ)

ในจำนวนคำวินิจฉัย 101 เรื่อง มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยจำนวนไม่เกิน 13 คน เพราะยังไม่มีตุลาการในศาลปกครองจำนวน 2 คนเข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยด้วย ศาลรัฐธรรมนูญในช่วงที่พิจารณาวินิจฉัย 101 เรื่องดังกล่าว จึงประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวมทั้งสิ้น 13 คน ทั้งนี้ เป็นไปตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ มาตรา 320 วรรคสาม นอกจากนี้ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 บัญญัติว่า องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัยต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า 9 คน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่จะมีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ กล่าวโดยย่อ จากเหตุผลข้างต้นนี้ ในคำวินิจฉัยจำนวน 101 เรื่อง แต่ละเรื่องจึงได้ผ่านการพิจารณาวินิจฉัยโดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่า 9 คน และไม่เกิน 13 คน และในทุกคำวินิจฉัยจะคะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาเป็น 2 กลุ่มใหญ่ดังกล่าวแล้ว

ผลการพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์พบว่า ในปี 2541 คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีจำนวน 16 เรื่องนั้น แบ่งเป็น มติเป็นเอกฉันท์ 7 เรื่อง และมติไม่เป็นเอกฉันท์ 9 เรื่อง ต่อมาในปี 2542 มีคำวินิจฉัยจำนวน 54 เรื่อง แบ่งเป็น มติเป็นเอกฉันท์ 8 เรื่อง และไม่เป็นเอกฉันท์ 46 เรื่อง และในปี 2543 ซึ่งมีคำวินิจฉัย 31 เรื่อง แบ่งเป็น มติเอกฉันท์ 12 เรื่อง และไม่เป็นเอกฉันท์ 19 เรื่อง จากตัวเลขดังกล่าวนี้ ทำให้พอที่จะกล่าวได้ว่า จำนวนมติเป็นเอกฉันท์มีน้อยกว่ามติไม่เป็นเอกฉันท์ทุกปี เมื่อรวมทั้ง 3 ปี จะได้มติเป็นเอกฉันท์ 27 เรื่อง และมติไม่เป็นเอกฉันท์ 74 เรื่อง และเมื่อปรับตัวเลขดังกล่าวเป็นอัตราส่วนอย่างต่ำเพื่อให้เห็นชัดเจนขึ้น จะเท่ากับ มติเป็นเอกฉันท์ 1 และมติไม่เป็นเอกฉันท์ 2.7 หรือเท่ากับ 1 : 2.7 ซึ่งหมายความว่า คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่เป็นมติเอกฉันท์น้อยกว่ามติไม่เป็นเอกฉันท์ ในอัตราส่วน 1 : 2.7

2.2.10  ระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาแต่ละเรื่อง ในจำนวนคำวินิจฉัย 101 เรื่องในปี 2541 ถึง ปี 2543

1) ระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาจนแล้วเสร็จมากที่สุด กล่าวได้ว่า ระยะเวลาส่วนใหญ่ที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาจนแล้วเสร็จ คือ ไม่เกิน 3-4 เดือน ในขณะที่ระยะเวลาส่วนน้อยที่สุดที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาจนแล้วเสร็จ คือ ตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป

2) คำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณาวินิจฉัยน้อยที่สุด มี 2 เรื่อง ได้แก่ คำวินิจฉัยที่ 1/2541 เรื่อง ประธานสภาผู้แทนราษฎรขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และคำวินิจฉัยที่ 26/2543 เรื่อง คณะรัฐมนตรีเสนอคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 กรณีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการออกพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติ ทั้ง 2 คำวินิจฉัยนี้ ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาเพียง 2 วัน สำหรับคำวินิจฉัยที่ใช้เวลาน้อยรองลงมา ตามลำดับ คือ คำวินิจฉัยที่ 6/2543 ใช้เวลา 5 วัน และคำวินิจฉัยที่ 3/2542 ใช้เวลา 7 วัน

3) คำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญในเวลาพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด มี 1 เรื่อง คำวินิจฉัยที่ 1/2543 ใช้เวลา 12 เดือน 28 วัน เป็นคำวินิจฉัยเกี่ยวกับปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ได้ส่งคำร้อง ของจำเลย คือ นายสมพร เดชานุภาพ นายเณร มหาวิลัย และนายรังสรรค์ ต่อสุวรรณ เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ตามมาตรา 264 คำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลามากรองลงมา คือ คำวินิจฉัยที่ 2/2543 ใช้เวลา 11 เดือน 29 วัน เป็นเรื่องที่ศาลอาญาส่งคำร้องของผู้ร้อง คือ นายรังสรรค์ ต่อสุวรรณ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย ตามมาตรา 264

2.2.11 คำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน หมายถึง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นคำวินิจฉัยเริ่มแรกในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย โดยมีลักษณะเป็นแบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ แม้รัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการวางบรรทัดฐานคำวินิจฉัยก็ตาม แต่ศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นเด็ดขาดไม่อาจอุทธรณ์ฎีกาได้ และยังผูกพันคู่กรณี ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รวมทั้งองค์กรอื่นของรัฐ ดังนั้น จึงได้นำการวางบรรทัดฐานของศาลรัฐธรรมนูญมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ด้วย สำหรับเกณฑ์การยึดถือว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องใดได้วางบรรทัดฐานไว้ ได้ยึดถือเกณฑ์ประการใดประการหนึ่ง หรือทั้ง 2 ประการต่อไปนี้ประกอบกัน กล่าวคือ ประการที่หนึ่ง เป็นคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้อ้างอิงในการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องอื่นและได้เขียนไว้ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ประการที่สอง  เป็นคำวินิจฉัยเริ่มแรกในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  โดยมีลักษณะเป็นแบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ การวางบรรทัดฐานของศาลรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

1) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 101 เรื่อง มีจำนวนคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐานมากกว่าจำนวนคำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐาน โดยในปี 2541 มีคำวินิจฉัยทั้งหมด 16 เรื่อง มีคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน 14 เรื่อง และไม่ได้วางบรรทัดฐาน 2 เรื่อง ส่วนในปี 2543 มีคำวินิจฉัยจำนวน 31 เรื่อง มีคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน 17 เรื่อง และไม่ได้วางบรรทัดฐาน 14 เรื่อง แต่ในปี 2542 มีคำวินิจฉัยทั้งหมด 54 เรื่อง มีคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน 20 เรื่อง น้อยกว่าคำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐาน ซึ่งมีจำนวน 34 เรื่อง

2)  ผลรวมของจำนวนคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐานทั้ง 3 ปี เท่ากับ 51 เรื่อง และคำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐาน เท่ากับ 50 เรื่อง อันแสดงให้เห็นถึงจำนวนที่ไม่แตกต่างกันมาก สำหรับเหตุผลที่มีคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐานเป็นจำนวนใกล้เคียงกับคำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐาน เพราะเป็นช่วงแรกหรือเพียงเวลาประมาณ 3 ปีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้จัดตั้งขึ้นและเริ่มพิจารณาวินิจฉัย ดังนั้น จึงเป็นธรรมดาที่ทำให้มีจำนวนคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐานมาก  แต่ในอนาคตน่าจะมีแนวโน้มว่าคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐานย่อมมีจำนวนน้อยกว่าคำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐาน

2.3 ผลการวิเคราะห์ภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเอกสาร การวิจัยสนามโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง และการวิจัยสนามโดยใช้การสัมภาษณ์แนวลึกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาสรุปเรียงตามลำดับ

2.3.1   ผลการวิจัยเอกสารในเรื่องภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ สรุปว่า ในจำนวนคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 101 เรื่อง ซึ่งรวมทั้งคำวินิจฉัยส่วนบุคคลจำนวน 1,302 เรื่อง ตั้งแต่ปี 2541 ถึง ปี 2543 ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนถึงเดือนสิงหาคม 2543 หรือตั้งแต่คำวินิจฉัยที่ 1/2541 ถึง คำวินิจฉัยที่ 31/2543 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีส่วนในการพิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยที่นำมาพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ในที่นี้มีจำนวน 14 คน โดย 13 คนแรก ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2541 ต่อมานายเชาวน์ สายเชื้อ ได้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ นายสุจิต บุญบงการได้เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน ต่อมานายชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้ลาออกจากตำแหน่ง ดังนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3 คน คือ นายเชาว์ สายเชื้อ นายสุจิต บุญบงการ และนายชัยอนันต์ สมุทวณิช จึงพิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยไม่ครบ 101 เรื่อง ส่วนนายกระมล ทองธรรมชาติ นายผัน จันทรปาน และนายอมร รักษาสัตย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหลังจากเดือนสิงหาคม 2543 คือ หรือหลังคำวินิจฉัยที่ 31/2543 จึงไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยจำนวน 101 เรื่องดังกล่าวด้วย

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเริ่มแรกทุกคนที่เข้าสู่ตำแหน่งเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2541 มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปีครึ่ง นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง (รัฐธรรมนูญ มาตรา 259 และ มาตรา 322) โดยจะต้องพ้นจากตำแหน่งทุกคนเมื่อครบวาระในวันที่ 10 ตุลาคม 2545 แต่ก็มีสิทธิได้รับคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่งอีก ทั้งนี้ จะต้องมีอายุไม่ครบ 70 ปีบริบูรณ์ (มาตรา 260)  อย่างไรก็ตาม อาจเกิดข้อถกเถียงหรือโต้แย้งกันได้ในประเด็นเกี่ยวกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งในวาระแรกของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้นว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา อาจอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนครบ 9 ปีได้หรือไม่ เพราะได้รับเลือกมาจากที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาแม้จะได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของวุฒิสภา (มาตรา 255 วรรคหนึ่ง (1)) และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีวาระดำรงตำแหน่งเป็นรายบุคคลหรือจะถือว่าเป็นคณะที่เข้า-ออกจากตำแหน่งเป็นวาระพร้อมกันเหมือนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา143) นอกจากนี้ ถ้าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใดพ้นจากตำแหน่งไปก่อนครบวาระ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งใหม่จะอยู่ในตำแหน่งเท่าผู้ที่ตนเข้ามาแทนหรือจะถือว่าเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ ทั้งนี้ วิธีการหนึ่งที่จะยุติข้อโต้แย้งดังกล่าวได้คือ ส่งเรื่องสู่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย แต่ก็อาจเกิดปัญหาต่อไปอีกว่า เมื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะต้องเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่ตนเองมีส่วนได้ส่วนเสียด้วย  ศาลรัฐธรรมนูญจะมีวิธีการพิจารณาวินิจฉัยอย่างไร เหล่านี้เป็นต้น

ภูมิหลังอื่น  คือ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนเป็นชาย และแต่งงานแล้ว  ส่วนภูมิหลังเกี่ยวกับที่มา ซึ่งหมายความถึงตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขาใด  การได้รับการเลือกหรือเสนอชื่อต่อวุฒิสภาโดยคณะบุคคลใด (จากนั้นวุฒิสภาจึงนำขึ้นถวายคำแนะนำ) และการเข้าดำรงตำแหน่งแทนผู้ใด รวมทั้งวันเดือนปีเกิด ที่มา การศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในหน่วยงานฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และวิชาการ ได้สรุปไว้ตารางที่ 5 และตารางที่ 6

ตารางที่ 5 รายชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง-วันพ้นตำแหน่ง ที่มา และเข้าดำรงตำแหน่งแทน

ชื่อ

ตุลาการ

ศาลรัฐธรรมนูญ

วันที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง –วันพ้นตำแหน่ง

มาจาก

เลือกหรือเสนอชื่อต่อ

วุฒิสภาโดย (วุฒิสภานำ

ขึ้นถวายคำแนะนำ)

เข้าดำรง

ตำแหน่ง

แทน

1. นายเชาวน์

สายเชื้อP

11 เม.ย. 41 -

23 ธ.ค. 42

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

2. นายโกเมน

ภัทรภิรมย์

11 เม.ย. 41 -

1 มี.ค. 44

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

3. นายจุมพล

ณ สงขลา

11 เม.ย. 41 -

ผู้พิพากษา

ในศาลฎีกา

เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาล

ฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ

 

4. พลโท จุล

อติเรก

11 เม.ย. 41 -

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

5. นายชัยอนันต์

สมุทวณิช

11 เม.ย. 41 -

1 ก.ค. 43

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

6. นายประเสริฐ

นาสกุลP P

11 เม.ย. 41 -

7 ก.ย. 44

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

P ดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนแรก

P P ดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญคนที่สอง 

ตารางที่ 5 (ต่อ)

ชื่อ

ตุลาการ

ศาลรัฐธรรมนูญ

วันที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง –วันพ้นตำแหน่ง

มาจาก

เลือกหรือเสนอชื่อต่อ

วุฒิสภาโดย (วุฒิสภานำ

ขึ้นถวายคำแนะนำ)

เข้าดำรง

ตำแหน่ง

แทน

7. นายปรีชา

เฉลิมวณิชย์

11 เม.ย. 41 -

ผู้พิพากษา

ในศาลฎีกา

เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาล

ฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ

 

8. นายมงคล

สระฎัน

11 เม.ย. 41 -

ผู้พิพากษา

ในศาลฎีกา

เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาล

ฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ

 

9. นายสุจินดา

ยงสุนทร

11 เม.ย. 41 -

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

10. นายสุวิทย์

ธีรพงษ์

11 เม.ย. 41 -

ผู้พิพากษา

ในศาลฎีกา

เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาล

ฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ

 

11. นายอนันต์

เกตุวงศ์

11 เม.ย. 41 -

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

12. นายอิสสระ

นิติทัณฑ์ประภาศ

11 เม.ย. 41 -

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

13. นายอุระ

หวังอ้อมกลาง

11 เม.ย. 41 -

ผู้พิพากษา

ในศาลฎีกา

เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาล

ฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ

 

14. นายสุจิต

บุญบงการ

12 ก.พ. 43 -

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายเชาวน์

สายเชื้อ

15. นายกระมล

ทองธรรมชาติ

29 ก.ย. 43 -

ตุลาการในศาล

ปกครองสูงสุด

เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ

 

16. นายผัน

จันทรปาน

29 ก.ย. 43 -

ตุลาการในศาล

ปกครองสูงสุด

เลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ

 

17. นายอมร

รักษาสัตย์

27 ต.ค. 43 -

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายชัยอนันต์

สมุทวณิช

18. นายศักดิ์

เตชาชาญ

3 มิ.ย. 44 -

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

คณะกรรมการสรรหา

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

นายโกเมน

ภัทรภิรมย์

 

ตารางที่ 6 ภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำแนกตามรายชื่อ วัน เดือน ปีเกิด ที่มา การศึกษา และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในหน่วยงานฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และวิชาการ

ภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่พิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัย ปี 2541 ถึง ปี 2543 จำนวน 101 เรื่อง

ตุลาการศาล

รัฐธรรมนูญ

(วัน เดือน ปี เกิด)

มาจาก

การศึกษา

ในประเทศ

การศึกษา

ในต่างประเทศ

ประสบการณ์ในการ

ปฏิบัติงานในหน่วยงานฝ่าย

ตรี

โท

เอก

ตรี

โท

เอก

นิติ

บัญญัติ

บริหาร

ตุลาการ

วิชา

การ

1. เชาวน์ (23/12/2472)

รัฐฯ

3

3

3 V

2. โกเมน (27/3/2475)

นิติฯ

3 P

3

3

3

3 V

3

3

3. จุมพล (7/3/2480)

ฎีกา

3 P

3

4. พลโท จุล (23/5/2477)

นิติฯ

3

3 V

3

5. ชัยอนันต์ (23/2/2487)

รัฐฯ

3

3

3

3

3

3

6. ประเสริฐ (8/9/2474)

นิติฯ

3

3

3 V

7. ปรีชา (14/11/2481)

ฎีกา

3 P

3

3

8. มงคล (23/4/2482)

ฎีกา

3 P

3

3

9. สุจิต (9/10/2485)

รัฐฯ

3

3

3

3

3

10. สุจินดา (25/5/2479)

นิติฯ

3 P P

3 V

11. สุวิทย์ (23/2/2481)

ฎีกา

3 P

3

3 V

12. อนันต์ (6/8/2478)

รัฐฯ

3

3 P P P

3

3

3

13. อิสสระ (4/10/2475)

นิติฯ

3

3 P P P P

3

3

3

14. อุระ (7/9/2482)

ฎีกา

3 P

3 V

รวม

12

3

6

4

2

12

7

5

P เนติบัณฑิตไทย (นบ.ท)

P P ปริญญาตรีด้านกฎหมายจากอังกฤษและเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister-at-law, Middle Temple Inn)

P P P ปริญญาโทจากสหรัฐอเมริกา และ Post Graduate Diploma (Holland)

P P P P ประกาศนียบัตรชั้นสูง ทางกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัย CEAN (ฝรั่งเศส)

V เคยปฏิบัติงานในฐานะเป็นนักบริหารระดับสูงในหน่วยงานของรัฐระดับอธิบดีและระดับอธิบดีขึ้นไปหรือเทียบเท่า

หมายเหตุ 1) นายประเสริฐ นาสกุล สำเร็จปริญญาตรี 2 ปริญญา จากในประเทศและต่างประเทศ

2) นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ สำเร็จปริญญาตรี 2 ปริญญา จากในประเทศ

2.3.2 ผลการวิจัยสนามโดยใช้แบบสอบถามถามกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติพิเศษเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 45 คน ในเรื่องภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้สรุปไว้ใน ตารางที่ 7

ตารางที่ 7 ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกี่ยวกับภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ภูมิหลังของ

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ลักษณะ หรือ

ความสัมพันธ์

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่

เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วย

1. อายุ

มีส่วนสำคัญต่อทิศทาง

คำวินิจฉัยส่วนบุคคล

ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

3

 

2. การสำเร็จการศึกษาจากภายนอกประเทศ

3

 

3. การต่อสู้เรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมใน

สังคมอย่างชัดเจน

3

 

4. ปรัชญาและแนวคิดทางกฎหมายและ

รัฐศาสตร์

3

 

5. เพศ

 

3

6. การนับถือศาสนา

 

3

7. สถานภาพการสมรส

 

3

8.  การมาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา หรือ

มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

มีส่วนทำให้คำวินิจฉัยเป็นไปใน

ทิศทางอนุรักษ์นิยม

3

 

9. การมาจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุด

มีส่วนทำให้คำวินิจฉัยเป็นไปใน

ทิศทางเสรีนิยม

3

 

10. การมาจากผู้ทรงคุณสาขารัฐศาสตร์

มีส่วนทำให้คำวินิจฉัยเป็นไปใน

ทิศทางประชานิยม

3

 

11. การมีปรัชญาและแนวคิดทางกฎหมาย

และรัฐศาสตร์ประเภทเสรีนิยม 

มีส่วนทำให้คำวินิจฉัยเป็นประโยชน์

ต่อประเทศชาติและประชาชน

3

 

12. การศึกษาจากในและนอกประเทศ

จะทำให้คำวินิจฉัยเป็นประโยชน์ต่อ

ประเทศชาติและประชาชนในขณะนี้ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประชาธิปไตย

3

 

13. ประสบการณ์ในการทำงานเป็นนักวิชาการ

(นักนิติศาสตร์ หรือนักรัฐศาสตร์)

จะทำให้คำวินิจฉัยเป็นประโยชน์

ต่อประชาชนในขณะนี้ 

3

 

14. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช   

มีปรัชญาและแนวคิดทางกฎหมาย

และรัฐศาสตร์ประเภทเสรีนิยม

3

 

2.3.3   ผลการวิจัยสนามโดยใช้การสัมภาษณ์แนวลึกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องทุกคนรวม 14 คนในเรื่องภูมิหลังเกี่ยวกับปรัชญาและแนวคิดทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แบ่งออกเป็น 3  ประเภท ได้แก่ อนุรักษ์นิยม เสรีนิยม และประชานิยม สรุปได้ว่า ในจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 14 คน มี 13 คน เห็นว่าปรัชญาและแนวคิดทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่แบ่งเป็น 3 ประเภทดังกล่าวมีผลต่อทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ยกเว้น 1 คน คือ นายสุจิต บุญบงการ เห็นว่า ไม่มีผล พร้อมกันนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 14 คน ได้จัดตนเองว่ามีปรัชญาและแนวคิดทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ประเภทใด โดยจัดตนเองอยู่ในประเภทเสรีนิยม 4 คน, อนุรักษ์นิยม 2 คน, ลิเบอรัล-คอนเซอร์เวตีฟ (Liberal-Conservative) 2 คน, ลิเบอรัล-ปอปปูลิส (Liberal-Populist) 1 คน, อุดมคตินิยม (Idealist) 1 คน, ส่วนประเภทอื่น และที่ไม่อาจจัดได้หรือไม่ตอบ มีจำนวน 4 คน ดังสรุปไว้ในภาพที่ 7

ภาพที่ 7  ปรัชญาและแนวคิดทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องทุกคน รวม 14 คน ตามความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอง (ได้จากการสัมภาษณ์)

ปรัชญาและแนวคิดทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องทุกคน จำนวน 14 คน

Conservative

Liberal-

Conservative

Liberal

Liberal-

Populist

Populist

Idealist

 

1. นายสุวิทย์

2. นายโกเมน

1. นายสุจินดา

2. นายอุระ

1. นายปรีชา

2. พลโทจุล

3. นายอนันต์

4. นายอิสสระ

1. นายชัยอนันต์

-

1. นายมงคล

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีปรัชญาและแนวคิดทาง

กฎหมายและรัฐศาสตร์ประเภทอื่น และที่ไม่อาจจัดได้ หรือไม่ตอบ มีจำนวน 4 คน คือ

1. นายเชาวน์ สายเชื้อ (ประเภทผสม แล้วแต่กรณี) 2. นายประเสริฐ นาสกุล (ประเภทไม่เห็นแก่ตัว)

3. นายจุมพล ณ สงขลา (ไม่อาจจัดได้) 4. นายสุจิต บุญบงการ (ตอบไม่ได้)

2.4  สมมติฐานของการศึกษาวิจัย

ผลการศึกษาวิจัยได้สนับสนุนหรือยืนยันสมมติฐานของการศึกษาวิจัยจำนวน 3 ข้อ และไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนหรือยืนยันสมมติฐานของการศึกษาวิจัยจำนวน 1 ข้อ ดังนี้

2.4.1 สนับสนุนและยืนยันสมมติฐานข้อที่ 1 ที่ว่า “โครงสร้างหรือองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาและมีจำนวนแตกต่างกัน ย่อมทำให้ทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกลุ่มข้างมาก” หมายความว่า โครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญที่ประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกาและผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ กลุ่มละ 5 คน มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 3 คน และมาจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน มีส่วนสำคัญทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกลุ่มข้างมาก

2.4.2 สนับสนุนและยืนยันสมมติฐานข้อที่ 2 ที่ว่า “ภูมิหลังที่แตกต่างกันของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีผลต่อทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ”  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิหลังที่เกี่ยวกับอายุ การศึกษา การเรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมในสังคมอย่างชัดเจน ประสบการณ์ในการทำงาน ตลอดทั้งปรัชญาและแนวคิดทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จำแนกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อนุรักษ์นิยม เสรีนิยม และประชานิยม สำหรับภูมิหลัง อันได้แก่ เพศ การนับถือศาสนา และสถานภาพการสมรส ไม่มีส่วนสำคัญต่อทิศทางคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

2.4.3 สนับสนุนและยืนยันสมมติฐานข้อที่ 4 ที่ว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและการปฏิรูปการเมืองของประเทศ”  โดยกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่าผลของคำวินิจฉัยมีส่วนช่วย  (1) พัฒนาประชาธิปไตยและปฏิรูปการเมืองในระดับมาก (2) พิทักษ์ความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญในระดับมาก (3) ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระดับมาก ซึ่งเท่ากับจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เห็นว่ามีส่วนช่วยในระดับปานกลาง  และ (4) ปกป้องคุ้มครองเสถียรภาพของรัฐบาลและนักการเมืองในระดับปานกลาง

พร้อมกันนี้ เมื่อนำคำวินิจฉัยที่สำคัญ 8 เรื่องมาสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พอใจหรือเห็นด้วยว่าคำวินิจฉัยที่สำคัญ 7 เรื่อง สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ การพัฒนาประชาธิปไตย หรือการปฏิรูปการเมืองของประเทศ อันได้แก่ คำวินิจฉัยที่ 5/2541, 4/2542, 5/2542, 11/2542, 50/2542, 2/2541 และ 31/2543 มีเพียงคำวินิจฉัยเดียวเท่านั้นที่กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย คือ คำวินิจฉัยที่ 36/2542 (ความเป็นรัฐมนตรีของนายเนวิน ชิดชอบ ไม่สิ้นสุดลง) กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามจำนวนมากที่สุด คือร้อยละ 60.0 ยังพอใจการปฏิบัติหน้าที่ของนาย ชัยอนันต์ สมุทวณิช ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รองลงมาคือร้อยละ 37.8 พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของนายประเสริฐ นาสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

ในส่วนของการสัมภาษณ์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรืออดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 14 คน ว่า ชอบหรือพึงพอใจคำวินิจฉัยเรื่องใดบ้าง และขอให้ระบุจำนวน 3 เรื่องสรุปได้ว่า มี 11 คนที่ตอบคำถามว่าชอบหรือพึงพอใจคำวินิจฉัยครบทั้ง 3 เรื่อง ขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 คน ได้แก่ นายประเสริฐ นาสกุล และนายเชาวน์ สายเชื้อ ตอบว่า พึงพอใจทุกเรื่อง และที่เหลืออีก 1 คน คือ นายสุจิต บุญบงการ ตอบว่า “ขอไม่ตอบ” สำหรับคำวินิจฉัยที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 11 คน ชอบหรือพึงพอใจ นั้น เรื่องที่ชอบหรือพึงพอใจ เช่น คำวินิจฉัยที่ 11/2542 (หนังสือแจ้งความจำนงที่รัฐบาลมีไปถึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศไม่เป็นหนังสือสัญญาและไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา) และ คำวินิจฉัยที่ 36/2542 (ความเป็นรัฐมนตรีของนายเนวิน ชิดชอบ ไม่สิ้นสุดลง) โดยมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตอบเรื่องละ 5 คน ในขณะที่คำวินิจฉัยที่ 1/2542, คำวินิจฉัยที่ 6/2543 และ คำวินิจฉัยที่ 13/2543 มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตอบเรื่องละ 3 คน เป็นต้น

ข้อสังเกต  ในการวิจัยสนามไม่ว่าจะเป็นส่วนที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม หรือส่วนที่ได้จากการสัมภาษณ์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรืออดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีข้อสังเกตสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในอนาคต กล่าวคือ เมื่อใดก็ตามที่คำถามในแบบสอบถาม หรือคำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์เกี่ยวข้องกับการขอให้กลุ่มตัวอย่างแสดงความคิดเห็นว่า “ไม่ชอบหรือไม่พอใจ” การปฏิบัติงานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใด รวมทั้ง “ไม่ชอบหรือไม่พอใจ” คำวินิจฉัยเรื่องใด คำตอบที่ได้รับจะไม่สมบูรณ์ หรือไม่ได้รับคำตอบ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนิสัยของคนไทยเป็นจำนวนมากมีความเกรงใจ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในด้านลบต่อผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง หรือการขาดความกล้าหาญในการแสดงความคิดเห็น เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากพอสมควรที่จะได้คำตอบที่เกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นในลักษณะดังกล่าวนี้

2.4.4 สนับสนุนหรือยืนยันสมมติฐานข้อที่ 3 ที่ว่า “ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอิทธิพลต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” ในการพิสูจน์สมมติฐานข้อนี้ได้นำข้อมูลจากการวิจัยสนามและการวิจัยเอกสารข้างต้นมาเทียบเคียงกัน ทำให้เห็นถึงความแตกต่างกัน โดยผลการวิจัยสนามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 45 คน ชี้ให้เห็นว่า “กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยว่าบทบาทของประธานศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญต่อทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ”อีกทั้งผลการสัมภาษณ์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้แล้ว ผลการวิจัยเอกสารก็ “ไม่อาจยืนยันได้อย่างแน่นอนและชัดเจนว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอิทธิพลเหนือกลุ่มเสียงข้างมากหรือเหนือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใด แต่ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มที่จะมีแนวคิดตรงกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่เท่านั้น”  ดังนั้น ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะสนับสนุนหรือยืนยันสมมติฐานข้อที่ 3 ได้

2.5 เปรียบเทียบผลการวิจัยสนามที่ได้จากแบบสอบถามและจากการสัมภาษณ์

เป็นการนำผลการวิจัยสนามมาเปรียบเทียบกันเป็นหลัก โดยนำความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามและกลุ่มตัวอย่างที่ให้สัมภาษณ์ เฉพาะความคิดเห็นที่เหมือนกันและแตกต่างกันมาเปรียบเทียบกัน ทั้งนี้เนื่องจากเป็นข้อมูลชนิดเดียวกัน คือ เป็นความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม อาจนำข้อมูลจากการวิจัยเอกสารมาเปรียบเทียบด้วยตามความจำเป็น ผลการเปรียบเทียบสรุปไว้ในตารางที่ 8

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 8  เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่กับความคิดเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ จำแนกตามความคิดเห็นที่เหมือนกันและแตกต่างกัน

เปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง (45 คน)

กับความคิดเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (14)

กลุ่มตัวอย่าง

ส่วนใหญ่

ตุลาการศาลรัฐ

ธรรมนูญส่วนใหญ่

เหมือนกัน (V ) หรือ

แตกต่าง

กัน (V V )

เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วย

เห็น

ด้วย

ไม่เห็นด้วย

1. เพศของศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญต่อทิศทางคำวินิจฉัย

ส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

3

 

3

V

2. การนับถือศาสนาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญ

ต่อทิศทางคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

3

 

3

V

3. สถานภาพการสมรสของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญ

ต่อทิศทางคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

 

3

 

3

V

4. ปรัชญาและแนวคิดทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ของตุลาการ

ศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญต่อทิศทางคำวินิจฉัยส่วนบุคคล

ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

3

 

3

 

V

5. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรมีภูมิหลังเกี่ยวกับประสบการณ์

ในการทำงานเป็น (1) ผู้พิพากษาหรือตุลาการ และ (2) นัก

วิชาการ (นักนิติศาสตร์ หรือ นักรัฐศาสตร์) จึงจะทำให้คำ

วินิจฉัยเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนในขณะนี้

3

 

3

 

V

6. บทบาทของประธานศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญต่อทิศทาง

ของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

 

3

 

3

V

7. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาและจำนวนแตกต่างกัน โดยมา

จากผู้พิพากษาในศาลฎีกา 5 คน มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขา

นิติศาสตร์ 5 คน มาจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน

และมาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 3 คนมีส่วนสำคัญทำ

ให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกลุ่มข้างมาก

3

 

 

 

 

 

3

V V

8. โครงสร้างหรือองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นอยู่

สมบูรณ์แล้ว

 

3

3

 

V V

9. อายุของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญต่อทิศทาง

คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

3

 

 

3

V V

10. การสำเร็จการศึกษาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีส่วนสำคัญ

ต่อทิศทางคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

3

   

3

V V

11. ควรปรับเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

 

3

3

 

V V

12. ควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในส่วนที่

เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ

 

3

3

 

V V

3. ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในที่นี้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการศึกษาวิจัยครั้งที่มุ่งนำเสนอแนวทางการพัฒนาศาลรัฐธรรมนูญที่ครอบคลุมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้าง ตัวกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ และตัวบุคคล ทั้งนี้ได้นำข้อมูลที่ได้มาจากการวิจัยเอกสาร วิจัยสนาม และการสัมภาษณ์ตุลาการและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นแนวทางในการเสนอแนะ

3.1 แนวทางการพัฒนาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

3.1.1 แนวทางการพัฒนาโครงสร้าง อาจเป็นแนวทางใดแนวทางหนึ่ง ดังต่อไปนี้

1) ให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย 15 คนเช่นเดิม โดยปรับเปลี่ยนให้มีผู้พิพากษาในศาลฎีกา 4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 4 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 5 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน

2) ให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย 15 คนเช่นเดิม โดยปรับเปลี่ยนให้มีผู้พิพากษาในศาลฎีกา 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 5 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 5 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน

3) ให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย 13 คน โดยปรับเปลี่ยนให้มีผู้พิพากษาในศาลฎีกา ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ กลุ่มละ 4 คน และให้มีตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 1 คน

4) ให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย 13 คน โดยปรับเปลี่ยนให้มีผู้พิพากษาในศาลฎีกา 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 5 คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน (โปรดดูรายละเอียดแต่ละแนวทาง ในต้นฉบับโครงการศึกษาวิจัยนี้)

ทั้งนี้ ควรประชาสัมพันธ์แสดงเหตุผล หรืออาจทำประชาพิจารณ์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าว

3.1.2 แนวทางการพัฒนาอำนาจหน้าที่  มีดังนี้

1) ควรปรับเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ  โดยเฉพาะอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่กระจัดกระจายอยู่ให้เป็นหมวดหมู่และชัดเจนขึ้น 

2) ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เรื่องที่ยื่นต้องเป็นปัญหาสำคัญ และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่อสังคมหรือประชาชนโดยรวม เช่น ปัญหาสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนปัญหาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  หรือปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (challenge constitutionality)

3) ควรมีแนวโน้มการตีความขอบเขตอำนาจของตนในทิศทางกว้างโดยครอบคลุมสังคมไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและสภาพแวดล้อม

3.2 แนวทางการพัฒนาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

ดำเนินการโดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วยการขยายความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อให้ชัดเจน เช่น ถ้อยคำที่ว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ (มาตรา 264) องค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 266)ต้องคำพิพากษาให้จำคุก (มาตรา 216(4)) ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (มาตรา 198) ตลอดจนอำนาจหน้าที่ในการยุบพรรคการเมือง (พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง) เป็นต้น

มีข้อสังเกตบางประการสำหรับข้อเสนอแนะในส่วนนี้ คือ แม้ได้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญออกมาและได้วางบรรทัดฐานบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ไม่ชัดเจน ไม่เหมาะสม หรือเกิดปัญหาในทางปฏิบัติดังกล่าวไว้แล้วก็ตาม แต่ในเรื่องการวางบรรทัดฐานนั้น มิได้มีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนูญตรง รัฐธรรมนูญเพียงแต่บัญญัติว่า “คำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ” อีกทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือการวางบรรทัดฐานนั้น ในอนาคตถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป หรือเปลี่ยนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ หรือมีเหตุผลที่มากเพียงพอ ก็อาจเกิดการกลับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังที่ศาลรัฐธรรมนูญได้เคยกลับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือกลับบรรทัดฐานมาแล้ว โดยในระยะเริ่มแรก ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า เทศบาลเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ แต่ต่อมาได้กลับคำวินิจฉัยหรือกลับบรรทัดฐานเป็น เทศบาลไม่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ การวางบรรทัดฐานจึงมีข้อจำกัด แม้มีส่วนทำให้ไม่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่ก็ไม่แน่นอน อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ดังกล่าว ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอแนะนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น

3.3 แนวทางการพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

3.3.1  การพัฒนาที่ระบบหรือหลักเกณฑ์  

1) ควรมีหลักเกณฑ์และกระบวนการคัดเลือกภายในที่ชัดเจน บริสุทธิ์ ยุติธรรม เปิดเผย ปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ และเปิดโอกาสให้ตรวจสอบได้

2) จำเป็นต้องมีการบันทึกและรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อแสดงถึงเหตุผลของการมิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยในแต่ละเรื่อง พร้อมเผยแพร่ด้วย

3.3.2 การพัฒนาโดยประชาชน  

1) ประชาชนหรือบุคคลภายนอกศาลรัฐธรรมนูญควรเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ดูแล และช่วยตรวจสอบการปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง

2) ประชาชนซึ่งรวมทั้งนักวิชาการควรให้ความสนใจกับการพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยการนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาวิเคราะห์ในทางวิชาการอย่างเป็นระบบมากขึ้น ที่ผ่านมาประชาชนให้ความสนใจเนื้อหาสาระภายในคำวินิจฉัยไม่ว่าจะเป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหรือคำวินิจฉัยส่วนบุคคลน้อยมาก แต่ให้ความสนใจผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นว่าออกมาอย่างไร ในส่วนของนักวิชาการส่วนใหญ่ก็จะนำคำวินิจฉัยมาวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงกฎหมาย โดยมิได้มุ่งไปที่การพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมากเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า องค์กรที่เรียกว่าศาลรัฐธรรมนูญเพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน อีกทั้งนักวิชาการบางส่วนเคยชินกับระบบศาลยุติธรรมที่ไม่เปิดโอกาสให้วิพากษ์วิจารณ์ตัวผู้พิพากษาได้มากดังเช่นตุลาการในศาลรัฐธรรมนูญ ผลงานจึงออกมาในลักษณะของการรวบรวมและเรียบเรียงคำพิพากษาของศาลฎีกา การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะเจาะลึกไปถึงภูมิหลังโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยจึงอยู่ในขอบเขตจำกัด เหล่านี้ จึงมีส่วนทำให้ประชาชนและนักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในทางวิชาการเกิดขึ้นน้อยมาก

3.3.3 การพัฒนาที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้อเสนอแนะในส่วนนี้ มิได้เป็นข้อเสนอแนะของคณะผู้ศึกษาวิจัยโดยตรง แต่เป็นการวบรวมจากการวิจัยสนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากการสัมภาษณ์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งรวบรวมจากการวิจัยเอกสาร เช่น เอกสารและคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรืออดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่ได้เขียนไว้ ซึ่งในที่นี้ไม่ได้อ้างอิงไว้ด้วย แต่ส่วนใหญ่ได้ปรากฏอยู่ในคำสัมภาษณ์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรืออดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ข้อเสนอแนะดังกล่าวมีดังนี้

1) การใช้อำนาจหน้าที่ให้ถูกวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ  

2) การไม่นำประสบการณ์หรือความเคยชินในทางที่ไม่เป็นคุณมาใช้

3) การพิจารณาวินิจฉัยโดยคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมด้วย

4) การพัฒนาความรู้ความเข้าใจเรื่องความยุติธรรมภายใต้สังคมประชาธิปไตย ซึ่งแตกต่างจากสังคมเผด็จการ

5) การไม่เกรงกลัวหรือหลีกเลี่ยงที่จะชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแม้ว่ากฎหมายนั้นจะได้ใช้มาช้านานแล้วก็ตาม

6) ความพร้อมในการกลับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อสถานการณ์ของประเทศเปลี่ยนแปลงไป มีเหตุผลสนับสนุนอย่างชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวม

7) การป้องกันความเคลือบแคลงสงสัยโดยระมัดระวังในเรื่องต่อไปนี้เป็นพิเศษและต่อเนื่อง คือ จรรยาบรรณ จริยธรรม คุณธรรม ความเป็นอิสระ และความเป็นกลาง และการปลอดจากการเมือง ไม่ว่าเรื่องดังกล่าวจะได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ตาม

8) การไม่เพิ่มอำนาจและบทลงโทษให้ศาลรัฐธรรมนูญ

9) การมีมาตรการป้องกันการวิ่งเต้น (lobby) 

10) การวางตัวเรียบง่ายและใกล้ชิดประชาชนเพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธาศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นครูใหญ่ของประเทศ และเป็นศาลของประชาชน

11) การร่วมมือกันกำหนดแนวทางหรือกรอบในการพิจารณาวินิจฉัย

P P P P P

ตารางที่ 9 สรุปคะแนนเสียงคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2541 ถึง ปี 2543 จำนวน 101 คำวินิจฉัย จำแนกตาม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และประเภทของปัญหา 5 ประเภท

คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2541-2543 จำนวน 101 เรื่อง จำแนกตามประเภทของปัญหา 5 ประเภท

ตุลาการศาล

รัฐธรรมนูญ

ปี 2541–2543

1) ปัญหาการตรวจสอบ

กฎหมาย (66)

2) ปัญหาอำนาจหน้าที่ของ

องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (15)

3) ปัญหาบุคคล หรือผู้ดำรง

ตำแหน่งทางการเมือง (9)

4) ปัญหาองค์กร หรือ

พรรคการเมือง (10)

5) ปัญหาอื่น ๆ

(1)

 

รวม

เรื่อง

ชอบ

ด้วย

รธน.

ไม่ชอบ

ด้วย

รธน.

อื่น ๆ

ไม่ได้

ร่วมวินิจฉัย

ชอบ

ด้วย

รธน.

ไม่ชอบ

ด้วย

รธน.

อื่น ๆ

ไม่ได้

ร่วม

วินิจฉัย

ชอบ

ด้วย

รธน.

ไม่ชอบ

ด้วย

รธน.

อื่น ๆ

ยกคำ

ร้อง

ไม่ได้

ร่วม

วินิจฉัย

ชอบ

ด้วย

รธน.

ไม่ชอบ

ด้วย

รธน.

อื่น ๆ

ไม่ได้ร่วมวินิจฉัย

ชอบ

ด้วย

รธน.

ไม่ชอบ

ด้วย

รธน.

อื่น ๆ

ยกคำ

ร้อง

ไม่ได้

ร่วมวินิจฉัย

1. เชาวน์P

47

4

10

2

5

1

69

2. โกเมน

57

6

1

2

3

11

1

3

2

2

2

2

8

1

101

3. จุมพล

46

2

7

11

3

9

3

1

8

9

1

1

101

4. จุล

59

4

1

2

4

10

1

2

7

9

1

1

101

5.ชัยอนันต์P P

19

42

1

4

4

9

2

6

5

3

1

96

6. ประเสริฐ

60

4

1

1

5

10

9

7

2

1

1

101

7. ปรีชา

56

4

6

4

5

6

1

8

9

1

1

101

8. มงคล

55

7

2

2

6

7

1

1

9

9

1

1

101

9. สุจิตP P P

10

1

1

2

2

7

2

1

26

10. สุจินดา

58

5

1

2

3

11

1

8

1

9

1

1

101

11. สุวิทย์

57

6

1

2

5

9

1

2

7

10

1

101

12. อนันต์

59

5

2

3

11

1

9

7

1

2

1

101

13. อิสสระ

58

5

2

1

2

8

5

1

8

8

1

1

1

101

14. อุระ

60

3

3

7

7

1

1

8

8

1

1

1

101

รวมเรื่อง

701

98

29

27

51

119

18

6

11

98

2

3

97

11

10

8

5

7

1

0

1302

P นายเชาวน์ สายเชื้อ ร่วมวินิจฉัยคำวินิจฉัย ปี 2541-2542 ทุกเรื่อง ยกเว้น คำวินิจฉัยที่

54/2542 (รวมวินิจฉัย 69 เรื่อง) เนื่องจากพ้นจากตำแหน่งวันที่ 23 ธันวาคม 2542 เมื่ออายุ

ครบ 70 ปีบริบูรณ์

P P นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ร่วมวินิจฉัยคำวินิจฉัยปี 2541-2543 ทุกเรื่อง ยกเว้น คำวินิจฉัยที่

27-31/2543 (รวมวินิจฉัย 96 เรื่อง) เนื่องจากลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2543

P P P นายสุจิต บุญบงการ ร่วมวินิจฉัยคำวินิจฉัยที่ 6-31/2543 (รวมวินิจฉัย 26 เรื่อง) โดยไม่ได้

ร่วมวินิจฉัยคำวินิจฉัยที่ 1-16/2541, 1-54/2542, และ 1-5/2543 เนื่องจากได้รับแต่งตั้งให้

ดำรงตำแหน่งเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2543 แทนนายเชาวน์ สายเชื้อ

 

บรรณานุกรม

1. หนังสือ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก วันที่ 11 ตุลาคม 2540.

ราชกิจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา คำวินิจฉัยที่ 1/2541 ถึง คำวินิจฉัยที่ 31/2543 (จำนวน 101 ฉบับ).

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 6 คำวินิจฉัยที่สำคัญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2544.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. วิเคราะห์เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย   พุทธศักราช 2540 กับรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2542.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. ศาลรัฐธรรมนูญไทย : วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการบริหารงานบุคคล กับศาลรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2544), 516 หน้า.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. ศาลรัฐธรรมนูญไทย : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด นา นา สิ่งพิมพ์, 2543.

อมร รักษาสัตย์. รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พร้อมบทวิจารณ์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.

อมร รักษาสัตย์ และ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ : พิทักษ์หรือทำลายรัฐ ธรรมนูญ จากการวินิจฉัยสภาพของการเป็นรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร : การันต์ การพิมพ์, 2543.

2. บทความ

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, “เขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ” ศาลรัฐธรรมนูญ 1 (1 มกราคม-เมษายน 2542) : 34-35.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” รัฐสภาสาร 50, 3 (มีนาคม 2545) : 33-85.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ” ศาลรัฐธรรม นูญ 4, 10 (มกราคม-เมษายน 2545) : 29-90.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” (ส่วนที่ 1) รัฐสภาสาร  47, 11 (พฤศจิกายน 2542) : 9-100.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” (ส่วนที่ 2) รัฐสภาสาร 48,2 (กุมภาพันธ์ 2543) : 1-84.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “วิธีการพิจารณาวินิจฉัยและตีความรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและของไทย” รัฐสภาสาร 48, 10 (ตุลาคม 2543) : 45-78.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “วิธีพิจารณาวินิจฉัยและตีความรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและของไทย” ศาลรัฐธรรมนูญ 2, 5 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2543) : 37-68.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “ศาลรัฐธรรมนูญไทย : วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการ บริหารงานบุคคล กับศาลรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น” พัฒนบริหารศาสตร์ 41, 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2544) : 39-77.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “ศาลรัฐธรรมนูญไทย : วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการ บริหารงานบุคคล กับศาลรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น” รัฏฐาภิรักษ์ 43, 2 (เมษายน-มิถุนายน 2544) : 62-87.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “ศาลรัฐธรรมนูญไทย : วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการ บริหารงานบุคคล กับศาลรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น” รัฐสภาสาร 49, 7 (กรกฎาคม 2544) : 95-125.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศฝรั่งเศส” รัฐสภาสาร 49, 6 (มิถุนายน 2544) : 75-102.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศเยอรมนี” รัฐสภาสาร 49, 9 (กันยายน 2544) : 9-44.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ “ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศสหรัฐอเมริกา” รัฐสภาสาร 48, 11 (พฤศจิกายน 2543) : 99-147.

P P P P P