หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 
 

คำนำ

     ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ศาลรัฐธรรมนูญมีความเป็นที่สุดอยู่หลายประการ นับตั้งแต่เป็นองค์กรอิสระของรัฐที่จัดตั้งเป็นพิเศษสุดแตกต่างจากองค์กรของรัฐอื่น โดยมีการสถาปนาศาลรัฐธรรมนูญขึ้นก่อนแล้วจึงมีพระราชบัญญัติออกตามมาภายหลัง ขณะที่องค์กรของรัฐส่วนใหญ่ต้องมีพระราชบัญญัติจัดตั้งออกมาก่อน แล้วจึงสถาปนาหรือจัดตั้งองค์กรนั้นขึ้นภายหลัง รัฐธรรมนูญยังบัญญัติให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นครั้งแรกสุดของไทย และบัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่มากที่สุดอย่างไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในรัฐธรรมนูญฉบับใด นอกจากนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาดหรือเป็นที่สุด ไม่อาจอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลใด ๆ ได้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยังแสดงให้เห็นถึงความสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของรัฐสภา มติคณะรัฐมนตรี หรือคำพิพากษาศาล เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันองค์กรของรัฐดังกล่าว ท้ายที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรอิสระของรัฐที่ประชาชนฝากความหวังและคาดหวังอย่างสูงสุดที่จะให้ช่วยรักษาความศักดิ์สิทธิของรัฐธรรมนูญ ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และช่วยสนับสนุนการปฏิรูปการเมืองการบริหารและการปกครองประเทศ

     แต่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญบางเรื่องที่ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกผิดหวังพอสมควร จึงควรมาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง และความคิดเห็นเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในลักษณะของการวิเคราะห์ในประเด็นหลัก  โดยคาดหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในอนาคตออกมาในทิศทางที่สอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการปฏิรูปการเมืองการปกครองและการบริหารของประเทศ จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษารัฐธรรมนูญ จะยิ่งเกิดประโยชน์มากขึ้นถ้านำไปเป็นแนวทางสำหรับวิเคราะห์วิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างเป็นระบบในอนาคตภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย

     ผู้เขียนต้องขอขอบคุณบุคลากรทุกคนของสำนักบรรณสารสนเทศ หรือห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างดียิ่งเสมอมา มิใช่ข้อมูลสำหรับเขียนหนังสือเล่มนี้เท่านั้น  แต่เล่มอื่นอีกด้วย  โดยเฉพาะหนังสือภาษาอังกฤษที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ประหยัดเวลาไม่ต้องไปค้นคว้าหาจากแหล่งอื่น

                                                                         วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

                                                                          พฤษภาคม 2543

สารบัญ

คำนำ

สารบัญ

1. บทนำ

     1. ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา

          1.1 ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ

          1.2 ประเภทของรัฐธรรมนูญ

          1.3 ความสำคัญและความจำเป็นของศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กร

                 ที่เรียกชื่ออื่น

          1.4 ความสำคัญของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

          1.5 องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยและตีความ

                 รัฐธรรมนูญ

          1.6 ศาลรัฐธรรมนูญไทย โครงสร้างและอำนาจหน้าที่

          1.7 เหตุผลของการวิพากษ์วิจารณ์และวิเคราะห์คำวินิจฉัยของ

                 ศาลรัฐธรรมนูญ

          1.8 ความสำคัญและความจำเป็นในการวิเคราะห์คำวินิจฉัยของ

                  ศาลรัฐธรรมนูญ

     2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา

     3. ขอบเขตของการศึกษา

     4. ข้อจำกัดของการศึกษา

     5. ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

     6. กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา

     7. ระเบียบวิธีศึกษา

     8. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา

2. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

     เรื่องที่ 1 คำวินิจฉัยที่ 2/2541  วันที่ 25 มิถุนายน 2541

     เรื่องที่ 2 คำวินิจฉัยที่ 1/2542 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542

     เรื่องที่ 3 คำวินิจฉัยที่ 4/2542 วันที่ 1 เมษายน 2542

     เรื่องที่ 4 คำวินิจฉัยที่ 8/2542 วันที่ 27 เมษายน 2542

     เรื่องที่ 5 คำวินิจฉัยที่ 36/2542 วันที่ 15 มิถุนายน 2542

3. สรุปและข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม