หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 
 
 

คำนำ 

     การศึกษา "ค่านิยมของข้าราชการไทยในยุคปฏิรูประบบราชการ" ครั้งนี้  มีความเชื่อพื้นฐานที่ว่า ค่านิยมของข้าราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ เช่น ค่านิยมของการใช้อำนาจ หน้าที่ในทางมิชอบ และค่านิยมที่ยึดถือระบบพวกพ้องในทางมิชอบ ได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการของข้าราชการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 70 ที่ว่า ข้าราชการ "มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชน…" ยังไม่ประสบผลสำเร็จมากเท่าที่ควร ส่งผลให้ประเทศชาติเสียหายและประชาชนเสียผลประโยชน์

     จากความเชื่อพื้นฐานนี้ ประกอบกับตำรา หนังสือ หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับค่านิยมของ ข้าราชการไทยมีน้อยมาก โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในมุมมองของนักบริหารภาครัฐ และเอกสารที่เกี่ยวกับค่านิยมบางส่วนได้กระจัดกระจายขาดการจัดระบบ ทั้ง ๆ ที่ค่านิยมของ ข้าราชการมีส่วนสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมของข้าราชการ และข้าราชการเป็นกลไกหรือแขนขาที่สำคัญของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยรวมทั้งในยุคปฏิรูประบบราชการด้วย เมื่อใดก็ตามที่ข้าราชการมีค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศแล้ว พฤติกรรมหรือการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในการอำนวยความสะดวกและให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนย่อมล้มเหลวหรือ ไม่ได้ผลมากเท่าที่ควร

     การศึกษาครั้งนี้มุ่งไปที่ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมกับ พฤติกรรมของข้าราชการ พร้อมกันนั้น ยังศึกษาค่านิยมของข้าราชการไทยในอดีตถึงปัจจุบันทั้ง ค่านิยมหลักและค่านิยมย่อย ค่านิยมของข้าราชการไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ สาเหตุการเกิดค่านิยมดังกล่าว ค่านิยมของข้าราชการที่ควรเป็นไปในสังคมเพื่อการพัฒนาประเทศตอนท้ายเป็นสรุปและข้อเสนอแนะซึ่งรวมทั้งการเสนอแนวทางการพัฒนา ปรับเปลี่ยน หรือปลูกฝังค่านิยมของข้าราชการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมไว้ด้วย

     การศึกษาครั้งนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหารจัดการภาครัฐ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ และการปฏิรูประบบราชการภายใต้อุดมการณ์ประชาธิปไตย ใช้วิธีการนำเสนอในรูปของกระบวนการศึกษาทางวิชาการอย่างเป็นระบบในลักษณะของการวิจัยเอกสาร  โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือตำราและเอกสารทั้งหลาย จากการสังเกตการณ์ ตลอดจนขอคำแนะนำปรึกษาจากผู้มีความรู้และประสบการณ์ แล้วจึงนำข้อมูลมาประมวล วิเคราะห์ เขียนบรรยาย พร้อมกับเสนอภาพและตารางไว้ด้วยตามความจำเป็น

     การศึกษาครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เนื่องจากได้นำผลงานในอดีตมาแก้ไขเพิ่มเติมให้ทันสมัย โดยเพิ่มข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น รวมทั้งเพิ่มระบบความคิดไว้ด้วย หากในอนาคตมีข้อบกพร่องเกิดขึ้น ผู้ศึกษาก็จะเก็บสะสมไว้เพื่อนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งต่อไป ส่วนความดีของการศึกษาเรื่องนี้ ขอมอบให้นายวีรฐา วิรัชนิภาวรรณ และนางสาว วรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ ที่แม้ไม่ให้กำลังใจโดยตรง แต่ก็แอบให้กำลังอยู่เสมอมา

 

                     วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

                     สาขาวิชาวิทยาการจัดการ

                     มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                     โทรศัพท์ 02-503-2121-4 ต่อ 3533-6

                     เว็บไซท์ : www.wiruch.com

                     e-mail address : msaswwir@stou.ac.th

                     หรือ wiruch@wiruch.com

                     11 พฤศจิกายน 2546

 

สารบัญ

คำนำ

สารบัญ

สารบัญภาพ

สารบัญตาราง

 

บทที่ 1 บทนำ

     1.1   ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา

     1.2   วัตถุประสงค์ของการศึกษา

     1.3   ขอบเขตของการศึกษา

     1.4   ข้อจำกัดของการศึกษา

     1.5   ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

     1.6   กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา

     1.7   ระเบียบวิธีการศึกษา

     1.8   คำจำกัดความ

     1.9   ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา

     1.10 สรุป

 

บทที่ 2 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมของข้าราชการ

     1. ความนำ

     2. แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมของข้าราชการ

          2.1 หน้าที่ของรัฐในการพัฒนาประเทศ

          2.2 ข้าราชการ

          2.3 ค่านิยม

          2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมและข้าราชการ

     3. สรุป

 

บทที่ 3 ค่านิยมของข้าราชการไทยในอดีตถึงปัจจุบัน

     1. ความนำ

     2. ค่านิยมของข้าราชการไทยในอดีตถึงปัจจุบัน

     3. สรุป

 

บทที่ 4 ค่านิยมของข้าราชการไทยที่เป็นอุปสรรคต่อ
            การพัฒนาประเทศ

     1. ความนำ

     2. ค่านิยมของข้าราชการไทยที่เป็นอุปสรรคต่อ
         การพัฒนาประเทศ

     3. สรุป

 

บทที่ 5 สาเหตุการเกิดค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการ
           พัฒนาประเทศ

     1. ความนำ

     2. สาเหตุการเกิดค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

     3. สรุป

 

บทที่ 6 ค่านิยมของข้าราชการที่ควรเป็นไปในสังคม
            เพื่อการพัฒนาประเทศ

     1. ความนำ

     2. ค่านิยมของข้าราชการไทยที่ควรเป็นไปในสังคม
          เพื่อการพัฒนาประเทศ

     3. สรุป

 

บทที่ 7  สรุปและข้อเสนอแนะ

     1. สรุป

     2. ข้อเสนอแนะ

 

บรรณานุกรม

     1. ภาษาไทย

     2. ภาษาอังกฤษ

 

ภาคผนวก

     บทความ "วิเคราะห์ลักษณะอุปนิสัยของข้าราชการไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและการปฏิรูประบบราชการ"