บทความ

เรื่อง

"การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 3"

(คำวินิจฉัยที่ 1/2545 ถึง คำวินิจฉัยที่ 64/2545 รวม 64 เรื่อง)

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

(หากมีส่วนใดของบทความไม่ชัดเจน ติดต่อขอรับฟรี ได้ทาง
email: wiruch@wiruch.com หรือ wirmail@wiruch.com)

 

1. บทนำ

โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง “การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" มีความสำคัญและความจำเป็นเนื่องจากความสำคัญของรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งบุคคลที่มาดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรสำคัญองค์กรหนึ่งของกระบวนการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยหน่วยงานและประชาชนจะอาศัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่พึ่งสูงสุดเพื่อช่วยปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของตนเองรวมทั้งการปฏิรูปการเมืองของไทย เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันคู่กรณี และทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ และองค์กรอื่นของรัฐ แต่ถ้าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่โดยมิได้ยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนใหญ่เป็นที่ตั้ง เช่น ปฏิบัติหน้าที่โดยพะวงถึงความต้องการของผู้มีอำนาจรัฐ หรือฝ่ายการเมือง หรือแม้กระทั่งยึดถือกฎหมายรอง เช่น ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ประชาชนทั่วประเทศได้ร่วมมือกันร่างขึ้นย่อมล้มเหลวในการปฏิบัติหน้าที่  อีกทั้งกระบวนการปฏิรูปการเมืองย่อมล้มเหลวตามไปด้วย ความสำคัญและความจำเป็นของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ๆ  เมื่อประชาชนและหน่วยงานได้ใช้สิทธิของตนตามช่องทางหรือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้มีคำร้อง ปัญหา หรือข้อพิพาทมาสู่ศาลรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น รวมตลอดทั้งมีบุคคลหลายสาขาอาชีพปรารถนาที่ผ่านจะกระบวนการ
สรรหาเพื่อเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เหล่านี้ มีส่วนทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง ต่อเนื่อง และยังมีแนวโน้มว่าจะได้รับความสนใจจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย เช่น นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปศึกษา แปล หรือวิเคราะห์วิจารณ์เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเรียกร้องให้มีการแปลคำวินิจฉัยเป็นภาษาต่างประเทศ และเผยแพร่ทางระบบเครือข่ายระหว่างประเทศหรืออินเตอร์เน็ท (international network)

ในช่วงปี 2544-2545 เป็นเวลา 1 ปีเต็มที่คณะผู้ศึกษาวิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 1 (จัดพิมพ์ปี 2545)"  ซึ่งประกอบด้วยคำวินิจฉัยปี 2541-2543 ช่วงแรก หรือตั้งแต่คำวินิจฉัยที่ 1/2541 ถึง คำวินิจฉัยที่ 31/2543 รวม 101 เรื่อง ทั้งหมดนี้ได้จัดพิมพ์ในปี 2545 ไว้ในเล่มเดียว โดยได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิอาเซีย และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาชน คณะผู้ศึกษาวิจัยยังได้รับทุนและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทำวิจัยเรื่องเดียวกันนี้อีก โดยในช่วงปี 2545-2546 คณะ
ผู้ศึกษาวิจัยได้ทำโครงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 2 (จัดพิมพ์ปี 2546) ภายใต้ชื่อเรื่องเดียวกันและจัดพิมพ์ในปี 2546 ไว้ใน 4 เล่ม เริ่มตั้งแต่คำวินิจฉัยที่ 32/2543 ถึง คำวินิจฉัยที่ 51/2544 รวม 84 เรื่อง

สำหรับในช่วงปี 25462547 นี้ คณะผู้ศึกษาวิจัยได้ทำโครงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 3 (จัดพิมพ์ปี 2547) ต่ออีก เริ่มตั้งแต่คำวินิจฉัยที่ 1/2545 ถึง คำวินิจฉัยที่ 64/2545 รวม 64 เรื่อง

2. วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิด และระเบียบวิธีศึกษา

2.1 วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 3 นี้ ยังคงเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ได้กำหนดไว้ในโครงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 กล่าวคือ (1) วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2545 ทุกเรื่อง (2) วิเคราะห์ภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (3) เสนอแนะผลการศึกษาวิจัยที่สามารถใช้เสริมหรือช่วยพัฒนาศาลรัฐธรรมนูญ (4) จัดทำตารางสรุปคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2545 รวม 64 เรื่อง เพื่อใช้ค้นคว้าอ้างอิงทางวิชาการ และให้ต่อเนื่องกับการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ในโครงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 3 นี้ มีส่วนที่เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำข้อมูลและตัวเลขที่สำคัญตั้งแต่คำวินิจฉัยแรก จนถึงคำวินิจฉัยสุดท้ายของปี 2545   หรือตั้งแต่คำวินิจฉัยที่1/2541 ถึงคำวินิจฉัยที่ 64/2545 มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน จำนวน 11 ประเด็น ซึ่งรวมทั้งการนำเสนอไว้ในตาราง

ทั้งหมดนี้ เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หนึ่ง ช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนด้านรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ ซึ่งเน้นกฎหมายมหาชน สอง สร้างองค์ความรู้ ระบบความคิด แนวทางหรือวิธีการใหม่ทางวิชาการ ซึ่งรวมทั้งระบบควบคุมตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญ เช่น แสดงให้เห็นถึงคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนอย่างเป็นระบบโดยยึดประเด็นหลักของศาลรัฐธรรมนูญ แสดงแนวโน้มคำวินิจฉัยส่วนบุคคล คำวินิจฉัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคน ระยะเวลาที่ศาล
รัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาหรือคำร้องแต่ละเรื่อง และคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน เป็นต้น สาม
 นำข้อมูลจากการวิจัยเอกสารมาตรวจสอบ หรือวิจัยซ้ำประเด็นเดิมเพื่อยืนยันหรือคัดค้านสมมติฐานที่ตั้งไว้ ด้วยวิธีการนำข้อมูลตัวเลขจำนวน 5 ปีดังกล่าว (จากโครงการวิจัยต่อเนื่อง 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 ปี) มาพิสูจน์สมมติฐานที่ว่า (1)  โครงสร้างหรือองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาและมีจำนวนแตกต่างกัน ย่อมทำให้ทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกลุ่มข้างมาก และ (2)ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอิทธิพลต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  สี่ ผสมผสานความรู้ทั้ง 3 ด้านดังกล่าวเข้าด้วยกันในลักษณะของการศึกษาวิจัยในเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เช่น กำหนดกรอบแนวคิด จัดกลุ่ม พร้อมเหตุผล และนำเสนอข้อมูลตัวเลขในตารางอย่างสอดคล้องกันเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงทางวิชาการ ห้า มีส่วนช่วยปูพื้นฐานแนวคิดและการลงมือปฏิบัติในการศึกษาวิจัยการปฏิบัติงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา หก มีส่วนช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้ประชาชนนอกจากนี้ ยังเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติ เช่น มีส่วนช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมคำร้องได้ตรงประเด็นและชัดเจนเพื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ช่วยให้ทราบแนวทางการพิจารณาวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ช่วยให้หน่วยงานควบคุมตรวจสอบองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา และคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นำข้อมูลหรือผลการศึกษาวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานตามกระบวนการควบคุมตรวจสอบของตน เป็นต้น

2.2 การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีกรอบแนวคิดสำคัญที่เชื่อว่า การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในอดีต ควบคู่กับการวิเคราะห์ปรัชญาและแนวคิดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในอดีต ทั้ง 2 ส่วนนี้ถือว่าเป็น “เหตุ” ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการกำหนดหรือพยากรณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และ/หรือ คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนนั้นในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งถือว่าเป็น “ผล” อันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและหน่วยงานทั้งในทางวิชาการและในทางปฏิบัติ ดังกล่าวไว้ข้างต้น โปรดดูภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ภาพรวมกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาวิจัย

ความเชื่อพื้นฐาน 2 ประการ


การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของ การวิเคราะห์ปรัชญาและ

(อดีต) ศาลรัฐธรรมนูญและคำ แนวคิดของตุลาการศาล (เหตุ)

วินิจฉัยส่วนบุคคลในอดีต รัฐธรรมนูญในอดีต

มีแนวโน้มช่วยบ่งบอก

หรือพยากรณ์

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และ/หรือ

(ปัจจุบัน และ คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาล (ผล)

อนาคต) รัฐธรรมนูญคนนั้นในปัจจุบันและอนาคต

     เป็นประโยชน์ต่อ

ประชาชน หน่วยงาน


ในทางวิชาการ ในทางปฏิบัติ

 

 

 

2.3 โครงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 3 นี้ มีระเบียบวิธีศึกษาวิจัย (research methodology) ที่ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมนาทางวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยให้ความสำคัญสัดส่วนและเวลาในการศึกษาการวิจัยเอกสารมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง (fact) ส่วนการวิจัยสนามซึ่งครั้งนี้ไม่ได้ดำเนินการ และการสัมมนาทางวิชาการซึ่งนำเสนอไว้ในภาคผนวก นั้น เป็นข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น (opinion) ซึ่งโต้แย้งได้ง่ายกว่า

การวิจัยเอกสาร  การศึกษาวิจัยตลอดโครงการครั้งนี้เหมือนกับ 2 ครั้งแรก ได้ใช้เวลา 12 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2546 ถึง 31 มีนาคม 2547

ส่วนการสัมมนาทางวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็น เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์วิจารณ์โครงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 2 (จัดพิมพ์เผยแพร่ในปี 2546 ตั้งแต่คำวินิจฉัยที่ 32/2543 ถึง คำวินิจฉัยที่ 51/2544 จำนวน 84 เรื่อง) โดย นายแพทย์ เหวง โตจิราการ (โปรดดูเอกสารในภาคผนวก ผนวก 1) ซึ่งนำเสนอไว้ในการสัมมนาทางวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็น ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2546 ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 13.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่คุรุสภา ชั้น 1 อาคารคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 100 คน

ภายหลังจากการสัมมนาดังกล่าว ได้มีการเผยแพร่ผลการสัมมนาผ่านทางสื่อ ต่าง ๆ เช่น

1) หนังสือพิมพ์มติชน ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2546 ปีที่ 26 ฉบับที่ 9407 หน้า 13 เรื่อง ผลวิจัยระบุประธานศาลรัฐธรรมนูญชี้นำวินิจฉัย แนะคำนึงศักดิ์ศรี-ยึดซื่อตรงเป็นสรณะ ได้ลงพิมพ์เผยแพร่ข้อความและความเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางอินเตอร์เน็ทด้วย คือ http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01pol01111246&… (15 ธันวาคม 2546)

2) จดหมายข่าวศาลรัฐธรรมนูญ เอกสารเผยแพร่ (ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ) ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (เล่มที่ 33) ประจำเดือน มกราคม – กุมภาพันธ์ 2547 หน้า 11-13 เรื่อง คำชี้แจงกรณีอ้างผลงานวิจัยระบุประธานศาลรัฐธรรมนูญชี้นำการวินิจฉัยคดีฯ

สำหรับโครงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 3 (ปี 2547) นี้ จะได้นำเสนอในที่ประชุมสัมมนาทางวิชาการเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อไป และหลังจากนั้นจะจัดพิมพ์ผลการสัมมนาไว้ในเล่มต่อไป

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ในที่นี้จึงเรียก “คำวินิจฉัยกลาง หรือคำวินิจฉัยรวมของศาล
รัฐธรรมนูญ” ว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” พร้อมกับเรียก “คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน” ว่า “คำวินิจฉัยส่วนบุคคล”

3. เนื้อหาสาระสำคัญ

เนื้อหาสาระสำคัญ แบ่งเป็น 4 ข้อ โดยจัดแบ่งให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ขอบเขต และสมมติฐานของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ (1)  การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญปี 2545 จำนวน 64 เรื่อง (2) การวิเคราะห์ภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (3)  การพิสูจน์สมมติฐานของการศึกษาวิจัย และ (4) การวิเคราะห์เปรียบเทียบคำวินิจฉัยและข้อมูลตัวเลขที่สำคัญ ปี 2541-2545

3.1 การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2545 จำนวน 64 เรื่อง

3.1.1  จำนวนคำวินิจฉัยที่นำมาศึกษาและวิเคราะห์  ล้วนเป็นคำวินิจฉัยที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เฉพาะปี 2545 มีจำนวนรวม 997 เรื่อง แบ่งเป็น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 64 เรื่อง และคำวินิจฉัยส่วนบุคคล จำนวน 933 เรื่อง

3.1.2 ประเภทของผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในจำนวนคำวินิจฉัย 64 เรื่องของปี 2545 ศาล เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญมากที่สุด คือ จำนวน 30 เรื่อง (ร้อยละ 46.9) รองลงมา คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง ยื่นคำร้อง จำนวน 19 เรื่อง (ร้อยละ 29.7) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ปปช.) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 9 เรื่อง (ร้อยละ 14.1)

3.1.3 มาตราที่ผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย  จากจำนวนคำวินิจฉัย 64 เรื่อง มาตราที่ผู้ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด คือรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 มีจำนวนมากที่สุด คือ 30 เรื่อง (ร้อยละ 46.9) มาตรานี้เป็นกรณีเมื่อเกิดการโต้แย้งขึ้น ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งเรื่องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย รองลงมาคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง มีจำนวน 19 เรื่อง (ร้อยละ 29.7) มาตรานี้เป็นกรณีการยุบพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียนพรรคการเมือง เป็นต้น

3.1.4  จำนวนประเด็นหลักของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ประเด็นหลักของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึง ประเด็นสำคัญที่ปรากฏอยู่ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยเป็นประเด็นที่องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนำไปใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยและคณะผู้ศึกษาวิจัยได้นำมาศึกษาวิเคราะห์ ประเด็นหลักนั้นอาจมีประเด็นเดียวหรือหลายประเด็นก็ได้ สำหรับคำวินิจฉัยปี 2545 จำนวน 64 เรื่องนั้น มี 1 ประเด็นหลักมากที่สุด จำนวน 43 เรื่อง (ร้อยละ 67.2) รองลงมา มี 2 ประเด็นหลัก จำนวน 18 เรื่อง (ร้อยละ 28.1)

3.1.5 ประเภทของปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เป็นปัญหาการตรวจสอบกฎหมายมีมากที่สุด จำนวน 34 เรื่อง (ร้อยละ 53.1) รองลงมา คือ ปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมือง มีจำนวน 19 เรื่อง (ร้อยละ 29.7) เป็นต้น

3.1.6 แนวโน้มคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คะแนนเสียงของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเฉพาะส่วนที่ “ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” และ “ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ”(โดยไม่รวม “อื่น ๆ”) มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนและยังแสดงให้เห็นแนวโน้มคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญมีดังนี้

1) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย "ปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย" (เช่น กฎหมายหรือร่างกฎหมายที่พิจารณาวินิจฉัยนั้นไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ)   คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่เห็นว่ากฎหมายนั้น ๆ "ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ"มากกว่า “ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” หรือในอัตราส่วน 12.2 : 1

2) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย "ปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ" คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่เห็นว่าองค์กรนั้นทำถูกต้องแล้วหรือ "ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" เท่ากับ “ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” หรือในอัตราส่วน 1 : 1

3) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย "ปัญหาบุคคลหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง" คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ "ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" น้อยกว่า “ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” หรือในอัตราส่วน 1 : 6.2

4) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย "ปัญหาองค์กร หรือพรรคการเมือง" คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ "ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" มากกว่า “ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” หรือในอัตราส่วน 12.7 : 1

3.1.7  คำวินิจฉัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปี 2545 และมีจำนวนคำวินิจฉัยในช่วงเวลาดำรงตำแหน่งครบทั้ง 64 เรื่อง มีจำนวน 12 คน โดยกลุ่มที่มาจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2คน ได้แก่ นายกระมล ทองธรรมชาติ และนายผัน จันทรปาน มีคำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันมากที่สุด (ร้อยละ 82.8 ของจำนวนคำวินิจฉัยทั้งหมด 64 เรื่อง) รองลงมาตามลำดับได้แก่ กลุ่มที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวน 2 คน ได้แก่ พลโทจุล อติเรก และนายศักดิ์ เตชาชาญ (ร้อยละ 68.7) กลุ่มที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา จำนวน 5 คน ได้แก่ นายจุมพล ณ สงขลา นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ นายมงคล สระฏัน นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ นายอุระ หวังอ้อมกลาง (ร้อยละ 54.7)และกลุ่มที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จำนวน 3 คน ได้แก่ นายอนันต์ เกตุวงศ์ นายสุจิต บุญบงการ และนายอมร รักษาสัตย์ (ร้อยละ 35.9)

ผลการวิจัยเอกสารส่วนนี้แสดงให้เห็นแต่เพียงว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละกลุ่มมีคำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันในจำนวนเท่าใดเท่านั้น  โดยไม่อาจแสดงถึงสาเหตุที่ทำให้คำวินิจฉัยของแต่ละกลุ่มเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ไม่อาจบอกได้ว่า มีสาเหตุมาจาก (1) การมีเหตุผลเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันหรือ (2) การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาจากแหล่งเดียวกันหรือมาจากความเชี่ยวชาญสาขาเดียวกัน เป็นต้น

ในส่วนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปี 2545 และมีจำนวนคำวินิจฉัยในช่วงเวลาดำรงตำแหน่งไม่ครบทั้ง 64 เรื่อง จำนวน 3 คน ไม่อาจนำข้อมูลตัวเลขมาวิเคราะห์ได้เนื่องจากจำนวนคำวินิจฉัยของแต่ละคนไม่เท่ากัน

3.1.8 การแสดงจุดยืนของคำวินิจฉัยส่วนบุคคล จากการวิจัยเอกสารทำให้พบการแสดงจุดยืนของคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่แตกต่างจากฝ่ายเสียงข้างมาก กล่าวคือ ในบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 12 คน ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปี2545 และมีจำนวนคำวินิจฉัยในช่วงเวลาดำรงตำแหน่งครบทั้ง 64 เรื่อง นั้น มีเพียง 1 คน ได้แก่ นายอมร รักษาสัตย์ มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ได้แสดงจุดยืนในคำวินิจฉัยส่วนบุคคล ที่มีต่อปัญหาการตรวจสอบกฎหมายที่แตกต่างหรือตรงกันข้ามกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ โดยมีคำวินิจฉัยในลักษณะที่ "ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" เป็นจำนวนมาก เห็นได้จากอัตราส่วนคำวินิจฉัยในลักษณะที่ “ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ : ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” เท่ากับ 10 : 8 ในขณะที่อัตราส่วนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่น มีดังนี้ นายมงคล  สระฏัน 16 : 2, นายอุระ หวังอ้อมกลาง 16 : 2 (เหตุผลที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 3 คนนี้มีจำนวนผลรวมของคำวินิจฉัยเท่ากัน เพราะได้ร่วมเดินทางไปราชการต่างประเทศในเวลาเดียวกัน ทำให้ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยบางเรื่องในจำนวนที่เท่ากัน) พลโทจุล อติเรก 34 : 0, นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ 34 : 0, นายอนันต์ เกตุวงศ์ 33 : 1, นายจุมพล ณ สงขลา 32 : 0, นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ 32 : 0, และ นายกระมล ทองธรรมชาติ 31 : 2 เป็นต้น

3.1.9 คำวินิจฉัยส่วนบุคคลที่สอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับฝ่ายเสียงข้างมาก เป็นการศึกษาวิเคราะห์ว่า คำวินิจฉัยส่วนบุคคลที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนและแต่ละเรื่องได้วินิจฉัยหรือออกเสียงอยู่ในฝ่ายเสียงข้างมาก หรือฝ่ายเสียงข้างน้อยและอื่น ๆ เช่น ยกคำร้อง ข้อมูลจากการวิจัยเอกสารในส่วนนี้ อย่างน้อยจะมีส่วนช่วยทำให้เห็นแนวทางหรือทิศทางคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนว่าอยู่กับฝ่ายเสียงข้างมากหรือฝ่ายเสียงข้างน้อยมากน้อยเพียงใด ปรากฏว่า ในบรรดาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปี 2545  และมีจำนวนคำวินิจฉัยในช่วงเวลาดำรงตำแหน่งครบทั้ง 64 เรื่อง จำนวน 12 คน นั้น
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยหรือออกเสียงอยู่ฝ่ายเสียงข้างมาก "มากที่สุด" 3 ลำดับ ได้แก่ นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา มีจำนวน 62 เรื่อง (ร้อยละ 96.9 ของจำนวนคำวินิจฉัยทั้งหมด 64 เรื่อง) รองลงมามี 2 คน เพราะมีจำนวนเท่ากัน ได้แก่ นายกระมล ทองธรรมชาติ มาจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และนายปรีชา เฉลิมวณิชย์ มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา มีจำนวน 59 เรื่อง (ร้อยละ 92.2)

สำหรับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยหรือออกเสียงอยู่ฝ่ายเสียงข้างมาก น้อยที่สุด คือ นายอมร รักษาสัตย์ มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ มีจำนวน 33 เรื่อง (ร้อยละ 51.6)

3.1.10 การเข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัย ผลจากการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ในปี 2545 นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด โดยเข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยครบทั้ง 64 เรื่อง รองลงมา เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัย จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ นายกระมลทองธรรมชาติ มาจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และนายปรีชา เฉลิมวณิชย์ มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัย จำนวน 3 เรื่อง มี 2 คน คือ พลโทจุล อติเรก มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และนายอนันต์ เกตุวงศ์ มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์

ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด จำนวน 17 เรื่อง มี 3 คน ได้แก่ นายมงคล สระฏัน นายอุระ หวังอ้อมกลาง และนายอมร รักษาสัตย์ เนื่องจากเดินทางไปราชการต่างประเทศพร้อมกัน

สำหรับคำวินิจฉัยที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะมากที่สุด ได้แก่ คำวินิจฉัยที่ 50/2545 (วันที่ 19 กันยายน 2545) นายทะเบียนพรรคการเมือง กับ พรรคสร้างสรรค์ไทย และ คำวินิจฉัยที่ 51/2545 (วันที่ 19 กันยายน 2545) นายทะเบียนพรรคการเมือง กับ พรรคไทยรวมพลัง โดยมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยจำนวน 6 คน รองลงมา คือ คำวินิจฉัยที่ 19-22, 23, 35/2545 มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยจำนวน 5 คน

เหตุผลของการไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนในแต่ละเรื่อง คณะผู้ศึกษาวิจัยไม่อาจนำเสนอได้อย่างสมบูรณ์  แต่โดยทั่วไป ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ขาดประชุมหรือไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยเรื่องใด จะแจ้งต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญพร้อมเหตุผล แต่ข้อมูลดังกล่าวที่เป็นทางการไม่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ ไม่มีการจัดพิมพ์เผยแพร่ และไม่ได้ลงประกาศในเว็บไซท์ (website) ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม วิธีหนึ่งที่จะทำให้ได้ข้อมูลหรือเหตุผลเกี่ยวกับการไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ การสัมภาษณ์ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคน  นอกจากนี้ ยังศึกษาได้สำนวนหรือรายงานการประชุม แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะได้ข้อมูลด้วยวิธีการที่กล่าวมานี้

3.1.11 คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในคำวินิจฉัย 64 เรื่อง คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม  ได้แก่ มติเป็นเอกฉันท์ และมติไม่เป็นเอกฉันท์ สำหรับความหมายโดยทั่วไปของ "มติเป็นเอกฉันท์" หมายถึง ทุกคนเห็นตรงกัน หรือเห็นพ้องต้องกันหมด ส่วน "มติไม่เป็นเอกฉันท์" หมายถึง เห็นไม่ตรงกัน หรือมีความเห็น แต่ "มติเป็นเอกฉันท์" ในที่นี้การศึกษาวิจัยครั้งนี้ หมายถึง คะแนนเสียงหรือคำวินิจฉัยท้ายสุดของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกัน หรือเป็นไปในทำนองเดียวกันทุกคน กล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า แม้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนจะมีมุมมองหรือความเห็นต่อประเด็นหลักแต่ละประเด็นที่แตกต่างกันก็ตาม แต่สุดท้ายเมื่อผลของคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกัน หรือเป็นไปในทำนองเดียวกันทุกคน เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นลักษณะของ "มติเป็นเอกฉันท์" มีตัวอย่างให้เห็นได้ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คือ คำวินิจฉัยที่ 1/2541 (วันที่ 23 พฤษภาคม 2541) ส.ส. 90 คน กับ พระราชกำหนดจำนวน 4 ฉบับ และคำวินิจฉัยที่ 6/2545 (วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545) นายประเสริฐ นาสกุล กับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530

ผลการศึกษาและวิเคราะห์ ปรากฏว่า ในปี 2545 คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น มติเป็นเอกฉันท์ 36 เรื่อง (ร้อยละ 56.3) และมติไม่เป็นเอกฉันท์ 28 เรื่อง (ร้อยละ 43.7) เป็นที่น่าสังเกตว่า เท่าที่ผ่านมายังไม่เคยปรากฏว่า คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกมาเท่ากัน 

3.1.12 ระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาแต่ละเรื่อง ในปี 2545 ระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาจนแล้วเสร็จมากที่สุด คือ 12 เดือนขึ้นไป มีจำนวน 23 เรื่อง (ร้อยละ 35.9 ของคำวินิจฉัยทั้งหมด) รองลงมา คือ 9-10 เดือน มีจำนวน 6 เรื่อง (ร้อยละ 9.4) ส่วนคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณาวินิจฉัยน้อยที่สุด มี 1 เรื่อง ได้แก่ คำวินิจฉัยที่ 15/2545 (วันที่ 25 เมษายน 2545) ประธานรัฐสภา กับ ความชอบด้วย
รัฐธรรมนูญของกระบวนการพิจารณาถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ใช้เวลา 13 วัน คำวินิจฉัยที่ใช้เวลาน้อยรองลงมา คือ คำวินิจฉัยที่ 35/2545 (วันที่ 6 มิถุนายน 2545) คณะกรรมการ ป.ป.ช. กับ พันตำรวจโท สานิตย์ สุรังษี ใช้เวลา 20 วัน ในส่วนของคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด มี 1 เรื่อง คือ คำวินิจฉัยที่ 48/2545 (วันที่ 12 กันยายน 2545) นายราเชนทร์ เรืองทวีป กับ ประมวลรัษฎากรฯ ใช้เวลา 2 ปี 5 เดือน 14 วัน รองลงมา คือ คำวินิจฉัยที่ 62/2545 (วันที่ 17 ธันวาคม 2545) นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ กับ พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยฯ ใช้เวลา 2 ปี 4 เดือน 20 วัน เป็นต้น

3.1.13  ระยะเวลาระหว่างวันประกาศคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกับวันประกาศคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อศึกษาระยะเวลาระหว่างวันประกาศคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกับวันประกาศคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในราชกิจจานุเบกษาในปี 2545 จำนวน 64 เรื่อง พบว่า คำวินิจฉัยมากที่สุด จำนวน 41 เรื่อง (ร้อยละ 64.0) ใช้เวลา 6-9 เดือน ที่เหลือจำนวน 23 เรื่อง (ร้อยละ 36.0) ใช้เวลา 9-12 เดือน ส่วนคำวินิจฉัยที่ใช้เวลาน้อยที่สุด มี 4 เรื่อง คือ คำวินิจฉัยที่ 19-22/2545 (วันที่ 30 พฤษภาคม 2545) นายอานุภาพ
สัตยประกอบ และผู้ร้องรายอื่น กับ พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 27 และมาตรา 30 ใช้เวลา 7 เดือน 8 วัน สำหรับคำวินิจฉัยที่ใช้เวลามากที่สุด มี 2 เรื่อง คือ คำวินิจฉัยที่ 48/2545 (วันที่ 12 กันยายน 2545) นายราเชนทร์ เรืองทวีป กับ ประมวลรัษฎากรฯ และคำวินิจฉัยที่ 49/2545 (วันที่ 12 กันยายน 2545) นายกฤษฎางค์ นุตจรัส กับ พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ และพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ ทั้ง 2 เรื่องนี้ใช้เวลาเท่ากัน คือ 10 เดือน 4 วัน

3.1.14 คำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน หมายถึง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นคำวินิจฉัยเริ่มแรกในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  โดยมีลักษณะเป็นแบบแผนสำหรับยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ  คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี 2545 จำนวน 64 เรื่อง แบ่งเป็น คำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐาน จำนวน 40 เรื่อง (ร้อยละ 62.5) และคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน จำนวน 24 เรื่อง (ร้อยละ 37.5) เหตุผลที่จำนวนคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐานมีจำนวนน้อยกว่าคำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐาน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาวินิจฉัยคำร้องมาตั้งแต่ปี 2541 ทำให้มีคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐานเป็นจำนวนมาก  เมื่อมาถึงปี 2545 จำนวนคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐานย่อมลดน้อยลง และในอนาคตมีแนวโน้มลดลงอีก ประกอบกับผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อได้ทราบถึงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วางบรรทัดฐานไว้แล้ว ได้ยึดถือปฏิบัติหรือใช้เป็นแนวทาง และเสนอคำร้องเฉพาะเรื่องที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นบรรทัดฐาน

3.2 การวิเคราะห์ภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ในจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 15 คน ที่ดำรงตำแหน่งในปี 2545 นั้น ทุกคนเป็นชาย และแต่งงานแล้ว อายุของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2546 พบว่า ไม่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใด อายุต่ำกว่า 60 ปี โดยมีอายุ 60-65 ปี จำนวน 8 คน และอายุ 66-70 ปี จำนวน 7 คน

ในส่วนของการศึกษา ทุกคนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญาตรี และมี 6 คน ที่สำเร็จเนติบัณฑิต มี 3 คน สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดระดับปริญญาโท และมี 4 คน สำเร็จการศึกษาสูงสุดขั้นสูงสุดระดับปริญญาเอก

สำหรับประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการ (1) มี 2 คน เคยปฏิบัติราชการในหน่วยงานของฝ่ายนิติบัญญัติ (2) มี 13 คน เคยปฏิบัติราชการในหน่วยงานของฝ่ายบริหาร และ (3) มี 7 คน เคยปฏิบัติราชการในหน่วยงานของฝ่ายตุลาการ หรือปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายตุลาการแม้หน่วยงานนั้นจะอยู่ในสังกัดของฝ่ายบริหารก็ตาม นอกจากนี้ (4) มี 5 คน เคยมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในฝ่ายวิชาการ

3.3  การพิสูจน์สมมติฐานของการศึกษาวิจัย

ในการพิสูจน์สมมติฐานของการศึกษาวิจัยทั้ง 2 ข้อต่อจากนี้ไป ได้ใช้ข้อมูลจากผลการวิจัยเอกสาร หรือจากคำวินิจฉัยที่ 1/2545 ถึง คำวินิจฉัยที่ 64/2545  สรุปได้ว่า ผลการศึกษาวิจัยได้สนับสนุนหรือยืนยันสมมติฐานของการศึกษาวิจัย 1 ข้อ แต่ไม่อาจสนับสนุนหรือยืนยันอีก 1 ข้อ ดังนี้

1) ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน  ที่ว่า “โครงสร้างหรือองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาและมีจำนวนแตกต่างกัน ย่อมทำให้ทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกลุ่มข้างมาก” หมายความว่า โครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญที่ประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกาและผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ กลุ่มละ 5 คน มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 3 คน และมาจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุด 2 คน มีส่วนสำคัญทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามความเห็นของนักกฎหมาย ผลการศึกษาวิจัยแสดงว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา และกลุ่มที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ที่มีคำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันเท่านั้น  แต่ไม่สามารถบอกเหตุผลได้ว่า การที่คำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันของแต่ละกลุ่มนั้นเกิดจากสาเหตุใด

2) ผลการศึกษาวิจัยไม่สนับสนุนหรือยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า “ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอิทธิพลต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” หลังจากนำคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของประธานศาลรัฐธรรมนูญมาวิเคราะห์ว่าอยู่ในกลุ่มของฝ่ายเสียงข้างมาก หรือฝ่ายเสียงข้างน้อยพบว่า นายอิสระ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปี 2545และมีจำนวนคำวินิจฉัยในช่วงเวลาดำรงตำแหน่งไม่ครบทั้ง 64 เรื่อง (คือมีจำนวน 52 เรื่อง เนื่องจากพ้นจากตำแหน่งไปก่อน) ได้วินิจฉัยหรือออกเสียงอยู่ “ฝ่ายเสียงข้างมาก” เป็นส่วนน้อย คือ จำนวน 21 เรื่อง จากจำนวน 52 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 40.4 ของจำนวนคำวินิจฉัย 52 เรื่อง เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงแสดงให้ว่า คำวินิจฉัยประธานศาลรัฐธรรมนูญในการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 3 นี้ ไม่ได้อยู่ในกลุ่มของฝ่ายเสียงข้างมากเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่มีอิทธิพลต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

3.4 การวิเคราะห์เปรียบเทียบคำวินิจฉัยและข้อมูลตัวเลขที่สำคัญ ปี 2541-2545

ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบครั้งนี้ ได้นำคำวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มแรก คือ ตั้งแต่ปี 2541 ถึง สิ้นปี 2545 มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน หรือตั้งแต่คำวินิจฉัยที่ 1/2541 ถึง คำวินิจฉัยที่ 64/2545 โดยเป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 249 เรื่อง และคำวินิจฉัยส่วนบุคคล 3,387 เรื่อง การวิเคราะห์เปรียบเทียบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์เปรียบเทียบคำวินิจฉัย และการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลตัวเลขที่สำคัญ

3.4.1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบคำวินิจฉัย กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจไม่ยื่นหรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 นับแต่ปี พ.ศ. 2541-2545 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจไม่ยื่นบัญชีฯ ดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 19 เรื่อง แบ่งเป็น ปี 2543 จำนวน 7 เรื่อง ปี 2544 จำนวน 3 เรื่อง และปี 2545 จำนวน 9 เรื่อง

เมื่อนำคำวินิจฉัยกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจฯ ตามมาตรา 295 ทั้งหมด 19 เรื่อง ตั้งแต่ปี 2541-2545 มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวม 19 คน มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน พบว่า

1) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เข้าร่วมเป็นองค์คณะหรือเข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยครบทั้ง 19 เรื่อง มี 4 คน  ได้แก่

1.1) นายสุวิทย์ ธีรพงศ์ มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา วินิจฉัยว่า จงใจ 18 เรื่อง, ไม่จงใจ/ยกคำร้อง 1 เรื่อง หรือ 18 : 1 (หมายถึง จงใจ : ไม่จงใจ/ยกคำร้อง)

1.2) นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา
วินิจฉัยว่า จงใจ 16 เรื่อง, ไม่จงใจ/ยกคำร้อง 3 เรื่อง หรือ 16 : 3

1.3) พลโทจุล อติเรก มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ วินิจฉัยว่า จงใจ 17 เรื่อง, ไม่จงใจ/ยกคำร้อง 2 เรื่อง หรือ 17 : 2

1.4) นายอนันต์ เกตุวงศ์ มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ วินิจฉัยว่า จงใจ 17 เรื่อง, ไม่จงใจ/ยกคำร้อง 2 เรื่อง หรือ 17 : 2

2) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เข้าร่วมเป็นองค์คณะหรือเข้าร่วมวินิจฉัยไม่ครบทั้ง 19 เรื่อง มี 15 คน แต่มี 5 คน วินิจฉัยว่า “จงใจ” ทุกครั้ง ที่เข้าร่วมวินิจฉัย ได้แก่

2.1) นายมงคล สระฏัน มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา เข้าร่วมวินิจฉัย 18 เรื่อง, วินิจฉัยว่า จงใจทั้ง 18 เรื่อง, ไม่ได้เข้าร่วม 1 เรื่อง หรือ 18 : 0 (หมายถึง จงใจ : ไม่จงใจ/ยกคำร้อง)

2.2) นายอุระ หวังอ้อมกลาง มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา เข้าร่วมวินิจฉัย 18 เรื่อง, วินิจฉัยว่า จงใจทั้ง 18 เรื่อง, ไม่ได้เข้าร่วม 1 เรื่อง หรือ 18 : 0

2.3) นายสุจิต บุญบงการ มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ เข้าร่วมวินิจฉัย 17 เรื่อง, วินิจฉัยว่า จงใจทั้ง 17 เรื่อง, ไม่ได้เข้าร่วม 2 เรื่อง หรือ 17 : 0

2.4) นายประเสริฐ นาสกุล มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ เข้าร่วมวินิจฉัยครบทั้ง 10 เรื่อง ก่อนพ้นวาระเพราะอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์, วินิจฉัยว่า จงใจทั้ง 10 เรื่อง หรือ 10 : 0

         2.5) นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์เข้าร่วม วินิจฉัย4 เรื่อง ก่อนพ้นจากตำแหน่งเพราะลาออก, วินิจฉัยว่า จงใจทั้ง 4 เรื่อง หรือ 4 : 0

3.4.2 การวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลตัวเลขที่สำคัญ ประกอบด้วย 10 หัวข้อ ดังนี้

1) ประเภทของผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในปี 2541-2545 พบว่า ในจำนวนคำวินิจฉัย 249 เรื่อง ศาล (เช่น ศาลยุติธรรม และศาลปกครอง) เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญมากที่สุด จำนวน 126 เรื่อง (ร้อยละ 50.6) รองลงมา คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง ยื่นคำร้องจำนวน 54 เรื่อง (ร้อยละ 21.7) สำหรับผู้ยื่นคำร้องจำนวนน้อยที่สุด ได้แก่ (1) นายกรัฐมนตรี (2) คณะกรรมการบริหารพรรค สมาชิก หรือผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (3) คณะรัฐมนตรี โดยยื่นคำร้องในจำนวนเท่ากัน คือ 1 เรื่อง (ร้อยละ 0.4) สำหรับสมาชิกวุฒิสภา และอัยการสูงสุด ไม่ได้ยื่นคำร้องแม้แต่เรื่องเดียว

2) จำนวนประเด็นหลักของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มี 1 ประเด็นหลักมากที่สุด จำนวน 188 เรื่อง (ร้อยละ 75.5) รองลงมา มี 2 ประเด็นหลัก จำนวน 52 เรื่อง (ร้อยละ 20.9) เป็นต้น

3) ประเภทของปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย จำนวน 5 ประเภท ปรากฏว่า ปัญหาการตรวจสอบกฎหมายมีมากที่สุด คือ จำนวน 150 เรื่อง (ร้อยละ 60.3) รองลงมาตามลำดับ คือ ปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมืองมีจำนวน 49 เรื่อง (ร้อยละ 19.7) ปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ มีจำนวน 27 เรื่อง (ร้อยละ 10.8) ปัญหาบุคคลหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีจำนวน 22 เรื่อง (ร้อยละ 8.8) และท้ายสุด คือ ปัญหาอื่น ๆ จำนวน 1 เรื่อง

4) แนวโน้มคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  พบว่า

4.1) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย  คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 6.8 : 1

4.2) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญน้อยกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 0.8 : 1

4.3) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาบุคคลหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญน้อยกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 0.2 : 1

4.4) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมือง คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 18.2 : 1

5) คำวินิจฉัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 7 คน ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงปี 2541-2545 และดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงเวลาของคำวินิจฉัยครบทั้ง 249 เรื่อง มี 5 คน เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา ได้แก่ (1) นายจุมพล ณ สงขลา (2) นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ (3) นายมงคล สระฏัน (4) นายสุวิทย์ ธีรพงษ์ และ (5) นายอุระ หวังอ้อมกลาง ได้มีคำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันจำนวน 161 เรื่อง (ร้อยละ 64.6)

ผลการวิจัยเอกสารส่วนนี้ แสดงให้เห็นแต่เพียงว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกลุ่ม 5 คนที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกานี้ มีคำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันในจำนวนมากน้อยเพียงใดเท่านั้น ผลการวิจัยเอกสารครั้งนี้ไม่สามารถบอกเหตุผลได้ว่าการที่คำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันของแต่ละกลุ่มนั้นเกิดจากสาเหตุใด เช่น เกิดจากการมีเหตุผลเหมือนกันหรือทำนองเดียวกัน หรือเกิดจากการมีที่มาจากแหล่งเดียวกันหรือมาจากความเชี่ยวชาญสาขาเดียวกัน เป็นต้น

6) การเข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัย กล่าวได้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 7 คนที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงปี 2541-2545 และดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงเวลาของคำวินิจฉัยครบทั้ง 249 เรื่อง นั้น มี 2 คน คือ นายปรีชา เฉลิมวณิชย์ และนายสุวิทย์ ธีรพงษ์ ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะน้อยที่สุด คือ เพียง 4 เรื่องเท่านั้น รองลงมา คือ นายอนันต์ เกตุวงศ์ จำนวน 5 เรื่อง และพลโทจุล อติเรก จำนวน 6 เรื่อง ในขณะที่นายจุมพล ณ สงขลา ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะมากที่สุด จำนวน 27 เรื่อง

7) คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีมติเท่ากันหรือคะแนนเสียงเท่ากัน โดยพบว่า มติไม่เป็นเอกฉันท์ มีจำนวน 148 เรื่อง (ร้อยละ 59.4) มากกว่ามติเป็นเอกฉันท์ ที่มีจำนวน 101 เรื่อง (ร้อยละ 40.6)

8) ระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาแต่ละเรื่อง ปรากฏว่า

8.1) ระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญจนแล้วเสร็จมากที่สุด คือ 12 เดือนขึ้นไป มีจำนวน 41 เรื่อง (ร้อยละ 16.5) รองลงมา คือ 3-4 เดือน มีจำนวน 39 เรื่อง (ร้อยละ 15.7) เป็นต้น และหากนำระยะเวลาตั้งแต่ต่ำกว่า 1 เดือน ถึง 4-5 เดือน มารวมกัน พบว่า ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหารวมกันได้ 129 เรื่อง (ร้อยละ 51.8) ทำให้กล่าวได้ว่า ในจำนวนปัญหาที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยจำนวน 249 เรื่อง ปัญหาหรือคำร้องส่วนใหญ่จำนวน 129 เรื่อง (ร้อยละ 51.8) ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาในการพิจารณาวินิจฉัยไม่เกิน 4-5 เดือน

8.2) คำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณาวินิจฉัยน้อยที่สุด มี 2 เรื่อง ใช้เวลาเพียง 2 วัน ได้แก่ คำวินิจฉัยที่ 1/2541 (วันที่ 23 พฤษภาคม 2541) ส.ส. 90 คน กับ พระราชกำหนดจำนวน 4 ฉบับ และคำวินิจฉัยที่ 26/2543 (วันที่ 22 มิถุนายน 2543) คณะรัฐมนตรี กับพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาฯ สำหรับคำวินิจฉัยที่ใช้เวลาน้อยรองลงมา ตามลำดับ คือ 5 วัน ได้แก่ คำวินิจฉัยที่ 6/2543 และใช้เวลา 7 วัน ได้แก่ คำวินิจฉัยที่ 3/2542 เป็นต้น

8.3) คำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด มี 1 เรื่อง คือ คำวินิจฉัยที่ 48/2545 (วันที่ 12 กันยายน 2545) นายราเชนทร์เรืองทวีป กับ ประมวลรัษฎากรฯ ใช้เวลา 2 ปี 5 เดือน 14 วัน รองลงมา คือ คำวินิจฉัยที่ 62/2545 (วันที่ 17 ธันวาคม 2545) นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ กับ พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยฯ ใช้เวลา 2 ปี 4 เดือน 20 วัน

         9) คำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน คำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐาน จำนวน 132 เรื่อง (ร้อยละ 53.0) ซึ่งมีมากกว่าคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน ซึ่งมีจำนวน 117 เรื่อง (ร้อยละ 47.0)

10) การพิสูจน์สมมติฐาน เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบการพิสูจน์สมมติฐานในการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 1-3 รวม 3 ครั้ง ซึ่งครอบคลุมคำวินิจฉัยปี 2541-2545 ผลของการพิสูจน์สมมติฐานสรุปได้ว่า การศึกษาวิจัย ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 มีสมมติฐาน 4 ข้อเท่ากัน และผลการพิสูจน์สมมติฐานก็เป็นในทิศทางเดียวกัน ขณะที่การศึกษาวิจัยครั้งที่ 3 มีสมมติฐาน 2 ข้อ และผลการพิสูจน์สมมติฐานของ 2 ข้อนั้น ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 เช่นกัน กล่าวคือ

10.1) ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า  “โครงสร้างหรือองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาและมีจำนวนแตกต่างกันย่อมทำให้ทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกลุ่มข้างมาก” หมายความว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา และกลุ่มที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ที่มีคำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันเท่านั้น หรือตามความเห็นของนักกฎหมาย  แต่ไม่สามารถบอกเหตุผลได้ว่าการที่คำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันของแต่ละกลุ่มนั้นเกิดจากการมีที่มาจากการศึกษา การทำงาน  มาจากแหล่งเดียวกัน  หรือมาจากความเชี่ยวชาญสาขาเดียวกัน หรือเกิดจากสาเหตุใด (เป็นสมมติฐานของการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 1-3)

10.2) ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า “ภูมิหลังที่แตกต่างกันของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีผลต่อทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” เช่น ภูมิหลังที่เกี่ยวกับอายุ การต่อสู้เรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมในสังคมอย่างชัดเจน ประสบการณ์ในการทำงาน ตลอดทั้งปรัชญาและแนวคิดทางกฎหมายและรัฐศาสตร์ของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่อาจจำแนกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อนุรักษ์นิยม เสรีนิยม และประชานิยม (เป็นสมมติฐานของการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 1-2)

10.3) ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและการปฏิรูปการเมืองของประเทศ” เช่น มีส่วนช่วยพัฒนาประชาธิปไตยและปฏิรูปการเมือง พิทักษ์ความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ และปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน (เป็นสมมติฐานของการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 1-2)

10.4) ผลการศึกษาวิจัยไม่สนับสนุนหรือยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า “ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอิทธิพลต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” และ "ถึงแม้ว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเสียงอยู่ฝ่ายเสียงข้างมาก (กรณีของนายประเสริฐ นาสกุล) หรือเสียงข้างน้อย (กรณีของนายอิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ) เป็นส่วนใหญ่ก็ตาม แต่ก็ไม่อาจยืนยันได้อย่างแน่นอนและชัดเจนว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอิทธิพลเหนือกลุ่มเสียงข้างมากหรือเหนือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใดหรือมีอิทธิพลต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มที่จะมีแนวคิดหรือมีคำวินิจฉัยที่สอดคล้องกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฝ่ายเสียงข้างมากเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น" (เป็นสมมติฐานของการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 1-3)

4. ข้อเสนอแนะ

ผลจากการศึกษาวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใน ปี 2545 ครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วย คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 64 เรื่อง คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 933 เรื่อง และมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่ง 15 คน รวมตลอดถึงการวิเคราะห์เปรียบเทียบคำวินิจฉัยและข้อมูลตัวเลขที่สำคัญตั้งแต่เริ่มแรก หรือตั้งแต่ปี 2541-2545 ซึ่งมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญรวมทั้งสิ้น 249 เรื่อง คำวินิจฉัยส่วนบุคคลรวม 3,387 เรื่อง และมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรวม 19 คน ทำให้กล่าวในภาพรวมได้ว่า ข้อเสนอแนะส่วนใหญ่ต่อจากนี้ไป จะเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ได้เคยเสนอแนะไว้แล้วในโครงการศึกษาวิจัยเรื่องเดียวกันนี้ในโครงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยออกมาในทิศทางที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แม้จำนวนคำวินิจฉัยและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ อย่างน้อยจะมีส่วนช่วยยืนยัน เพิ่มน้ำหนัก และเพิ่มความมั่นใจในผลการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาและในครั้งนี้มากขึ้น

เมื่อผลการศึกษาวิจัยไม่แตกต่างกันมาก ทำให้ในบางกรณีจำเป็นต้องนำข้อ
เสนอแนะเดิมมาเสนอไว้เท่าที่จำเป็น อย่างไรก็ดี ได้มีข้อเสนอแนะอื่นเพิ่มเติมไว้ด้วย
ทั้งนี้ ได้มุ่งเน้นเพื่อให้สามารถนำข้อเสนอแนะไปใช้เสริมหรือชี้นำสำหรับแก้ไขปัญหาสำคัญ 3 ส่วน ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ (2) ปัญหาที่เกิดจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ไม่ชัดเจนและไม่
เหมาะสม รวมทั้ง (3) ปัญหาที่เกิดจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยส่วนบุคคลบางเรื่องใอดีตที่ไม่
สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ การปฏิรูปการเมือง และการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ

เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาดังกล่าว หัวข้อการเสนอแนะจึงจัดแบ่งเป็น 3 ส่วนเช่นเดียวกัน คือ (1) แนวทางการพัฒนาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ (2) แนวทางการพัฒนาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และ (3) แนวทางการพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะแต่ละส่วนล้วนมีความสำคัญ จึงควรดำเนินการพร้อมกันไปตามความเหมาะสม

4.1 แนวทางการพัฒนาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

เป็นข้อเสนอแนะที่มุ่งพัฒนาที่ระบบหรือโครงสร้างใหญ่ที่รวมโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ไว้ด้วยกัน เพราะทั้งสองเรื่องนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงและชัดเจนว่าจะเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและการปฏิรูปการเมืองหรือไม่เพียงใด ข้อเสนอแนะในแต่ละเรื่อง มีดังต่อไปนี้

4.1.1 แนวทางการพัฒนาโครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติของ
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งหมด 15 คน โดยมีลักษณะหลากหลาย  พร้อมกับมีกระบวนการการสรรหาและการเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญ โดยมาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา จำนวน 5 คน จากผู้พิพากษาในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 2 คน จากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวน 5 คน และจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จำนวน 3 คน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในลักษณะหลากหลายนั้น สัดส่วนของผู้สำเร็จการศึกษาด้านกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ซึ่งแบ่งเป็น ผู้พิพากษาในศาลฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขานิติศาสตร์ มีรวมกัน 10 คน หรือเท่ากับ 2 ใน 3 ของจำนวนศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด และถ้านับผู้พิพากษาในศาลปกครองสูงสุดอีก 2 คนด้วยแล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาด้านกฎหมายเพิ่มขึ้นอีก

ผลการศึกษาวิจัยและการวิเคราะห์เปรียบเทียบทำให้เห็นว่า ที่มาและสัดส่วนของโครงสร้างหรือองค์ประกอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง  เพราะส่งผลต่อการคะแนนเสียงของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะเป็นไปในทิศทางของนักกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งมีจำนวน 5 คน ที่ล้วนเป็นอดีตผู้พิพากษาและมีแนวคิดและมุมมองในลักษณะของศาลยุติธรรมที่ยึดถือหลักนิติศาสตร์ คำพิพากษาของศาลฎีกา กฎหมายเอกชน และกฎหมายลูก เช่น ประมวลกฎหมายอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นหลักในบางคำวินิจฉัยมากจนเกินไป โดยให้ความสำคัญกับกฎหมายมหาชน หลักรัฐศาสตร์ สิทธิเสรีภาพ ตลอดจนผลประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมไม่มากเท่าที่ควร เช่นนี้ น่าจะแตกต่างจากแนวคิดของศาลรัฐธรรมนูญ หรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากสายอื่น เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มว่าได้ยึดถือรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดและเจตนรมณ์ของรัฐธรรมนูญเป็นหลัก นอกจากนี้ การมีแนวคิดที่มีแนวโน้มเป็น “อนุรักษ์นิยม” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนิยมตีความตามตัวอักษร การรักษาและยึดถือตัวบทกฎหมาย การรักษาผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลมากเกินไปกว่ารักษารัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย รวมตลอดถึงการดำรงตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกาก็เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มแรกคือ ปี 2541 จนกระทั่งครบวาระ 9 ปี ขณะที่กลุ่มอื่น ไม่ว่าจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดมา ไม่เพียงเท่านั้น คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้สรรหาอดีตผู้พิพากษาเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ที่พ้นตำแหน่งไป อีก 1 คน เช่นนี้ ถ้ามองในหลักการ โดยไม่มองที่ตัวบุคคล ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มจำนวนผู้พิพากษาในศาลฎีกาขึ้นอีก แต่อย่างไรก็ตาม ยังพอที่จะคลายความวิตกกังวลได้บ้าง เพราะเท่าที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มแรกปี 2541 จนถึงสิ้นปี 2545 ยังไม่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ มิฉะนั้น ภาพของการที่ศาลรัฐธรรมนูญถูกกลุ่มที่มาจากวิชาชีพเดียวกัน สายเดียวกันเข้ามามีอิทธิพลจะปรากฏขึ้น ทั้ง ๆ ที่ในสภาพความเป็นจริง มิได้เป็นไปตามภาพนั้น

แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา ได้รับการยกย่องว่ามีความเป็นอิสระ ไม่ใกล้ชิดกับฝ่ายการเมือง ไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกลุ่มบุคคลใด โดยเฉพาะผู้มีอำนาจรัฐ หรือฝ่ายการเมือง โอกาสที่กลุ่มนี้จะมีคำวินิจฉัยไปในทิศทางที่เป็น “รัฐบาลนิยม” หรือมีแนวโน้มที่จะมีคำวินิจฉัยไปรับรองการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายการเมือง จะเกิดขึ้นน้อยกว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากสายอื่นที่มีโอกาสใกล้ชิดกับฝ่ายการเมือง

สำหรับข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาโครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อศาลรัฐธรรมนูญในทิศทางที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและสังคมในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น คือ ควรปรับเปลี่ยนจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยยังคงให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย 15 คนเช่นเดิม แต่เพิ่มจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ เป็น 5 คน เท่ากับจำนวนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และไม่ควรมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 98 กำหนดให้มีจำนวนเพียง 23 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมาก และทุกวันนี้ปริมาณงานของศาลปกครองมีเพิ่มมากขึ้น มีคดีคั่งค้างมาก ศาลปกครองน่าจะจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมากกว่าศาลรัฐธรรมนูญซึ่งสามารถสรรหาจากแหล่งอื่นได้ ที่ผ่านมา ในการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 2 (จัดพิมพ์ในปี 2546) ได้เสนอแนะไว้ 3 โครงสร้าง แต่ในครั้งนี้ได้เพิ่มโครงสร้างที่ 4 ไว้ด้วย ข้อเสนอแนะสำหรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวมานี้ อาจเป็นโครงสร้างใดโครงสร้างหนึ่งจากตารางที่ 1 โดยควรประชาสัมพันธ์แสดงเหตุผล หรืออาจทำประชาพิจารณ์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าว

ตารางที่ 1 ข้อเสนอแนะให้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 4 โครงสร้าง โดยศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย 15 คนเช่นเดิม

ข้อเสนอแนะให้

ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง

ของศาลรัฐธรรมนูญ

ผู้พิพากษา

ใน

ศาลฎีกา

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์

ผู้ทรงคุณวุฒิสาขา

รัฐศาสตร์

ตุลาการใน

ศาลปกครอง

สูงสุด

1

ศาลรัฐธรรมนูญมีจำนวน 15 คน เช่นเดิม โดยประกอบด้วย

3

5

5

2

2

4

5

5

1

3

4

4

5

2

4

5

5

5

-

4.1.2 แนวทางการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นไปในทำนองเดียวกับที่ได้เสนอแนะไว้แล้วในโครงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ซึ่งจำเป็นต้องเสนอไว้อีกเพราะยังไม่มีการดำเนินการเกิดขึ้น สรุปได้ว่า

1) ควรจัดการอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่กระจัดกระจายอยู่ให้เป็นหมวดหมู่และชัดเจนขึ้น

2) ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงภายใต้เงื่อนไข เช่น ต้องเป็นปัญหาสำคัญ และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ต่อสังคมหรือประชาชนโดยรวม เช่นปัญหาสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนปัญหาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์  หรือปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (challenge constitutionality) อันมิใช่ปัญหาส่วนตัวของคนใดคนหนึ่ง

3) ควรมีแนวโน้มการตีความขอบเขตอำนาจของตนในทิศทางกว้างโดยครอบคลุมสังคมไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและสภาพแวดล้อม

4.2 แนวทางการพัฒนาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

4.2.1 ควรแก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเลิกอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคการเมือง เพราะศาลรัฐธรรมนูญควรมีอำนาจหน้าที่เท่าที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญโดยตรงเท่านั้น หรือไม่ควรมีอำนาจสั่งยุบพรรคตามคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 ซึ่งเป็นกฎหมายลูก อีกทั้งคำร้องโดยอาศัยพระราชบัญญัตินี้ปีหนึ่ง ๆ มีเป็นจำนวนมาก และศาลรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ได้สั่งให้ยุบพรรคการเมืองเสมอ อำนาจหน้าที่ดังกล่าวควรเป็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

4.2.2 ควรดำเนินการโดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วยการขยายความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อให้ชัดเจน เช่น ถ้อยคำที่ว่า (1) "บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ" มาตรา 266 (2) "องค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ" ตามมาตรา 266 (3) "ต้องคำพิพากษาให้จำคุก" ตามมาตรา 264 (4) (3) "ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" มาตรา 198 (4) การส่งคำโต้แย้ง ความเห็น หรือเอกสารของคู่ความตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย ตามมาตรา 264 เพื่อป้องกันการถ่วงเวลาด้วยการร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย (5) สมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 121 ต้องได้รับการเลือกตั้งถูกต้องครบทั้ง 200 คนก่อนเท่านั้น จึงจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือไม่ถึง 200 ก็ปฏิบัติหน้าที่ได้ (6) "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ" ตามมาตรา 268 ผลผูกพันดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะองค์กรเท่านั้น หรือครอบคลุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละคนด้วย เพราะถ้าครอบคลุมด้วยก็จะทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วางบรรทัดฐานไว้แล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้อีก

การที่คณะผู้ศึกษาวิจัยเสนอแนวทางพัฒนาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อขยายความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือถ้อยคำดังกล่าวให้ชัดเจนนั้น เพราะถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญบัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด ประกอบกับศาลรัฐธรรมนูญได้วางบรรทัดฐานเกี่ยวกับถ้อยคำกล่าวข้างต้นไว้แล้วเกือบทั้งหมดแล้วแต่ในอนาคตอาจมีการกลับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ ถ้าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนเดิมพ้นจากตำแหน่งหรือมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกลุ่มใหม่เข้าสู่ตำแหน่ง หรือสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป

4.3 แนวทางการพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

แนวทางการพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรดำเนินการพร้อมกันไปทั้ง 2 ส่วน ได้แก่ การพัฒนาที่ระบบหรือหลักเกณฑ์ และการพัฒนาโดยประชาชน แต่ละส่วนดังกล่าวนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น

4.3.1 การพัฒนาที่ระบบหรือหลักเกณฑ์  ที่สำคัญคือ

1) กระบวนการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของแต่ละองค์กร เช่น คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา และที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด  ตลอดทั้งวุฒิสภา  ควรมีหลักเกณฑ์และกระบวนการคัดเลือกภายในที่ชัดเจนบริสุทธิ์ ยุติธรรม เปิดเผย ปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ และเปิดโอกาสให้ตรวจสอบได้นี้ เพื่อให้ได้บุคคลที่จะไปดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างจริง เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย ปลอดจากอิทธิพลทางการเมืองและการวิ่งเต้นเข้าสู่ตำแหน่งอย่างแท้จริง

2) ในกระบวนการสรรหาบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งตุลาการศาล
รัฐธรรมนูญ ควรให้ความสำคัญกับเรื่องต่อไปนี้ด้วย

2.1) ประวัติการปฏิบัติงานเพื่อสังคม เพื่อสร้างความเป็นธรรม หรือมีความซื่อสัตย์สุจริตสั่งสมมาช้านาน ไม่มีใจและการกระทำที่ผูกพันกับการเมืองและธุรกิจ

2.2) ควรมีเกณฑ์การแสดงวิสัยทัศน์ หรือการเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการคัดเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้แสดงแนวคิดและอุดมการณ์ประจำใจด้วยว่า หน้าที่สำคัญของศาลรัฐธรรมนูญมิใช่เพียงทำหน้าที่กำกับดูแลการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หรือการแปลความรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่มีหน้าที่สำคัญคือการใช้รัฐธรรมนูญเพื่อปลูกฝังและพัฒนาประชาธิปไตย รวมตลอดถึงการพิทักษ์ปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย

2.3) ควรพิจารณาถึงโยงใยหรือชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลของผู้เข้ารับการคัดเลือกเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย เช่น ไม่ควรสนับสนุนผู้ที่เป็นลูกหลานหรือเครือญาติของผู้ที่มีประวัติหรือการประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสม ไม่สุจริต ให้เข้าสู่ตำแหน่งสำคัญของประเทศ แม้ผู้ที่เข้ารับการคัดเลือกนั้นจะมีความรู้ความสามารถและมีความซื่อสัตย์สุจริตก็ตาม ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเคลือบแคลงสงสัยที่จะเกิดขึ้นได้

3) การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนไม่อาจปฏิบัติหน้าที่  หรือมิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยคำร้องบางเรื่อง ซึ่งอาจเป็นเพราะติดราชการต่างประเทศ หรือป่วย หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ด้วยเหตุผลจำเป็นทั้งหลายนั้น แม้จำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะยังคงมีองค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ ไม่น้อยกว่า 9 คน ก็ตาม แต่เพื่อประโยชน์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเปิดเผยและโปร่งใส  จึงจำเป็นต้องมีการบันทึกและรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อแสดงถึงเหตุผลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยไว้ทุกเรื่อง พร้อมเผยแพร่ทางเว็บไซท์ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญด้วย เพื่อเป็นตัวอย่างหรือเป็นแบบอย่างให้องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอื่นได้นำไปปฏิบัติตาม

4) ควรมีมาตรการเพื่อให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนเขียนคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตนเองให้แล้วเสร็จก่อนลงมติเป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หรือกำหนดเวลาแล้วเสร็จที่ชัดเจน เพื่อให้คำวินิจฉัยประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้รวดเร็วขึ้น

5) เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและประโยชน์ในทางวิชาการ การระบุคะแนนเสียง ฝ่ายเสียงข้างมากและฝ่ายเสียงข้างน้อยไว้ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทุกเรื่องเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น และน่าจะสนับสนุนให้มีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

6) ควรระบุวันที่ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไว้ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทุกเรื่อง เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณระยะเวลาพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแต่ละเรื่องได้

7) ไม่ควรหลีกเลี่ยงการพิจารณาประเด็นหลัก หรือวินิจฉัยให้ยกคำร้องเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาจถือได้ว่าเป็นการแขวนหรือหลีกเลี่ยงการวินิจฉัย ไม่อยากเสี่ยง หรือไม่แน่ใจว่าจะไปกระทบผลประโยชน์ของบุคคลหรือหน่วยงานบางกลุ่ม

8) ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรห่างจากประชาชน แม้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นสถาบันที่มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง แต่ศาลรัฐธรรมนูญถูกจัดตั้งขึ้นโดยรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ความศักดิ์สิทธิ์ของศาลรัฐธรรมนูญจะยิ่งมีเพิ่มมากขึ้นหลังจากได้วินิจฉัยคำร้องทั้งหลายด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวม ดังนั้น ในอนาคตสถาบันศาลรัฐธรรมนูญจะยิ่งมั่นคงถาวรเพิ่มขึ้น ๆ ขณะเดียวกัน ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นไปได้มากว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะยิ่งห่างจากประชาชนหรือสัมผัสประชาชนน้อยลง ความเป็นสถาบันที่มั่นคงยิ่งใหญ่ขึ้นอาจจะมีส่วนทำให้ความใกล้ชิดประชาชนมีน้อยลง กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจึงควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย ในส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแม้แต่ละคนมิได้มีความคิดที่จะห่างจากประชาชน แต่ความเป็นสถาบันหรือระบบภายในศาลรัฐธรรมนูญอาจนำไปโดยไม่รู้ตัว

4.3.2 การพัฒนาโดยประชาชน  บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 ที่ว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย…..” ได้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมาก กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยซึ่งครอบคลุมทั้งอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ เป็นของปวงชนชาวไทยหรือประชาชนไทยตลอดเวลา โดยประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยไม่เพียงผ่านตัวแทนและองค์กรต่าง ๆ หรือมอบอำนาจให้องค์การต่าง ๆ ทั้ง 3 ฝ่ายเท่านั้น แต่ประชาชนยังใช้อำนาจอธิปไตยได้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวางอีกด้วย เช่น การเลือกตั้ง การริเริ่ม การถอดถอน การออกเสียงประชามติ การมีส่วนร่วมในการคิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติงานกับองค์กรต่าง ๆ ตลอดจนร่วมรับรู้ ร่วมควบคุมและตรวจสอบการบริหารงานและการใช้อำนาจอธิปไตยของหน่วยงานราชการทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ยิ่งไปกว่านั้น ข้อความที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยยังสอดคล้องกับความหมายของประชาธิปไตยที่ปวงชนหรือประชาชนเป็นใหญ่ในฐานะที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ที่กล่าวมานี้เป็นลักษณะสำคัญของการเปลี่ยนจากประชาธิปไตยแบบผู้แทน (representative democracy) มาเป็นประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) มากยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ประชาชนหรือบุคคลภายนอกศาลรัฐธรรมนูญจึงได้รับการยอมรับให้เข้ามามีส่วนในการพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรวมทั้งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ดูแล และช่วยตรวจสอบการปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง

2) แทนที่จะให้ความสนใจ “ผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” ว่า ออกมาอย่างไรเท่านั้น ประชาชนซึ่งรวมทั้งนักวิชาการควรให้ความสนใจกับการพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย เช่น นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาวิเคราะห์ในทางวิชาการอย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยให้ความสนใจ “เนื้อหาสาระภายในคำวินิจฉัย ทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยส่วนบุคคล” ว่า มีส่วนช่วยในการพัฒนาประชาธิปไตย ปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ ไม่ควรนำคำวินิจฉัยมาวิเคราะห์และวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงกฎหมายหรือในเชิงการใช้ดุลพินิจของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมเพียงอย่างเดียว แต่ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนากระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย
ตัวอย่างเช่น สนับสนุนกระบวนการสรรหาที่เน้น “ความรู้ความสามารถ” ควบคู่กับ “จิตวิญญาณเพื่อส่วนรวม” หรือการสนับสนุนให้ผู้เข้ารับการสรรหาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องมีทั้งความรู้ความสามารถควบคู่กับอุดมการณ์และจิตวิญญาณเพื่อส่วนรวม เช่น สนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตย การปฏิรูปการเมืองการปกครองและการบริหารจัดการ ตลอดจนการพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ด้วย

P P P P P