อำนาจของรัฐสภากับการบริหารราชการแผ่นดิน
วิรัช วิรัชนิภาวรรณภาพที่คลาดเคลื่อนไป ขอรับฟรีได้โดยตรงจาก อีเมล์ :
ความนำ
ก่อนอื่นควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรัฐสภา การบริหารราชการแผ่นดิน และคณะรัฐมนตรีพอสังเขป เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษานี้โดยตรง โดยเฉพาะการบริหาร
เมื่อการบริหารราชการแผ่นดินเกี่ยวข้องกับคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาดังกล่าวมานี้ ในส่วนแรก แนวคิดเกี่ยวกับรัฐสภาและการบริหารราชการแผ่นดินนี้ จึงแบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ คือ (1)
ภาพที่ 1 ภาพรวมการนำเสนอ "อำนาจของรัฐสภากับการบริหารราชการแผ่นดิน"
1. แนวคิดเกี่ยวกับอำนาจของรัฐสภา 2. กระบวนการนิติบัญญัติ
และการบริหารราชการแผ่นดิน กับการบริหารราชการไทย
1.2
2.2สภาผู้แทน การพิจารณาร่าง
ราษฎร พระราชบัญญัติ
1.1 1.3 2.1 2.3
แนวคิดเกี่ยวกับ แนวคิดทั่วไป การประกาศ
รัฐสภาและการ วุฒิสภา ในการเสนอร่าง ใช้
บริหารราชการ พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ
แผ่นดิน
อำนาจของรัฐสภากับการบริหารราชการไทย
3.1 3.2 3.3 3.4 3.5
การแถลง การตั้ง การเปิด การตั้ง การ
นโยบายต่อ กระทู้ อภิปราย กรรมาธิการ ถอดถอน
รัฐสภา ถาม ทั่วไป สภา
3. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
1. แนวคิดเกี่ยวกับอำนาจของรัฐสภาและการบริหารราชการแผ่นดิน
แบ่งเป็น 4 หัวข้อใหญ่ คือ แนวคิดเกี่ยวกับรัฐสภา แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารราชการ
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับรัฐสภา
เป็นการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับรัฐสภาในเรื่อง สภาเดียวและสภาคู่ การแต่งตั้งและการ
1.1.1 สภาเดียวและสภาคู่
โดยทั่วไปในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภา หรือประเทศมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบประธานาธิบดี นอกจากมีฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีแล้ว ยังมีรัฐสภาอีกด้วย รัฐสภานั้น แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ ระบบสภาเดียว และระบบสภาคู่ ระบบสภาเดียวนั้น มีเพียงสภาเดียวซึ่งอาจเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร หรือสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนระบบสภาคู่ มี 2 สภา ซึ่งเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
ประเทศไทยเคยใช้ระบบสภาเดียวมาก่อน เห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 ล้วนบัญญัติให้มีสภาเดียว สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ใช้ระบบสภาคู่ โดยบัญญัติให้รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
1.1.2 การแต่งตั้งและการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา
รัฐสภาไม่ว่าจะเป็นระบบสภาเดียวหรือสภาคู่ อาจมีสมาชิกรัฐสภามาจากการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่แต่ละประเทศจะเป็นผู้กำหนด สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ซึ่งใช้ระบบสภาคู่ ได้บัญญัติให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาล้วนมาจากการเลือกตั้ง ก่อนหน้านั้น เช่น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2534) ได้บัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้ง
1.1.3 จำนวนและวาระการดำรงตำแหน่ง
จำนวนและวาระการดำรงตำแหน่งอาจแตกต่างกันได้ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2534) ไม่ได้กำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งไว้อย่างชัดเจนว่ามีจำนวนกี่คน ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส่วนสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งได้กำหนดให้มีจำนวน 2 ใน 3 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ได้กำหนดจำนวนสมาชิกรัฐสภาไว้อย่างชัดเจน โดยกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน แบ่งเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแข่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน ส่วนวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งจำนวน 200 คน
ในส่วนของวาระการดำรงตำแหน่ง ส่วนใหญ่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระการดำรงตำแหน่งน้อยกว่าสมาชิกวุฒิสภา เห็นตัวอย่างในอดีตได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2517) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2521) กำหนดไว้ 4 ปี ขณะที่สมาชิกวุฒิสภาล้วนกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งไว้ 6 ปี ยกเว้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2534) กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปีเท่ากัน
สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ได้กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ในขณะที่สมาชิกวุฒิสภามีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี แต่ห้ามดำรงตำแหน่ง 2 วาระติดต่อกัน
1.2 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
เนื่องจากการบริหารราชการแผ่นดินในระดับชาติอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี จึงควรศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีก่อน จากนั้นจึงศึกษาการบริหารราชการแผ่นดิน
1.2.1 คณะรัฐมนตรี เป็นการศึกษาเรื่อง จำนวนคณะรัฐมนตรี ที่มาของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ตามลำดับ
1) จำนวนคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญทุกฉบับล้วนมีบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะรัฐมนตรีไว้ด้วย เพราะคณะรัฐมนตรีเป็นฝ่ายบริหารที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พร้อมกันนั้น รัฐธรรมนูญจะกำหนดจำนวนคณะรัฐมนตรีไว้ด้วยเสมอตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2521) กำหนดให้มีนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 44 คน และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2534) กำหนดให้มีนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 48 คน สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กำหนดให้มีนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
2) ที่มาของนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า รัฐธรรมนูญจึงกำหนดที่มาของนายกรัฐมนตรีไว้ด้วยเสมอ โดยรัฐธรรมนูญอาจกำหนดให้นายก
รัฐมนตรีมาจากการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือมาจากเลือกตั้งหรือไม่ก็ได้ เห็นตัวอย่างได้จาก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2511) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2521) ไม่ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งได้ ในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2517) และที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2534) ได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก็สามารถดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรพร้อมกันไปด้วย สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ได้บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว จะต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เช่นนี้นับว่าแตกต่างจากรัฐธรรมนูญทุกฉบับในอดีต
นายกรัฐมนตรีอาจมาจากการเลือกตั้งทางตรงหรือทางอ้อมได้ ขึ้นอยู่กับระบบการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภา จึงมีส่วนสำคัญทำให้นายกรัฐมนตรีทุกคนที่มาจากการเลือกตั้งล้วนมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม กล่าวคือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร จากนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็จะไปเลือกสมาชิกด้วยกันเป็นนายกรัฐมนตรี เห็นได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2521) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2534) แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน โดยนายกรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ต้องพ้นจากสมาชิกภาพแล้ว เช่นนี้ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมและจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในเวลาเดียวกันไม่ได้ โดยนายกรัฐมนตรีอาจมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ หรือมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งก็ได้
3) คณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540)
3.1) โครงสร้าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 1 คนและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี
3.2) คุณสมบัติ การศึกษาคุณสมบัติในที่นี้ ครอบคลุม คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
3.2.1) นายกรัฐมนตรี ต้องแต่งตั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่พ้นจากสมาชิกภาพแล้วในอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในเวลาเดียวกัน จึงบัญญัติให้ต้องพ้นจากสมาชิกภาพดังกล่าวเมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรก
การเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรรับรอง
มติของสภาผู้แทนราษฎรที่เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร การลงมติในกรณีเช่นว่านี้ให้กระทำโดยการลงคะแนนโดยเปิดเผย
ในกรณีที่พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรกแล้ว ไม่ปรากฎว่ามีบุคคลใดได้รับคะแนนเสียงเห็นชอบให้ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งบุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นนายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันมิได้ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีให้พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันถัดจากวันที่ครบ 30 วันนับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
3.2.2) รัฐมนตรี ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปีบริบูรณ์
3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4) ไม่มีลักษณะต้องห้ามรัฐธรรมนูญ เช่น ติดยาเสพติด เป็นบุคคลล้มละลาย และต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
5) ไม่เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีก่อนได้รับแต่งตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
6) ไม่เป็นสมาชิกวุฒิสภา หรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาซึ่งสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกิน 1 ปีนับถึงวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่สมาชิกภาพสิ้นสุดลงเมื่อถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา
นอกจากข้างต้นนี้แล้ว
1) รัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาในขณะเดียวกันไม่ได้ อีกทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันถัดจากวันที่ครบ 30 วันนับแต่วันที่มีพระบรามราชโองการแต่งตั้ง
2) รัฐมนตรีจะเป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำนอกจากข้าราชการการเมืองมิได้
3) รัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งหรือกระทำการใดตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้มิได้ เช่น ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หรือรับสัมปทานจากรัฐ เป็นต้น เว้นแต่ตำแหน่งที่ต้องดำรงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และจะดำรงตำแหน่งใดในห้าง
4) รัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไป ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้ใดประสงค์จะได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวต่อไป ให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง และให้รัฐมนตรีผู้นั้นโอนหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ และยังห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว
3.3) การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ในการศึกษาการสิ้นสุดสมาชิกภาพครั้งนี้ แบ่งเป็น การสิ้นสุดสมาชิกภาพของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี แต่เนื่องจากนายกรัฐมนตรีนั้น ถือว่าเป็นรัฐมนตรีคนหนึ่ง โดยนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าของรัฐมนตรี ดังเห็นได้จากถ้อยคำว่า "รัฐมนตรีอื่นอีก" และ "ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี" ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และ "รัฐมนตรีอื่นอีก" ไม่เกิน 35 คน และยังบัญญัติให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเป็นต้น ดังนั้น ในการศึกษาการสิ้นสุดสมาชิกภาพของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี จึงนำเสนอควบคู่กันไป โดยไม่แยกการนำเสนอ กล่าวคือ
รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
1) ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง
2) อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
3) คณะรัฐมนตรีลาออก
คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่
นอกจากนี้แล้ว ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เช่น
1) ตาย
2) ลาออก
3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก
5) สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ
6) กระทำการอันต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เช่น เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
7) พระมหากษัตรยิ์ทรงมีพระบรมราชโองการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีถวายคำแนะนำ
8) วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง
3.4) อำนาจหน้าที่ รัฐธรรมนูญบัญญัติให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน และในการบริหารราชการแผ่นดินรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้ และจะต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ดังนั้น อำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีในการบริหารราชการ
3.4.1) ออกพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรี แต่ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
3.4.2) ออกพระราชกำหนด การตราพระราชกำหนดให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้
3.4.3) แถลงนโยบายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ
3.4.4) ขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกรัฐสภา ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาได้ ในกรณีเช่นว่านี้รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายไม่ได้
3.4.5) ออกเสียงประชามติ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้
3.4.6) แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติม
1.2.2 การบริหารราชการแผ่นดิน มีแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินอย่างน้อย 5 แนวคิด ตามลำดับ อันได้แก่
1) แนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2) แนวคิดอำนาจอธิปไตย
3) แนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
4) แนวคิดการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
5) แนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินโดยองค์กรทางการเมือง
1) แนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยทั่วไปในประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบบการเมืองการปกครองและการบริหารของรัฐหรือประเทศจะสอดคล้องกับระบบใดระบบหนึ่งใน 3 ระบบนี้
1.1) ระบบประธานาธิบดี (presidential system) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารด้วย เช่น สหรัฐอเมริกา เมื่อประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน การบริหารราชการ
1.2) ระบบกึ่งประธานาธิบดีหรือระบบผสม (multi-presidential system) มีประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีซึ่งมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร เช่น ประเทศฝรั่งเศส
1.3) ระบบรัฐสภา (parliamentary system) ในบางประเทศมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศมาจากการสืบราชสันตติวงศ์ และมีนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร เช่น ญี่ปุ่น และไทย ระบบนี้ถือว่า นายกรัฐมนตรีมาจากสภาเนื่องจากต้องได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภามาก่อนที่จะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงต้องรับผิดชอบต่อสภา ต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ต้องรายงานการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา และอาจถูกสภาควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น ตั้งกระทู้ถาม ถูก
กรรมาธิการสภาตรวจสอบ และถูกเปิดอภิปรายทั่วไป
ประเทศไทยได้ยึดถือการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภา
2) แนวคิดอำนาจอธิปไตย ในทุกประเทศที่เป็นอิสระจะมีอำนาจอธิปไตยของตนเองอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตยนี้เป็นหนึ่งเดียวและไม่อาจแบ่งแยกอำนาจนี้ได้ แต่แบ่งการใช้อำนาจอธิปไตยหรือแบ่งองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยได้ โดยอาจแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ มีอำนาจหน้าที่หลักในการออกกฎหมาย ฝ่ายบริหาร มีอำนาจหน้าที่หลักในการบริหารประเทศและบริหารราชการแผ่นดิน และฝ่ายตุลาการ มีอำนาจหน้าที่หลักในการพิจารณาพิพากษาคดี ทั้งนี้ แต่ละฝ่ายมีความเป็นอิสระในการใช้อำนาจของตนเอง อีกทั้งอำนาจของแต่ละฝ่ายยังควบคุมและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) มีบทบัญญัติที่สนับสนุนแนวคิดอำนาจอธิปไตยนี้ โดยบัญญัติว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" เช่นนี้ เป็นลักษณะของการแบ่งองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยของไทยออกเป็น 3 ฝ่าย ตามหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจ (separation of power) โดยให้แต่ละฝ่ายเป็นอิสระต่อกัน มีความสัมพันธ์กัน และสามารถควบคุมและถ่วงดุลซึ่งกันและกันได้ เพื่อมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดผลเสียหายแก่ประเทศได้ ตัวอย่างเช่น ฝ่ายนิติบัญญัติหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจตั้งกระทู้ถาม และเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหารหรือนายกรัฐมนตรีรวมทั้งรัฐมนตรีได้ ในเวลาเดียวกัน ฝ่ายนิติบัญญัติก็ถูกฝ่ายบริหารถ่วงดุลเช่นกัน เช่น ฝ่ายบริหารเป็นผู้มีอำนาจในการ
ภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ที่ใช้อำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตย
ตั้งกระทู้ถาม, อภิปรายไม่ไว้วางใจ
ฝ่ายบริหาร ยุบสภา ฝ่ายนิติบัญญัติ
(กำหนดโยบาย) (ออกกฎหมาย)อภิปรายในสภา,
จัดสรรงบประมาณ ออกกฎหมาย,เลือก,ถอดถอน
ให้หน่วยงาน พิจารณางบประมาณ
พิจารณาพิพากษา ฝ่ายตุลาการ พิจารณาพิพากษา
ไม่รับการกระทำที่ (พิจารณาพิพากษา ไม่รับการกระทำที่
ฝ่าฝืนกฎหมายของ และใช้กฎหมายลง ฝ่าฝืนกฎหมายของ
ฝ่ายบริหาร โทษผู้ฝ่าฝืนในคดี ฝ่ายนิติบัญญัติ
ทั่วไปและคดีเกี่ยว
กับรัฐธรรมนูญ)
ภาพที่ 3 ภาพรวมโครงสร้างอำนาจอธิปไตยของไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พระมหากษัตริย์แต่งตั้ง
ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ
นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา ประธานศาลสูงสุดV
คณะรัฐมนตรี สภาผู้แทน วุฒิสภา ศาลสูงสุด
(รัฐสภา) ศาลอุทธรณ์V V
ราชการแผ่นดิน ศาลชั้นต้น
มาจากการเลือกตั้ง
โดยตรงของประชาชน
V เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุด
V V
ยังไม่มีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์
ส่วนข้อความในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ว่า "อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย" นั้น หมายความว่า อำนาจอธิปไตยซึ่งครอบคลุมทั้งอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ เป็นของปวงชนชาวไทยหรือประชาชนไทย โดยประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยไม่เพียงผ่านตัวแทนและองค์กรต่าง ๆ หรือมอบอำนาจให้องค์กรต่าง ๆ ทั้ง 3 ฝ่ายเท่านั้น แต่ประชาชนยังใช้อำนาจอธิปไตยได้ด้วยตนเองหรือประชาชนยังมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตยได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย เช่น การเลือกตั้ง การริเริ่ม การถอดถอน การออกเสียงประชามติ การมีส่วนร่วมในการคิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือปฏิบัติงานกับองค์กรต่าง ๆ ตลอดจนร่วมรับรู้ ร่วมควบคุมและตรวจสอบการบริหารงานและการใช้อำนาจอธิปไตยของหน่วยงานราชการทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ข้อความที่ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่จัดแบ่งองค์กรที่ใช้อำนาจออกเป็น 3 ฝ่ายเช่นนี้ มีส่วนสำคัญทำให้การบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีไม่เพียงถูกควบคุมและถ่วงดุล โดยรัฐสภา และศาล เท่านั้น ยังถูกควบคุมและถ่วงดุลโดยประชาชนอีกด้วย เนื่องจากประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ เพื่อมิให้ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจบริหารราชการแผ่นดินสร้างความเสียหาย หรือเกินขอบเขตของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่มอบหมายให้
3) แนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
3.1) พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน" (มาตรา 201)
3.2) ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะดำเนินการใดเพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการรวมทั้งปัญหาและอุปสรรค เสนอต่อรัฐสภาปีละ 1 ครั้ง (มาตรา 88)
3.3) สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 182)
3.4) สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าทีมีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติ (มาตรา 187)
3.5) ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้ และต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี (มาตรา 212)
3.6) อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 3)
การที่รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินดังตัวอย่างข้างต้นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญได้ให้การรองรับการบริหารราชการแผ่นดินไทยว่ามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับองค์กรต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา ที่มีการควบคุมและถ่วงดุลซึ่งกันและกันดังกล่าวแล้ว
4) แนวคิดการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การจัดระเบียบบริหารราชการของประเทศต่าง ๆ มีปรากฏให้เห็นทั้งที่แบ่งการบริหารราชการแผ่นดินออกเป็น 2 ส่วน หรือ 3 ส่วน ประเทศที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แบ่งเป็น ราชการบริหารส่วนกลางกับราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมนี ส่วนสหรัฐอเมริกาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือราชการบริหารส่วนกลาง คือรัฐบาลกลาง (federal government) และราชการบริหารของรัฐบาลมลรัฐ (stategovernment) โดยถือว่ารัฐบาลในท้องถิ่น (local government) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลมลรัฐ สำหรับประเทศที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ แบ่งเป็น ราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ที่เด่นชัดมี 2 ประเทศ คือ ไทย และฝรั่งเศส ประเทศอื่น เช่น ตุรกี แม้มีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการแต่งตั้งของรัฐบาลในส่วนกลางหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ก็ยังไม่อาจ
การจัดแบ่งระเบียบบริหารราชการออกเป็น 2 หรือ 3 ส่วนนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล สภาพของประเทศ ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมด้านการเมืองการปกครองและการบริหารของประเทศนั้น ๆ สำหรับแนวคิดหรือเหตุผลที่จัดแบ่งเป็น 2 ส่วน อาจสืบเนื่องมาจากราชการส่วนภูมิภาคแท้ที่จริงก็คือราชการบริหารส่วนกลางนั่นเอง เพราะราชการบริหารส่วนกลางเป็นผู้ควบคุม กำกับดูแลราชการบริหารส่วนภูมิภาคโดยตรง ผู้บังคับบัญชาในส่วนกลางได้มอบหรือแบ่งอำนาจบางส่วนให้แก่ข้าราชการประจำของราชการบริหารส่วนกลาง (ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ) ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการในเขตพื้นที่ของราชการบริหารส่วนภูมิภาค (จังหวัดและอำเภอ) โดยปฏิบัติหน้าที่ในนามหรือเป็นตัวแทนราชการบริหารส่วนกลาง เหตุผลสำคัญที่ต้องทำเช่นนี้เพราะมีพื้นที่ของประเทศที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงหรือส่วนกลางทำให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้รับบริการหรือความช่วยเหลือจากรัฐ จึงจำเป็นต้องมีตัวแทนของราชการบริหารส่วนกลางไปปฏิบัติงานแทน
ในกรณีของไทยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
แนวคิดการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนนี้ แสดงให้เห็นว่า การบริหารราชการแผ่นดินของไทยโดยหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีขอบเขตคลุมทั้งราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยทั้ง 3 ส่วนนี้ล้วนอยู่ในการควบคุมดูแลของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี
5) แนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินโดยองค์กรทางการเมือง องค์กรทางการเมือง หมายถึง องค์กรที่มาจากการเลือกตั้งและมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเมือง เช่น คณะรัฐมนตรี และรัฐสภา กล่าวได้ว่า การบริหารราชการแผ่นดินเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร โดยฝ่ายบริหารนั้นอาจแบ่งเป็นฝ่ายการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และฝ่ายประจำ เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี อีกทั้งฝ่ายบริหารอาจอยู่ในระดับชาติ เช่น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี หรืออยู่ในระดับท้องถิ่น เช่น นายกและรองนายกเทศมนตรี ก็ได้ แต่ในที่นี้หมายถึง "การบริหารราชการแผ่นดิน" ขององค์กรทางการเมืองในระดับชาติ คือ คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินที่ครอบคลุมไปถึงการกำหนดนโยบายเพื่อให้ข้าราชการนำไปปฏิบัติด้วย โดยไม่ครอบคลุมไปถึง"การใช้อำนาจบริหาร" ของฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายตุลาการในการบริหารงานภายใน และไม่ครอบคลุมถึง "การใช้อำนาจบริหาร" ของหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
การบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีนี้ จึงเป็นความหมายที่พิจารณาหรือจัดแบ่งตาม "องค์กรทางการเมือง" แต่ถ้าพิจารณาหรือจัดแบ่งตาม "การปฏิบัติหน้าที่" แล้ว ฝ่ายบริหาร หมายความถึง หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน การอำนวยความสะดวกและการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ตามกฎหมาย นโยบาย และคำสั่งของคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา
แนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินโดยองค์กรทางการเมืองดังกล่าวนี้ ช่วยแสดงให้เห็นหน่วยงานและขอบเขตที่ศึกษาอย่างชัดเจนว่า หมายถึงหน่วยงานใด มีลักษณะสำคัญอย่างไร และมีกฎหมายใดรองรับ อันจะมีส่วนทำให้การศึกษาตรงประเด็นและรัดกุมมากขึ้น โปรดดูภาพที่ 4
ภาพที่ 4 แนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดิน
1. แนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยตาม
ระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. แนวคิดอำนาจอธิปไตย
3. แนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินใน การบริหาร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ราชการแผ่นดิน
4. แนวคิดการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
5. แนวคิดการบริหารราชการแผ่นดินโดย
องค์กรทางการเมือง
สรุป การบริหารราชการแผ่นดินของไทย หมายถึง การบริหารงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น การบริหารราชการ
แผ่นดินในระดับชาติอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีความสัมพันธ์กับฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา สำหรับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินมีหลายแนวคิด เช่น แนวคิดการ
ปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แนวคิดอำนาจอธิปไตย และแนวคิดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540)
1.2 สภาผู้แทนราษฎร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) มีบทบัญญัติเกี่ยวกับโครงสร้าง คุณสมบัติวาระการดำรงตำแหน่ง การสิ้นสุดสมาชิกภาพ และอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไว้ดังนี้
1.2.1 โครงสร้าง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน 500 คน ในจำนวนนี้ แบ่งเป็น ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คนนี้ ล้วนมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน อีกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน
1.2.2 คุณสมบัติ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา มีดังนี้
1) มีสัญชาติไทย โดยการเกิด
2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เว้นแต่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา
4) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน
5) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด
5.1) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
5.2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
5.3) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
5.4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
5.5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกัน ไม่น้อยกว่า 2 ปี
1.2.3 สมาชิกภาพและการสิ้นสุดสมาชิกภาพ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิกภาพ ดังนี้
1) สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรกำหนดไว้คราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง จะต้องกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วัน
2) กรณีมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน
3) กรณีเป็นตำแหน่งว่างของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในบัญชีรายชื่อพรรค
4) กรณีเป็นตำแหน่งว่างของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้มีการเลือกตั้งขึ้นแทนภายใน 45 วัน เว้นแต่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะเหลือไม่ถึง 180 วัน
5) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เข้ามาแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่
สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อ
1) ถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร
2) ตาย
3) ลาออก
4) ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
5) มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
6) กระทำการอันต้องห้าม
7) ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี โดยให้มีผลในวันถัดจากวันที่ครบ 30 วัน นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
8) ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกหรือพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรค
9) ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง และไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายใน 60 วัน
10) วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง หรือรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้พ้นจากสมาชิกภาพ
11) ขาดประชุมเกินจำนวน 1 ใน 4 ของจำนวนวันประชุมโดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร
12) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
1.2.4 อำนาจหน้าที่
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไว้ โดยสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจหน้าที่หลัก คือ (1) การตรากฎหมาย ซึ่งรวมถึงการให้ความเห็นชอบพระราชกำหนด และ (2) การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา การตั้งกระทู้ถาม การตั้งกรรมาธิการ การเปิดอภิปรายทั่วไป การถอดถอน และการให้ความเห็นชอบ ดังจะได้สรุปเฉพาะอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ตามลำดับ ดังนี้
1) การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา เริ่มตั้งแต่เมื่อจะเข้าปฏิบัติหน้าที่คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาก่อน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กำหนดให้มีการแถลงนโยบายโดยไม่มีการลงมติความไว้วางใจ และแม้ไม่มีการลงมติแต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรวมทั้งสมาชิกวุฒิสภาก็มีสิทธิซักถามหรือแสดงความคิดเห็นได้
2) การตั้งกระทู้ถาม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิตั้งกระทู้ถาม โดยเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือยื่นต่อประธานสภา นอกจากนี้ ยังมีสิทธิเสนอกระทู้สดอีกด้วย
3) การตั้งคณะกรรมาธิการสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจตั้งกรรมาธิการสามัญ และกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา และเพื่อเป็นการตรวจสอบสอดส่องการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร
4) การเปิดอภิปรายทั่วไป สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเปิดอภิปรายทั่วไปได้ 3 กรณี คือ การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
5) การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง
6) การให้ความเห็นชอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนกำหนด การประกาศสงคราม การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศบางประเภท เป็นต้น
นอกจากข้างต้นแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ยังบัญญัติอำนาจหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎรไว้ด้วย โดยกำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภา (ส่วนประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา) และในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานสภาได้ ให้ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน
ประธานรัฐสภานั้นมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และดำเนินกิจการของรัฐสภา ในกรณีประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับ โดยประธานรัฐสภาและผู้ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภาต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
1.4 วุฒิสภา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) มีบทบัญญัติเกี่ยวกับโครงสร้าง คุณสมบัติวาระการดำรงตำแหน่ง การสิ้นสุดสมาชิกภาพ และอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา รวมทั้งสมาชิกวุฒิสภา ไว้ดังนี้
1.4.1 โครงสร้าง
สมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 200 คน ในจำนวนนี้ แบ่งเป็น ตำแหน่งประธานวุฒิสภารองประธานวุฒิสภา และสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาจำนวน 200 คนนี้ ล้วนมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
1.4.2 คุณสมบัติ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา มีดังนี้
1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
4) มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
4.1) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
4.2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
4.3) เป็นบุคคลที่เกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
4.4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
4.5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
สำหรับลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา มีดังนี้
1) เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง
2) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วยังไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
3) เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ในอายุของวุฒิสภาคราวก่อนการสมัครรับเลือกตั้ง
4) เป็นบุคคลห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
1.4.3 สมาชิกภาพและการสิ้นสุดสมาชิกภาพ
สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภากำหนดไว้คราวละ 6 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง เมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาใหม่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่อายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง และวันเลือกตั้งต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ และเมื่ออายุของวุฒิสภาสิ้นสุดลง ให้สมาชิกวุฒิสภาทำหน้าที่ต่อไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจนกว่าสมาชิกวุฒิสภาที่ได้รับเลือกตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลง เมื่อ
1) ถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา
2) ตาย
3) ลาออก
4) ขาดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
5) มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
6) ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีหรือข้าราชการการเมือง
7) กระทำการอันต้องห้าม
8) วุฒิสภามีมติถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยตามให้พ้นจากสมาชิกภาพ ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติหรือศาล
9) ขาดประชุมเกินจำนวน 1 ใน 4 ของจำนวนวันประชุมในสมัยประชุมที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานวุฒิสภา
10) ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
1.4.4 อำนาจหน้าที่
อำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา แบ่งเป็น 6 ด้าน
1) ด้านนิติบัญญัติ
2) การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
3) การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของแผ่นดิน
4) ให้คำแนะนำ พิจารณาเลือก ให้ความเห็นชอบบุคคลในองค์กรตรวจสอบ
5) ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
6) อำนาจหน้าที่อื่นๆ
1) ด้านนิติบัญญัติ อำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติของสมาชิกวุฒิสภา มีดังนี้
1.1) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
1.2) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
1.3) การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบด้วยมีคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
1.4) การอนุมัติพระราชกำหนด
1.5) การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
2) การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน หมายถึง การควบคุม ดูแล หรือตรวจสอบการปฏิบัติงานของคณะรัฐมนตรี หรือฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามคำแถลงนโยบายที่ให้ไว้ต่อรัฐสภา รวมทั้งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน จึงเป็นอำนาจหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ในระบบรัฐสภา ผู้ที่มีอำนาจควบคุมได้แก่สภาซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ในบางส่วนรัฐธรรมนูญกำหนดให้เฉพาะแต่สภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นที่มีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหาร แต่บางสมัยก็กำหนดให้ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ได้กำหนดให้ทั้งสองสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินด้วย
เฉพาะในส่วนของวุฒิสภา บทบัญญัติรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยวิธีการดังนี้ คือ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา และการตั้งคณะกรรมาธิการ
2.1) การตั้งกระทู้ถาม สมาชิกวุฒิสภามีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเหตุผลเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน โดยการตอบกระทู้ถามที่สมาชิกวุฒิสภาตั้งถาม อาจทำได้ 2 กรณีคือ ตอบในราชกิจจานุเบกษา และตอบในที่ประชุมวุฒิสภา
2.2) การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินได้โดยไม่มีการลงมติ และการขอเปิดอภิปรายทั่วไปนี้จะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง ๆ
2.3) การตั้งคณะกรรมาธิการ วุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อสอบสวน สอดส่องการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารได้ ซึ่งคณะกรรมาธิการจะกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วเสนอรายงานต่อสภา ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการนั้น มีอำนาจเรียกเอกสารจากบุคคลใด ๆ หรือเรียกบุคคลใด ๆ มาแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นได้
3) การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของแผ่นดิน
3.1) ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
3.2) รับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ
3.3) ให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม
3.4) ให้ความเห็นชอบในการทำหนังสือสัญญาสำคัญกับนานาประเทศ
3.1) ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือด้วยเหตุอื่นใด ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศในพระปรมาภิไธย
ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้
3.2) รับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติ ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้วให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ แล้วให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วจึงประกาศให้ประชาชนทราบต่อไป
ในกรณีที่ราชบัลลังก์ว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้ง
3.3) ให้ความเห็นชอบในการประกาศสงคราม พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการประกาศสงครามเมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาแล้ว ทั้งนี้ มติให้ความเห็นชอบของรัฐสภาต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา
ในระหว่างที่อายุสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบและการลงมติ ต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
3.4) ให้ความเห็นชอบในหนังสือสัญญาสำคัญ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึกและสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาโดยที่ประชุมร่วมกัน
4) ให้คำแนะนำ พิจารณาเลือก ให้ความเห็นชอบบุคคลในองค์กรตรวจสอบ อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาในส่วนนี้ ได้แก่
4.1) วุฒิสภาถวายคำแนะนำ เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ หลังจากที่ได้ดำเนินการตามกระบวนการคัดเลือกมาแล้ว องค์กรเหล่านั้นประกอบด้วย
4.1.1) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (มีประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่นอีก 4 คน)
4.1.2) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
4.1.3) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (มีประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่นอีก 10 คน)
4.1.4) ศาลรัฐธรรมนูญ (มีประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 14 คน)
4.1.5) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (มีประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่นอีก 8 คน)
4.1.6) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (มีประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่นอีก 9 คน)
4.1.7) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (เป็นผู้บังคับบัญชาในหน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน)
4.2) วุฒิสภาพิจารณาเลือก โดยเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าเป็นคณะกรรมการตุลาการของศาลประเภทต่าง ๆ ดังนี้
4.2.1) กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (มีจำนวน 2 คน)
4.2.2) กรรมการตุลาการศาลปกครอง (มีจำนวน 2 คน)
4.3 วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ อันเป็นกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้ได้บุคคลผู้จะปฏิบัติหน้าที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนที่จะนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป เช่น
4.3.1) การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการแผ่นดินเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุดจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของทั้งหมดซึ่งได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
4.3.2) การแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
4.3.3) การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติด้วย
5) ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง มีดังนี้
5.1) การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือข้าราชการระดับสูงออกจากตำแหน่ง อันได้แก่
5.1.1) นายกรัฐมนตรี
5.1.2) รัฐมนตรี
5.1.3) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
5.1.4) สมาชิกวุฒิสภา
5.1.5) ประธานศาลฎีกา
5.1.6) ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
5.1.7) ประธานศาลปกครองสูงสุด
5.1.8) อัยการสูงสุด
5.1.9) กรรมการการเลือกตั้ง
5.1.10) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
5.1.11) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
5.1.12) กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
5.1.13) ผู้พิพากษาหรือตุลาการ
5.1.14) พนักงานอัยการ หรือ
5.1.15) ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หากบุคคลนั้นมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติส่อไปทางทุจริตต่อหน้าที่ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
5.2) วุฒิสภาอาจมีมติให้กรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติพ้นจากตำแหน่งได้ เมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
5.2.1) กระทำการขาดความเที่ยงธรรม
5.2.2) จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
5.2.3) มีพฤติการณ์ที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง
6) อำนาจหน้าที่อื่น ๆ มีดังนี้
6.1) ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
6.2) ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่ในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
6.3) ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อรับทราบการแก้ไขกฎมณเฑียรบาลในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
6.4) ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อรับทราบหรือให้ความเห็นชอบในการสืบราชสมบัติในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ
6.5) ทำหน้าที่รัฐสภาเพื่อรับทราบการแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินและรายงานผลการดำเนินงานรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคปีละหนึ่งครั้ง
6.6) ให้ความเห็นชอบร่วมกันกับสภาผู้แทนราษฎรในการปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนด 120 วัน
6.7) ขอเปิดประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ โดยเข้าชื่อร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
6.8) ตราข้อบังคับการประชุมของวุฒิสภาและรัฐสภา
6.9) ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการบันทึกการออกเสียงลงคะแนนของสมาชิกแต่ละคนและเปิดเผยบันทึกดังกล่าว
6.10) ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรอาจให้คำปรึกษาแก่นายกรัฐมนตรีในการดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติในกิจการใด ที่อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศหรือประชาชน
6.11) ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
6.12) ร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากรรมการการเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือกระทำการอันต้องห้าม
6.13) ร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดลงหรือไม่
6.14) ดำเนินการให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพระราชกำหนดนั้นมิได้เป็นไปตามเงื่อนไขในการตราพระราชกำหนด
6.15) เสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยว่ามีการเสนอการแปรญัตติหรือการกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาหรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี
6.16) เสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
6.17) รับทราบรายงานของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
6.18) รับทราบรายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
6.19) รับทราบรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
6.20) รับทราบรายงานและเสนอความเห็นของคณะกรรมการเลือกตั้ง คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นเมื่อครบ 5 ปีแล้วนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
2. กระบวนการนิติบัญญัติกับการบริหารราชการไทย
ครอบคลุม 3 หัวข้อ แนวคิดทั่วไปในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ และการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
2.1 แนวคิดทั่วไปในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
โดยปกติการเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อออกเป็นพระราชบัญญัติมาเพื่อใช้บังคับกับประชาชนภายในประเทศ เป็นอำนาจหน้าที่หลักประการหนึ่งของรัฐสภา ขณะเดียวกัน ฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีก็มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติได้ด้วย อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่ง
2.1.1 คณะรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอได้ก็แต่โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรี
2.1.2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ร่างพระราชบัญญัติที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเสนอ ต้องให้พรรคการเมืองที่ตนสังกัดมีมติให้เสนอได้ และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน หมายความถึง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้
1) การตั้งขึ้น ยกเลิก ลด เปลี่ยนแปลง แก้ไข ผ่อนหรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร
2) การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน
3) การกู้เงิน การค้ำประกัน หรือการใช้เงินกู้
4) เงินตรา
ในกรณีเป็นที่สงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะเป็นผู้วินิจฉัย
2.1.3 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติได้ แต่จะเสนอได้เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และเรื่องนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โปรดดูภาพที่ 5
ภาพที่ 5 การเสนอร่างพระราชบัญญัติ 3 ทาง
ร่างพระราชบัญญัติ สภา
เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิและ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ เสรีภาพของชนชาวไทยและ
น้อยกว่า 50,000 คน
เรื่องนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
สรุป รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ได้กำหนดให้การเสนอร่างพระราชบัญญัติกระทำได้ 3 ทาง คือ คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 50,000 คน
2.2 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหมายความรวมถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญด้วย โดยแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
2.2.1 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
2.2.2 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
2.2.3 กรณีวุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
2.2.4 กรณีวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
2.2.5 กรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
2.2.6 กรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบ
(โปรดดูเพิ่มเติม http://legislation.parliament.go.th/slide/des-7.htm)
2.2.1 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎร
หลังจากมีการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งกระทำได้ 3 ทางดังกล่าวข้างต้น มาสู่สภาผู้แทนราษฎรแล้ว ต่อจากนี้ไป เป็นการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ซึ่งแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็น 3 วาระ ตามลำดับ คือ
วาระที่ 1 สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาและลงมติว่าจะรับหลักการหรือไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ถ้าสภาผู้แทนราษฎรไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไป แต่หากสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการ สภาก็จะพิจารณาในลำดับต่อไป
วาระที่ 2 เป็นการพิจารณาในรายละเอียด ปกติจะพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎรตั้งสมาชิกท่านใดเห็นว่าข้อความหรือถ้อยคำใดในร่างพระราชบัญญัตินั้นควรแก้ไขเพิ่มเติมก็ให้เสนอคำแปรญัตติต่อประธานคณะกรรมาธิการ เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วก็จะเสนอสภาพิจารณาต่อไป โดยเริ่มตั้งแต่ชื่อร่าง คำปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา จะมีการอภิปรายได้เฉพาะที่มีการแก้ไข หรือที่มีการสงวนคำแปรญัตติหรือสงวนความเห็นไว้เท่านั้น
วาระที่ 3 เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว สภาจะลงมติในวาระที่ 3 ว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ โดยไม่มีการอภิปราย หากสภาไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้นก็ตกไป แต่หากสภาเห็นชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎรก็จะเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อไป
หากร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎร มีมติไม่เห็นชอบเป็นร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีระบุไว้ในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และคะแนนที่ไม่ให้ความเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อมีมติอีกครั้ง หากรัฐสภามีมติเห็นชอบให้ตั้งบุคคลที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกของแต่ละสภามีจำนวนเท่ากันตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอ ประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น และให้คณะกรรมาธิการร่วมกันของรัฐสภารายงานและเสนอ
ผลการพิจารณาต่อรัฐสภา หากรัฐสภามีมติเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยต่อไป แต่ถ้ารัฐสภามีมติไม่ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของสภาผู้แทนราษฎรนี้ รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดต่อไปเป็นพิเศษ
ในกรณีของร่างพระราชบัญญัติใดที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอ และในขั้นรับหลักการไม่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน แต่สภาผู้แทนราษฎรได้แก้ไขเพิ่มเติมและประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมนั้นทำให้มีลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรสั่งระงับการพิจารณาไว้ก่อน และภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีกรณี ให้ส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปให้ที่ประชุมร่วมกันของประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะวินิจฉัย หากวินิจฉัยว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งร่างพระราชบัญญัตินั้น ให้นายกรัฐมนตรีรับรอง ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่ให้คำรับรอง ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการแก้ไขเพื่อมิให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
2.2.2 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติของวุฒิสภา
วุฒิสภาจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเป็น 3 วาระ เช่นเดียวกัน
วาระที่ 1 วุฒิสภาจะพิจารณาและลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยกับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัตินั้นหรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
วาระที่ 2 วุฒิสภาจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งหรือกรรมาธิการเต็มสภา ซึ่งมีขั้นตอนการพิจารณาการแปรญัตติเช่นเดียวกับการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
วาระที่ 3 ให้ที่ประชุมลงมติว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร หรือถ้าในการพิจารณาในวาระที่ 2 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติก็ให้ที่ประชุมลงมติว่าให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่แก้ไขเพิ่มเติม
2.2.3 กรณีวุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
ถ้าวุฒิสภาลงมติในวาระที่ 3 เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร โดยไม่มีการแก้ไขก็ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ โปรดดูภาพที่ 6
ภาพที่ 6 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกรณีวุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา
วาระที่ 1 ประกาศ
เห็นด้วย ราชกิจจานุเบกษา
กับหลักการ ใช้บังคับเป็นกฎหมาย
วาระที่ 2 พระมหากษัตริย์
- คณะกรรมาธิการพิจารณา ทรงลง
- สมาชิกเสนอคำแปรญัตติ พระปรมาภิไธย
- สภาพิจารณาเรียงมาตรา
วาระที่ 3 นายกรัฐมนตรี
ให้ความเห็นชอบ นำขึ้นทูลเกล้าฯ
2.2.4 กรณีวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
ถ้าวุฒิสภาลงมติในวาระที่ 1 หรือวาระที่ 3 ไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ก็ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร สภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วัน ได้ล่วงพ้นไปนับแต่วันที่วุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร แต่ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน สภาผู้แทนราษฎรอาจยกร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที และถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรแล้วให้ถือร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ให้นากยรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ โปรดดูภาพที่ 7 ภาพที่ 7 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกรณีวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
ประกาศ พระมหากษัตริย์
ในราชกิจจานุเบกษา ทรงลง
บังคับใช้เป็นกฎหมาย พระปรมาภิไธย
วุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วย นายกรัฐมนตรี
กับหลักการในวาระ 1 นำขึ้นทูลเกล้าฯ
ส่งพระราชบัญญัติคืน สภาผู้แทนราษฎร ยืนยันด้วยคะแนน
รอ 180 วัน ถ้าเป็นร่าง
ล่วงพ้นไป พระราชบัญญัติ
วุฒิสภาไม่เห็นชอบใน แล้ว ให้ยก เกี่ยวด้วยการ
วาระ 3 ขึ้น พิจารณา เงิน อาจยกขึ้น
ใหม่ได้ พิจารณาใหม่
ได้ทันที
2.2.5 กรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม
ถ้าวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติที่สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบแล้วก็ให้ส่งร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมนั้นไปยังสภาผู้แทนราษฎร ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม ก็ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ แต่ถ้าเป็นกรณีอื่นให้แต่ละสภาตั้งบุคคลที่เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ มีจำนวนเท่ากันตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนดประกอบเป็นคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้น แล้วให้คณะกรรมาธิการร่วมกันรายงานและเสนอร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้วต่อสภาทั้งสอง
ถ้าสภาทั้งสองต่างเห็นชอบด้วย แสดงว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว ก็ให้ยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้ก่อนสภาผู้แทนราษฎรจะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต่อเมื่อเวลา 180 วันได้ล่วงพ้นไป นับแต่วันที่สภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินสภาผู้แทนราษฎรอาจยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันร่างเดิม หรือร่างที่คณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรแล้วให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุกเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
2.2.6.กรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย
ร่างพระราชบัญญัติใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย และพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้ว มิได้พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภาลงมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้น
ภาพที่ 8 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วย
ประกาศใน
พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์ทรง ราชกิจจานุเบกษา
ลงพระปรมาภิไธย บังคับใช้เป็นกฎหมาย
พระราชทานคืนมายัง ถ้าพระมหากษัตริย์
รัฐสภา หรือ พ้น 90 วัน นำขึ้นทูลเกล้าฯ มิได้พระราชทาน
แล้ว ยังไม่พระราชทานคืน อีกครั้ง คืนภายใน 30 วัน
รัฐสภาปรึกษาร่าง
พระราชบัญญัตินั้นใหม่
หากยืนยันร่างเดิมด้วย นายกรัฐมนตรี
คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2
ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด
เท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
2.3 การประกาศใช้พระราชบัญญัติ
โดยหลักการแล้ว ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด จะใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้ จะต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาดังกล่าวไว้แล้วข้างต้น โดยขั้นตอนสุดท้าย คือ การประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา หมายถึง หนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำนักเลาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท (โปรดดูเว็บไซท์ http://203.113.86.230/mhead.htm (18 กรกฎาคม 2547))
ดังนั้น ราชกิจจานุเบกษาจึงเป็นหนังสือสำคัญของทางราชการที่ลงประกาศใช้กฎหมายและข่าวสำคัญต่าง ๆ ของชาติบ้านเมือง ซึ่งรวมทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาล
รัฐธรรมนูญด้วย ราชกิจจานุเบกษาจึงมีประโยชน์และคุณค่าสูงยิ่งในการศึกษาค้นคว้า เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและอ้างอิงได้ในทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ ภาษา วรรณคดี ขนบธรรมเนียมประเพณี และประวัติบุคคล เป็นต้น อาจจัดราชกิจจานุเบกษาอยู่ในหนังสือประเภทเดียวกับตำนานจดหมายเหตุหรือพงศาวดารของประเทศไทยในสมัยก่อน แต่ให้ข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่า
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายใน 20 นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นจากรัฐสภา เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับเป็นกฎหมายได้
แต่ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใด พระ
มหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมายังรัฐสภา หรือเมื่อพ้น 90 วัน แล้วมิได้
พระราชทานคืนมา รัฐสภาจะต้องปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระมหากษัตริย์มิได้ทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมาภายใน 30 วัน ให้นายกรัฐมนตรีนำพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายได้เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยังบัญญัติไว้ด้วยว่า บทกฎหมายที่ทรงลง
พระปรมาภิไธยแล้วหรือถือเสมือนหนึ่งว่าได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาโดยพลัน
การประกาศในราชกิจจานุเบกษามีมาช้านาน ในพระราชบัญญัติ มาตรา 2 จะมีข้อความกำหนดไว้ด้วยว่า ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่เมื่อใด ทำให้พอที่จะเห็นพัฒนาการที่น่าสนใจ เช่น
1) ในอดีต มีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เช่น
1.1) พระราชบัญญัติอนุญาตให้รัฐบาลให้กู้ยืมเงินแก่เทศบาลเมืองสองแห่งเพื่อทำการตัดและขยายถนน กับเพื่อลงทุนหาผลประโยชน์อื่น ๆ ให้แก่เทศบาล พุทธศักราช 2479 "มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป"
1.2) พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 "มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป"1.3) พระราชบัญญัติอนุญาตให้รัฐบาลจ่ายเงินไปพลางก่อน พุทธศักราช2489 "มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับได้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป"
2) นอกจากนี้ พระราชบัญญัติบางฉบับได้กำหนดไว้ว่า ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้
2.1) พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร พุทธศักราช
2481 "มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2482 เป็นต้นไป"
2.2) พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พุทธศักราช 2482 "มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม พุทธศักราช 2482 เป็นต้นไป"
2.3) พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 "มาตรา 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2484 เป็นต้นไป"
2.4) พระราชบัญญัติจัดสรรรายได้ประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2534 "มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นต้นไป"
2.5) พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 "มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 เป็นต้นไป"
3) ในยุคปัจจุบัน พระราชบัญญัติส่วนใหญ่กำหนดไว้ว่า พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เช่น
3.1) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 "มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป"
3.2) พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 "มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป"
3.3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ
4) ในยุคปัจจุบันเช่นกัน มีพระราชบัญญัติบางส่วนกำหนดไว้ว่า พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดกี่วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เช่น เมื่อพ้นกำหนดไว้ 60 วัน, 90 วัน, 120 วัน, หรือ 360 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
4.1) พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาใน
ศาลแขวง พ.ศ. 2499 "มาตรา 2
4.2) พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสุรา พ.ศ. 2527 "มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป"
4.3) พระราชบัญญัติจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 "มาตรา 2
4.4) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537
4.5) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 "มาตรา 2
4.6) พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.
4.7) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
4.8) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 "มาตรา 2
นอกจากข้างต้นแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติบางฉบับ ซึ่งมีจำนวนไม่มากได้กำหนดไว้ว่าพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เช่นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 "มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป"
จากตัวอย่างข้างต้นทำให้เห็นได้ว่า มีการกำหนดเงื่อนเวลาของการประกาศใช้พระราชบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ อย่างน้อย 4 แบบ ได้แก่
แบบที่ 1 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
แบบที่ 2 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่เดือนปีใดเป็นต้นไป
แบบที่ 3
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชแบบที่ 4
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดกี่วันนับแต่วันประกาศในสำหรับเหตุผลของการกำหนดเงื่อนเวลาไว้ ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องการเวลาสำหรับเตรียมความพร้อมก่อนที่กฎหมายนั้นจะประกาศใช้หรือเพื่อเตรียมการเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่จะประกาศใช้นั้น เช่น ต้องเตรียมการออกกฎกระทรวง ระเบียบ หรือจัดตั้งหน่วยงานรองรับ อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่กำหนดไว้ว่า พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ภาพที่ 9 การกำหนดเงื่อนเวลาของการประกาศใช้พระราชบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ จำนวน 4 แบบ
แบบที่ 1 ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้
ตั้งแต่วันประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
แบบที่ 4 พระราชบัญญัติ แบบที่ 2 ให้ใช้นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้น พระราชบัญญัติที่ประกาศ พระราชบัญญัติ
กำหนดกี่วันนับแต่วัน ในราชกิจจานุเบกษา นี้ตั้งแต่
ประกาศในราชกิจจานุ- บังคับใช้เป็นกฎหมาย วันเดือนปีใด
เบกษาเป็นต้นไป เป็นต้นไป
แบบที่ 3 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้
บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
3. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
ก่อนที่จะศึกษาการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรทำความ
ประการที่หนึ่ง แนวคิดหรือวิธีการควบคุมการใช้อำนาจบริหารหรือการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร โดยฝ่ายอื่นหรือองค์กรทั้งหลาย มีอย่างน้อย 10 วิธีการ ซึ่งบางวิธีการอาจคาบเกี่ยวกัน และอาจนำไปประยุกต์ใช้เดี่ยวหรือผสมผสานกันได้ ดังนี้
1) วิธีการควบคุมตามแนวคิดนิติรัฐ เป็นการควบคุมฝ่ายบริหารโดยมีและใช้กฎหมายเป็นหลักสำหรับคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของเอกชนหรือประชาชน
2) วิธีการแบ่งแยกอำนาจ เห็นตัวอย่างได้จากการแบ่งแยกอำนาจของศาลยุติธรรมซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดตามระบบศาลเดี่ยวที่ในอดีต อำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีรวมอยู่ที่ศาลยุติธรรมทั้งหมด ต่อมา ได้มีวิธีการแบ่งแยกอำนาจ โดยแบ่งเป็น ศาลยุติธรรมและศาลปกครอง ซึ่งเป็นแนวคิดตามระบบศาลคู่
3) วิธีการกระจายอำนาจ เป็นวิธีการควบคุมฝ่ายบริหารโดยอำนาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหารมิได้รวมศูนย์อยู่ที่ศาลของรัฐบาลกลางหรือในรัฐบาลระดับชาติ แต่ได้กระจายอำนาจให้กับศาลของรัฐบาลในระดับระดับมลรัฐด้วย
4) วิธีการควบคุมโดยใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษ เป็นวิธีการควบคุมที่สนับสนุนความชำนาญพิเศษ เช่น มีศาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านขึ้นเพื่อรับมือกับคดีพิเศษหรือคดีเฉพาะด้าน วิธีการนี้สนับสนุนให้มีผู้พิพากษาหรือตุลาการที่เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์พิเศษในลักษณะของผู้เชี่ยวชาญ (specialist) ซึ่งตรงกันข้ามกับวิธีการควบคุมที่ผู้พิพากษาเป็นผู้มีความรู้ในลักษณะทั่วไป (generalist) ของทุกคดี โดยไม่ลึกซึ้งในเรื่องใด
5) วิธีการควบคุมฝ่ายบริหาร วิธีนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองแบ่งออกได้เป็น 2 ฐานะ คือ ในฐานะผู้บริหารในระดับชาติหรือรัฐบาลที่ต้องถูกควบคุมตรวจสอบโดยองค์กรอื่น เช่น รัฐสภา และในฐานะฝ่ายปกครองในระดับอื่นนอกจากระดับชาติที่ต้องควบคุมบังคับบัญชาหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการบริหารราชการ เป็นต้นว่า การบังคับใช้กฎหมาย และการให้บริการแก่ประชาชน
6) วิธีการควบคุมฝ่ายบริหารโดยศาลยุติธรรม อาจเรียกว่าเป็นวิธีการรวมอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวงซึ่งรวมทั้งคดีปกครองไว้ที่ศาลยุติธรรม เป็นวิธีการที่แสดงให้เห็นว่าฝ่ายบริหารถูกควบคุมโดยฝ่ายตุลาการหรือศาลยุติธรรมซึ่งเป็นองค์กรภายนอก
7) วิธีการควบคุมฝ่ายบริหารโดยใช้ศาลปกครอง เป็นวิธีการที่ฝ่ายบริหารถูกควบคุมโดยศาลปกครองซึ่งเป็นองค์กรภายนอก โดยให้ความสำคัญกับการแยกกฎหมายเอกชนออกจากกฎหมายมหาชน และมีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีปกครองโดยใช้หลักกฎหมายมหาชน
8) วิธีการควบคุมฝ่ายบริหารโดยฝ่ายบริหารด้วยกัน เป็นวิธีการที่ฝ่ายบริหารถูกควบคุมโดยองค์กรภายในฝ่ายบริหารด้วยกันเอง วิธีการนี้ใช้บุคลากรภายในหน่วยงานเดียวกันหรือต่างหน่วยงานกันแต่สังกัดฝ่ายบริหารด้วยกันให้เป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองหรือคดีปกครอง
9) วิธีการควบคุมโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เห็นตัวอย่างได้จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถควบคุมการใช้อำนาจบริหารของคณะรัฐมนตรีได้
10) วิธีการควบคุมฝ่ายบริหารโดยรัฐสภา เป็นวิธีการควบคุมฝ่ายบริหารโดยฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นองค์กรภายนอกฝ่ายบริหาร เช่น รัฐสภาซึ่งแบ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คณะกรรมาธิการฝ่ายปกครองของรัฐสภา และผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ในที่นี้ได้นำแนวคิดหรือวิธีการควบคุมฝ่ายบริหารโดยรัฐสภามาศึกษา
ประการที่สอง การควบคุมฝ่ายบริหารโดยรัฐสภาเกิดจากแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภา และแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ประเทศไทยใช้การปกครองระบอบดังกล่าว ซึ่งแบ่งการใช้อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดของประเทศ ออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ เพื่อให้เป็นอิสระต่อกัน และสามารถ
ประการที่สาม ความจำเป็นในการควบคุมฝ่ายบริหารหรือการบริหารราชการแผ่นดินในระดับชาติ เป็นลักษณะสำคัญและสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามระบบรัฐสภา รวมทั้งแนวคิดอำนาจอธิปไตยดังกล่าว นอกจากนี้แล้ว ยังสอดคล้องหรือเกี่ยวข้องกับ
ประการที่สี่ แม้การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินถือว่าเป็นอำนาจหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาดังกล่าว แต่ขณะเดียวกัน ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ได้ด้วย อันเป็นลักษณะของตรวจสอบและการถ่วงดุลกันดังกล่าวแล้ว
ประการที่ห้า การควบคุม ในที่นี้หมายถึง การควบคุมการใช้อำนาจบริหารหรือการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายการเมืองระดับชาติ คือ คณะรัฐมนตรี โดยรัฐสภา เท่านั้น ไม่
1) การควบคุมการใช้อำนาจบริหารหรือการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร โดยศาล และโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
2) การควบคุมการใช้อำนาจบริหารของฝ่ายบริหารที่เป็นฝ่ายการเมืองในระดับท้องถิ่น เช่น นายกเทศมนตรี
3) การควบคุมการใช้อำนาจบริหารของฝ่ายบริหารที่เป็นฝ่ายประจำในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง หรือระดับท้องถิ่น เช่น ปลัดเทศบาล
4) การควบคุมการใช้อำนาจบริหารโดยฝ่ายบริหารด้วยกัน โดยเฉพาะการควบคุมการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับรัฐมนตรี ซึ่งเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีที่จะควบคุมดูแลการบริหารงานของรัฐมนตรีแต่ละคน โดยนายกรัฐมนตรีมีอำนาจถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อมีพระบรมราชโองการให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีได้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่นนั้นอยู่ในการควบคุมบังคับบัญชาของรัฐบาล ตามกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ของทางราชการ และยังมีองค์กรตาม
ประการที่หก การควบคุมการใช้อำนาจบริหารของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินในระดับที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย นั้น เป็นอำนาจของรัฐสภาดังที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ที่ว่า มาตรา 182 สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญยังได้กำหนดวิธีการสำคัญในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีโดยรัฐสภาไว้ 5 วิธีการ คือ การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา การตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี การตั้งคณะกรรมาธิการสภา การเปิดอภิปรายทั่วไป รวมตลอดทั้งการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ดังจะได้ศึกษาตามลำดับ
3.1 การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
เป็นวิธีการหนึ่งที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารระดับชาติหรือคณะรัฐมนตรีโดยฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อจะเข้าปฏิบัติหน้าที่
ในการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐมนตรีต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้ด้วยและต้องรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรในหน้าที่ของตน รวมทั้งต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อรัฐสภาในนโยบายทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ซึ่งหมายความว่า รัฐมนตรีแต่ละคนต้องรับผิดชอบโดยตรงในการบริหารราชการในส่วนของกระทรวงที่ตนเป็นรัฐมนตรีและยังต้องรับผิดชอบร่วมกันกับคณะรัฐมนตรี ในการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายของรัฐบาลอีกด้วย ถ้าการบริหารราชการแผ่นดินไม่เป็นไปตามนโยบายหรือไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีอาจถูกวิธีการที่หนักขึ้น คือ การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจได้ และหากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง หรือหากมีมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลความเป็นรัฐมนตรีของผู้นั้นก็สิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว
3.2 การตั้งกระทู้ถาม
การตั้งกระทู้ถามแบ่ง แบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ ความหมายและลักษณะ และการตั้งกระทู้ถามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
3.2.1 ความหมายและลักษณะ
กระทู้ถาม คือ คำถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาตั้งขึ้นถามรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่โดยให้ตอบในที่ประชุมของสภาแห่งนั้นหรือตอบเป็นหนังสือในราชกิจจานุเบกษาก็ได้ แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่สมควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยของประเทศหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบได้
กระทู้ถามจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1) เป็นคำถามในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของรัฐมนตรีเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีนั้น
2) เป็นคำถามเกี่ยวกับนโยบายการบริหารงานของรัฐมนตรีซึ่งสมาชิกรัฐสภาเห็นว่าการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐมนตรีไม่เป็นไปตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาหรือการบริหารงานผิดพลาดไม่ตรงตามนโยบาย
กระทู้ถามต้องเป็นคำถาม และข้อเท็จจริงตลอดจนคำชี้แจงประกอบต้องชัดเจนไม่ฟุ่มเฟือย วนเวียน ซ้ำซาก หรือมีลักษณะเป็นการอภิปราย และกระทู้ถามต้องไม่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
1) เป็นเชิงประชดเสียดสีหรือกลั่นแกล้งใส่ร้าย
2) เคลือบคลุมหรือเข้าใจยาก
3) เป็นเรื่องที่ได้ตอบแล้วหรือชี้แจงแล้วว่าไม่ตอบ
4) เป็นเรื่องที่มีประเด็นคำถามซ้ำกับกระทู้ถามซึ่งมีผู้เสนอมาก่อน
5) เป็นการให้ออกความเห็น
6) เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
7) เป็นเรื่องที่ไม่มีสาระสำคัญ
8) เป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลใด เว้นแต่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ราชการ
3.2.2 การตั้งกระทู้ถามตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
การตั้งกระทู้ถามเป็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินสถานเบากว่าการอภิปรายทั่วไป เป็นไปตามหลักที่ว่าเมื่อมีข้อสงสัยก็ซักถามขอคำตอบหรือความเห็นได้จึงไม่ใช่เรื่องรุนแรงหรือกระทบกระทั่งกันแต่อย่างใด ปกติแล้วสมาชิกสภามักจะตั้งกระทู้ถามโดยขอให้ตอบในที่ประชุมสภามากกว่าให้ตอบในราชกิจจานุเบกษาและรัฐมนตรีก็มักยอมมาตอบเพราะบ่อยครั้งที่การถามกระทู้จะช่วยอธิบายและประชาสัมพันธ์การทำงานของรัฐมนตรีได้เป็นอย่างดี และทำให้ข้อข้องใจสงสัยบางเรื่องหมดไป
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ยังกำหนดให้กระทู้ถามมี 2 ประเภท คือ
2.1 กระทู้ถามทั่วไป
หมายถึง คำถามที่สมาชิกรัฐสภาเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือและยื่นต่อประธานสภาของตน โดยมีข้อความเป็นคำถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายและระบุว่าจะให้ตอบในที่ประชุมสภาหรือในราชกิจานุเบกษา แต่รัฐมนตรีมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดินกระทู้ถามที่ต้องตอบในที่ประชุมสภาจะบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมภายใน 15 วัน นับแต่วันที่กระทู้ถามส่งไปยังรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบ ส่วนกระทู้ถามที่ต้องตอบในราชกิจจานุเบกษาจะแจ้งให้รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบดำเนินการตอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ส่งไปยังรัฐมนตรี
2.2 กระทู้ถามสด หมายถึง คำถามที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแจ้งเป็นหนังสือยื่นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรในวันประชุมที่มีวาระการตอบกระทู้ถามก่อนเริ่มประชุมในวันนั้น โดยระบุชื่อเรื่องที่จะถามพร้อมระบุวัตถุประสงค์ว่าจะถามนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้ใด ประธานสภาจะวินิจฉัยว่ากระทู้ถามใดเป็นกระทู้ถามสดหรือไม่ แล้วบรรจุเข้าระเบียบวาระและแจ้งให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบทราบ ขยายความได้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) บัญญัติให้เฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นที่ยังมีสิทธิเสนอกระทู้ถามสด โดยการบริหารราชการแผ่นดินเรื่องใดที่เป็นปัญหาสำคัญ ที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เป็นเรื่องที่กระทบถึงประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน หรือที่เป็นเรื่องเร่งด่วน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรก่อนเริ่มประชุมในวันนั้นว่า จะถามนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินเรื่องนั้น โดยระบุชื่อเรื่องและระบุวัตถุประสงค์ว่าจะถามใคร ทั้งนี้ โดยไม่ต้องระบุคำถาม และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ในวาระการประชุมวันนั้น
ดังนั้น กระทู้ถามสด จึงมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
1) เป็นปัญหาสำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชน
2) เป็นเรื่องที่กระทบถึงประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน
3) เป็นเรื่องเร่งด่วน
การถามและการตอบกระทู้ถามสดทำได้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ไม่เกิน 3 กระทู้ เวลาไม่เกิน 60 นาที และให้ถามด้วยวาจาได้เรื่องละไม่เกิน 3 ครั้ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
3.3 การเปิดอภิปรายทั่วไป
การเปิดอภิปรายทั่วไป แบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ ความหมายและลักษณะ และการเปิดอภิปรายทั่วไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
3.3.1 ความหมายและลักษณะ
โดยที่คณะรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและบริหารราชการแผ่นดินโดยความไว้วางใจของสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภาจึงมีอำนาจควบคุมดูแลตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญและเด็ดขาดที่สุด คือการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตีหรือรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ซึ่งหากสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ ความเป็นนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีก็จะสิ้นสุดลง
เมื่อมีการเปิดอภิปรายทั่วไป สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้ใดจะขออภิปรายก็ได้ จะแสดงความเห็นหรือเสนอข้อมูลอย่างไรก็ได้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นสมาชิกผู้เข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากกกรณีการตั้งกระทู้ถามที่ผู้ตั้งกระทู้ถามเท่านั้นมีสิทธิอภิปรายและเมื่อรัฐมนตรีตอบแล้วก็ไม่มีการลงมติ
การเปิดอภิปรายทั่วไป มีได้ 4 กรณีคือ
1) การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
2) การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล
3) การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาโดยไม่มีการลงมติ
4) การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
โดย 2 กรณีแรกเป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร กรณีที่ 3 เป็นอำนาจของวุฒิสภา ส่วนกรณี ที่ 4 เป็นตามคำขอของนายกรัฐมนตรี
3.3.2 การเปิดอภิปรายทั่วไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ดังกล่าวแล้วว่า การเปิดอภิปรายทั่วไปมีได้ 4 กรณี แต่ละกรณีมีดังนี้
1) การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กำหนดไว้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตติดังกล่าวนี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมาด้วย และเมื่อได้รับการเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภา ผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมติไม่ไว้วางใจนั้นไม่ได้คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย จะเสนอโดยไม่มีการยื่นคำร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งก่อนมิได้ และเมื่อได้มีการยื่นคำร้องขอดังกล่าวแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการต่อไป
ให้สภาลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ การลงมตินี้มิให้กระทำในวันเดียวกันกับวันที่การอภิปรายสิ้นสุด มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง และรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎรจะนำชื่อผู้ที่ไว้รับการเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อตอนที่เสนอญัตติไม่ไว้วางใจ กราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
2) การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กำหนดไว้ว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เช่นนี้ แตกต่างจากการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีที่จะต้องมีจำนวนสมาชิกาสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรและไม่ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งคนต่อไปด้วย นอกจากนี้ ให้ดำเนินการไปโดยวิธีการเช่นเดียวกับการเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี
ถ้าสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ความเป็นรัฐมนตรีของผู้นั้นก็สิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว
มีข้อสังเกตว่า ในการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลนั้น ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือจงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย จะต้องยื่นคำร้องขอให้วุฒิสภามีมติให้ถอดถอนบุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเสียก่อน เมื่อการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลสิ้นสุดลง ให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ
การลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
3) การเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาโดยไม่มีการลงมติ เป็นการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนของวุฒิสภา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) บัญญัติให้ สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงชี้แจงปัญหาสำคัญอันเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินได้โดยไม่มีการลงมติ การเปิดอภิปรายนี้จะกระทำได้ครั้งเดียวในสมัยประชุมหนึ่ง
มาตรานี้เป็นหลักการใหม่ที่นำมาใช้เป็นครั้งแรก เพื่อให้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินให้แก่สมาชิกวุฒิสภาซึ่งปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในกรณีที่มีปัญหาสำคัญ ๆ ของประเทศ หรือมีวิกฤตการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น ก็ให้สิทธิสมาชิกวุฒิสภาขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้คณะรัฐมนตรีชี้แจงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาให้วุฒิสภาได้ทราบ ซึ่งสมาชิกวุฒิสภาจะได้มีโอกาสให้ความเห็นหรือให้คำปรึกษาหารือ เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ทั้งนี้ โดยไม่มีการลงมติไม่ไว้วางใจ
4) การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เป็นกรณีนายกรัฐมนตรีเห็นว่ามีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้ โปรดดูภาพที่ 10
ภาพที่ 10 การเปิดอภิปรายทั่วไป 4 กรณี ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540)
กรณีที่ 1 การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อ
ลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี (เป็น
อำนาจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร)
กรณีที่ 2 การเปิด
กรณีที่ 4 การเปิด อภิปรายทั่วไปเพื่ออภิปรายทั่วไปใน นายกรัฐมนตรี ลงมติไม่ไว้วางใจ
ที่ประชุมร่วมกัน และ/หรือ รัฐมนตรี รัฐมนตรีเป็น
ของรัฐสภา (เป็น (ผู้ถูกอภิปราย) รายบุคคล (เป็น
(ไปตามคำขอของ อำนาจของสมาชิก
นายกรัฐมนตรี) สภาผู้แทนราษฎร)
กรณีที่ 3 การเปิดอภิปรายทั่วไป
ในวุฒิสภาโดยไม่มีการลงมติ
(เป็นอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา)
3.4 การตั้งกรรมาธิการสภา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็น "คณะกรรมาธิการสามัญ" และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิไว้เป็นสมาชิก ตั้งเป็น "คณะกรรมาธิการวิสามัญ" เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วรายงานต่อสภา ทั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการตรวจสอบและสอดส่องการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร การตั้งกรรมาธิการสภาแบ่งเป็น 2 หัวข้อ ได้แก่ คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา และคณะ
3.4.1 คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภา
เป็นคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งจากบุคคลที่เป็นสมาชิกของสภานั้น ๆ และตั้งไว้เป็นการถาวรตลอดอายุของสภา สำหรับสภาผู้แทนราษฎรตามข้อบังคับการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ได้กำหนดให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญขึ้น 31 คณะ แต่ละคณะประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวน 17 คน อย่างไรก็ดี หากมีความจำเป็นสภาผู้แทนราษฎรจะตั้งกรรมาธิการสามัญประจำสภาคณะอื่นเพิ่มขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้ แต่สมาชิกคนหนึ่งจะดำรงตำแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำสภาได้ไม่เกิน 2 คณะ
1.1 คณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวน 31 คณะ ได้แก่
1. คณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร
2. คณะกรรมาธิการกิจการเยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ
3. คณะกรรมาธิการการกีฬา
4. คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์
5. คณะกรรมาธิการการคมนาคม
6. คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค
7. คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน
8. คณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุม
9. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
10. คณะกรรมาธิการการตำรวจ
11. คณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ
12. คณะกรรมาธิการติดตามการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
13. คณะกรรมาธิการติดตามผลการปฏิบัติตามมติของสภาผู้แทนราษฎร
14. คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
15. คณะกรรมาธิการการทหาร
16. คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว
17. คณะกรรมาธิการการปกครอง
18. คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
19. คณะกรรมาธิการการพลังงาน
20. คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง
21. คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ
22. คณะกรรมาธิการการพาณิชย์
23. คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
24. คณะกรรมาธิการการแรงงาน
25. คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
26. คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
27. คณะกรรมาธิการการศึกษา
28. คณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม
29. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข
30. คณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม
31. คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม
ในส่วนวุฒิสภาตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2544 กำหนดให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาขึ้นจำนวน 21 คณะ แต่ละคณะประกอบด้วย กรรมาธิการไม่น้อยกว่า 9 คน แต่ไม่เกิน 15 คน และหากมีความจำเป็นวุฒิสภาจะต้องคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาเพิ่มขึ้นหรือลดจำนวนลงเมื่อใดก็ได้ แต่สมาชิกคนหนึ่งจะดำรงตำแหน่งกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาได้ไม่เกิน 2 คณะ คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภามีวาระ 2 ปี นับแต่วันที่วุฒิสภามีมติแต่งตั้ง
1.2 คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา มีจำนวน 21 คณะ ได้แก่
1. คณะกรรมาธิการการกีฬา
2. คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์
3. คณะกรรมาธิการการคมนาคม
4. คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน
5. คณะกรรมาธิการการงบประมาณ
6. คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ
7. คณะกรรมาธิการการทหาร
8. คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว
9. คณะกรรมาธิการการปกครอง
10. คณะกรรมาธิการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
11. คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน
12. คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
13. คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม
14. คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
15. คณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
16. คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม
17. คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข
18. คณะกรรมาธิการกิจการสตรี เยาวชนและผู้สูงอายุ
19. คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระ
20. คณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุม และติดตามมติของวุฒิสภา
21. คณะกรรมาธิการการสิ่งแวดล้อม
3.4.2 คณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภา
คณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นคณะกรรมาธิการที่สภาตั้งจากบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้นก็ได้ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เมื่อมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือกระทำกิจการใด ๆ ที่ไม่อยู่ในขอบข่ายงานของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาคณะใด หรือเป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกับขอบข่ายงานของคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาหลายคณะ คณะกรรมาธิการวิสามัญจะตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการเฉพาะกิจตามความเหมาะสมเมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จ และเสนอรายงานให้สภาพิจารณาเสร็จสิ้นแล้วก็จะสิ้นสภาพไป
คณะกรรมาธิการวิสามัญจะมีจำนวนตามที่สภากำหนดและส่วนหนึ่งจะเลือกจากบุคคลที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อมีจำนวนไม่เกิน 1 ใน 4 ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด และอีกส่วนหนึ่งจะเลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอโดยให้มีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร
สำหรับการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัยว่ามีสาระสำคัญเกี่ยวกับเด็ก สตรี และคนชรา หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ หากสภาผู้แทนราษฎรมิได้พิจารณาโดย กรรมาธิการเต็มสภา สภาผู้แทนต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนเกี่ยวกับบุคคลประเภทนั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด
สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ ถ้าเป็นคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ก็มีอำนาจหน้าที่พิจารณาหลักการของร่างพระราชบัญญัติ แล้วเสนอสภาเพื่อลงมติรับหลักการหรือไม่รับหลักการ สำหรับร่างพระราชบัญญัติที่สภามีมติรับหลักการและคณะกรรมาธิการก็มีหน้าที่พิจารณารายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติ มีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดในร่าง
พระราชบัญญัติแล้วเสนอรายงานต่อสภา สมาชิกที่ไม่ได้เป็นกรรมาธิการมีสิทธิเสนอคำแปรญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติได้ ถ้าเป็นกิจการอื่นก็มีอำนาจหน้าที่ในการทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการนั้น ๆ แล้วรายงานต่อสภา คณะกรรมาธิการยังมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้
สรุป สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจตั้งจากบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้นเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ ทั้งนี้ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วรายงานต่อสภา
3.5 การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง
แบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ ผู้มีอำนาจถอดถอน และวิธีการถอดถอน
3.5.1 ผู้มีอำนาจถอดถอน
ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงที่ใช้อำนาจรัฐสมาชิกสภามีสิทธิเข้าชื่อเพื่อขอให้ถอดถอน โดยวุฒิสภามีอำนาจถอดถอน กล่าวคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงที่ใช้อำนาจรัฐ โดยระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำความผิดเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน
พร้อมกันนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ได้บัญญัติให้วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญระดับสูงออกจากตำแหน่งได้ กล่าวคือ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด หรืออัยการสูงสุด ผู้ใดมี
พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่งได้ นอกจากนี้ ยังใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ด้วย คือ
1) กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
2) ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ทั้งนี้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
3.5.2 วิธีการถอดถอน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กำหนดวิธีการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวข้างต้น มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ถอดถอน โดยระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำความผิดเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน
2.2 สำหรับสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งได้
2.3 เมื่อได้รับคำร้องขอประธานวุฒิสภาจะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว เมื่อไต่สวนเสร็จแล้วคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะทำรายงานโดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อกล่าวหาข้อใดมีมูลหรือไม่เพียงใดเพราะเหตุใด
2.4 ถ้าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีมติว่า ข้อกล่าวหาใดมีมูล ผู้ดำรงตำแหน่งที่ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปไม่ได้ นับแต่วันที่มีมติ จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจะส่งรายงานและเอกสารที่มีพร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการถอดถอน พร้อมทั้งส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไปด้วย ถ้ามีมติว่าข้อกล่าวหาใดไม่มีมูล ข้อกล่าวหานั้นเป็นอันตกไป
2.5 เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับรายงานดังกล่าวข้างต้น จะต้องจัดให้มีการประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาโดยเร็ว ถ้าอยู่นอกสมัยประชุมให้แจ้งประธานรัฐสภาเพื่อดำเนินการเปิดประชุมรัฐสภาเป็นการประชุมสมัยวิสามัญ
2.6 สมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการออกเสียงลงคะแนนซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ มติให้ถอดถอนผู้ใดออกจากตำแหน่งต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
2.7 ผู้ที่ถูกถอดถอนจากตำแหน่งต้องพ้นจากตำแหน่งหรือออกจากราชการนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติให้ถอดถอน และถูกตัดสิทธิในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในการรับราชการเป็นเวลา 5 ปี
2.8 มติในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งของวุฒิสภาเป็นที่สุด และจะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลนั้นโดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกไม่ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สรุป สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต่างมีสิทธิเข้าชื่อเพื่อขอให้ถอดถอนได้ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงที่ใช้อำนาจรัฐ ส่วนสมาชิกวุฒิสภามีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาให้ถอดถอนสมาชิกวุฒิสภาออกจากตำแหน่งได้ และหลังจากผ่านกระบวนการวุฒิสภามีอำนาจถอดถอน
P P P P P
บรรณานุกรม
โกเมน ภัทรภิรมย์, "หน่วยที่ 13 การควบคุมการใช้อำนาจบริหาร" ใน มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. เอกสารการสอนชุดวิชา หลักกฎหมาย
เกี่ยวกับการบริหารราชการไทย.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540).
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, ผู้บริหารสูงสุดระดับจังหวัด : ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด
ซีอีโอ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ, 2546.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. วิเคราะห์เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กับรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2542.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. ศาลปกครองไทย : วิเคราะห์เปรียบเทียบ รูปแบบ โครงสร้าง อำนาจ หน้าที่ และการบริหารงานบุคคล กับศาลปกครองอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2542.
วิษณุ
เครืองาม, "หน่วยที่ 9 กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร" ในP P P P P
หัวข้อ เรื่อง
อำนาจของรัฐสภากับการบริหารราชการแผ่นดิน
1. แนวคิดเกี่ยวกับอำนาจอำนาจของรัฐสภาและการบริหารราชการแผ่นดิน
1.1 แนวคิดเกี่ยวกับรัฐสภา
1.1.1 สภาเดียวและสภาคู่
1.1.2 การแต่งตั้งและการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา
1.1.3 จำนวนและวาระการดำรงตำแหน่ง
1.2 แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน
1.2.1 คณะรัฐมนตรี
1.2.2 การบริหารราชการแผ่นดิน
1.3 สภาผู้แทนราษฎร
1.3.1 โครงสร้าง
1.3.2 คุณสมบัติ
1.3.3 สมาชิกภาพและการสิ้นสุดสมาชิกภาพ
1.3.4 อำนาจหน้าที่
1.4 วุฒิสภา
1.4.1 โครงสร้าง
1.4.2 คุณสมบัติ
1.4.3 สมาชิกภาพและการสิ้นสุดสมาชิกภาพ
1.4.4 อำนาจหน้าที่
2. กระบวนการนิติบัญญัติกับการบริหารราชการไทย
2.1 แนวคิดทั่วไปในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ
2.2 การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
2.3 การประกาศใช้พระราชบัญญัติ
3. การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยรัฐสภา
3.1 การแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
3.2 การตั้งกระทู้ถาม
3.3 การเปิดอภิปรายทั่วไป
3.4 การตั้งกรรมาธิการสภา
3.5 การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง
**********