คำนำ
หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้เกิดการปฏิรูปการเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการเมืองคือการที่รัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นหรือการบริหารท้องถิ่นหลายมาตรา (มาตรา
282 - มาตรา 290)
อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
บทบัญญัติดังกล่าวนี้ได้สนับสนุนการกระจายอำนาจให้หน่วยการบริหารท้องถิ่น
และหน่วยการบริหารท้องถิ่นที่สำคัญหน่วยหนึ่งคือ เทศบาล
ซึ่งมีความสำคัญหลายประการ
เช่น
เป็นหน่วยการบริหารท้องถิ่นที่เก่าแก่ของไทย
มีวิวัฒนาการสืบต่อกันมาช้านานมากที่สุดและยังคงใช้อยู่ทุกวันนี้
ประชาชนสนใจและคุ้นเคยมากที่สุด อีกทั้งรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยเห็นถึงความสำคัญของเทศบาลเสมอมา
ส่วนหนึ่งเห็นได้จากการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลักของเทศบาลคือ
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.
2496 จำนวนหลายฉบับ
นอกจากนี้แล้ว
เทศบาลยังเป็นสถานที่ฝึกหัดหรือปูพื้นฐานการเมืองการปกครอง
การบริหารและการจัดการของประชาชน เป็นหน่วยงานให้บริการสาธารณะที่แบ่งเบาภาระของรัฐบาลโดยประชาชนบริหารงานกันเอง
และเป็นรูปแบบเดียวเท่านั้นที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงหรือทางอ้อมก็ได้
ด้วยการลงประชามติ
เป็นที่คาดหวังกันว่า
การบริหารและการจัดการของเทศบาลในยุคปฏิรูปการเมืองน่าจะมีแนวโน้มที่แตกต่างจากอดีต
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการให้บริการสาธารณะประชาชนมีประสิทธิภาพ
รวดเร็ว คล่องตัว ใกล้ชิด
ทั่วถึง โปร่งใส
ตรวจสอบได้
และสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
หนังสือเรื่องนี้มุ่งพิจารณาศึกษาการบริหารและการจัดการของเทศบาล โดยนำคำ 2 คำมารวมกัน
ได้แก่ คำว่า การบริหาร (administration) ซึ่งหมายถึงการบริหารงานของภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับการให้บริการสาธารณะ
(public services) และคำว่า
การจัดการ (management)
ซึ่งหมายถึงการบริหารงานของภาคเอกชนที่มุ่งแสวงหากำไรสูงสุด
(maximum benefits)
เนื่องจากปัจจุบันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างนำแนวคิดและวิธีการปฏิบัติงานบางส่วนของแต่ละฝ่ายมาใช้
กล่าวคือ
ภาครัฐมุ่งหวังกำไรจากการให้บริการสาธารณะด้วย
เช่น เพิ่มราคาค่าน้ำ
ค่าไฟฟ้า
ค่าโดยสารขนส่งมวลชนเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีกำไรหรือขาดทุนน้อยลงด้วย
ส่วนภาคเอกชนก็มิได้มุ่งแสวงหากำไรอย่างเดียว
แต่ได้ช่วยเหลือ
รับผิดชอบ
และให้บริการสังคม เช่น
จำหน่ายอาหาร เครื่องใช้
และบ้านในราคาถูก
หรือคืนกำไรให้ประชาชน
โดยคำนึงถึงสภาพทางเศรษฐกิจและความปลอดภัยของประชาชนด้วย
พร้อมกันนั้น ได้นำ กระบวนการบริหาร ที่เรียกว่า PAMS-POSDCoRB มาเป็นกรอบแนวคิดหรือแนวทางในการนำเสนอกระบวนการบริหารงานเทศบาล
และยังนำ ทรัพยากรที่ใช้ในการบริหาร
ที่เรียกว่า 6M
มาเป็นกรอบแนวคิดหรือแนวทางในการนำเสนอเทคนิคการบริหารงานเทศบาล
ตลอดจนปัญหา สาเหตุ
แนวทางแก้ไข
และแนวโน้มของเทศบาลไทย
ทั้งนี้
การนำเสนอเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.
2496 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
รวมตลอดถึงพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
ด้วย
เนื้อหาสาระของหนังสือ เรื่อง การบริหารและการจัดการเทศบาลในยุคปฏิรูปการเมืองนี้
ความแตกต่างมิใช่มีเพียงยุคปฏิรูปการเมืองซึ่งเป็นยุคที่แตกต่างจากอดีตเท่านั้น
แต่มุมมองของนักบริหารภาครัฐที่ใช้กรอบแนวคิดหรือแนวทางในการนำเสนอดังกล่าวก็ถือว่าเป็นความแตกต่างจากอดีตอีกส่วนหนึ่งด้วย
ผู้เขียนหวังว่าหนังสือเรื่องนี้จะมีส่วนช่วยปูพื้นฐานหรือเพิ่มความรู้ความเข้าใจการบริหารและการจัดการเทศบาลอย่างเป็นระบบ และง่ายต่อการจดจำ
ทั้งนี้
ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
วิรัช
วิรัชนิภาวรรณ
กันยายน 2545
สารบัญ
คำนำ
สารบัญ
บทที่
1
การบริหารท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล
1. แนวคิด ความหมาย
และความสำคัญของการบริหารท้องถิ่น
รูปแบบ เทศบาล
2.
วิวัฒนาการของเทศบาลไทย
บทที่
2
กระบวนการและเทคนิคการบริหารงานเทศบาล
1.
กระบวนการบริหารงานเทศบาล
นโยบาย (Policy)
อำนาจหน้าที่ (Authority)
จริยธรรม
(Morality)
จิตวิญญาณ (Spirit)
การวางแผน (Planning)
การจัดองค์การ (Organizing)
การบริหารงานบุคคล (Staffing)
การอำนวยการ (Directing)
การประสานงาน (Coordinating)
การรายงาน (Reporting)
การคลัง (Budgeting)
2.
เทคนิคการบริหารงานเทศบาล
เทคนิคด้านบุคลากร (Man)
เทคนิคด้านการเงิน (Money)
เทคนิคด้านวัสดุอุปกรณ์
(Material)
เทคนิคด้านการจัดการทั่วไป
(Management)
เทคนิคด้านการให้บริการประชาชน
(Market)
เทคนิคด้านจริยธรรม (Morality)
บทที่
3 ปัญหา สาเหตุ
แนวทางแก้ไข
และแนวโน้มของเทศบาลไทย
1. ปัญหา สาเหตุ
และแนวทางแก้ไขของเทศบาลไทย
2. แนวโน้มของเทศบาลไทย
ภาคผนวก
กฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ
และหนังสือสั่งการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเทศบาล
บรรณานุกรม
|