คำนำ
รัฐธรรมนูญ คือ
กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ
เท่าที่ผ่านมาประเทศไทยมีและใช้รัฐธรรมนูญมาทั้งหมด
16 ฉบับ
ในจำนวนนี้มีทั้งฉบับที่เป็นประชาธิปไตยและไม่เป็นประชาธิปไตย
บางฉบับมีอายุการใช้งานสั้นหรือยาวแตกต่างกัน
การวิเคราะห์เปรียบเทียบในที่นี้มุ่งเน้นเฉพาะรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญที่เป็นประชาธิปไตย
มีอายุการใช้งานนาน
และเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นแบบอย่างที่ดีอีกด้วย โดยนำรัฐธรรมนูญฉบับที่มีลักษณะดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นประชาธิปไตย
และเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนและองค์การต่าง
ๆ
เข้ามามีส่วนร่วมในการร่างอย่างมาก
การวิเคราะห์เปรียบเทียบในที่นี้ได้นำเฉพาะส่วนสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน
พร้อมแสดงตารางประกอบอย่างเป็นระบบ
อันมิใช่เป็นการอธิบายหรือวิเคราะห์เปรียบเทียบเรียงมาตราทุกมาตรา และในบางส่วนได้ยกทฤษฎี
หลักการ
หรือวิธีการปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตยของไทยหรือของสากลมาอธิบายประกอบด้วย
ผู้เขียนได้เขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อให้ประชาชนธรรมดาทั่วไปสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องเป็นนักกฎหมาย
พร้อมกันนี้ได้นำพื้นฐานความรู้ทางด้านกฎหมาย
การบริหารการจัดการ
และการพัฒนามาผสมผสานกันในการเขียนหนังสือเล่มนี้
โดยหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้ศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญทั้งในภาพรวมและภาพย่อยนับจากอดีต
ปัจจุบัน
และต่อไปถึงอนาคต
โดยอาจนำความรู้และความเข้าใจดังกล่าวมาใช้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียนการสอน
การวิจัย
หรือใช้ในชีวิตประจำวัน
อีกทั้งอาจใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนส่วนรวมในอนาคตต่อไปได้อีกด้วย
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
9
มีนาคม 2542
สารบัญ
คำนำ
บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
สารบัญ
สารบัญภาพ
สารบัญตาราง
1.
บทนำ
1.1
ความหมาย
1.2 ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
1.3 ประเภทของรัฐธรรมนูญ
1.3.1
แบ่งตามลักษณะการเขียน
1.3.2
แบ่งตามระบอบการปกครอง
1.4 ที่มาของรัฐธรรมนูญ
1.5 จำนวนรัฐธรรมนูญของไทย 16
ฉบับ 6
2.
ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ
7 ฉบับ ก่อนที่จะมี
ผลใช้บังคับเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ
2.1
ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
สยาม
พุทธศักราช 2475
2.2
ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย
พุทธศักราช 2475แก้ไขเพิ่มเติม
พุทธศักราช 2495
2.3
ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย
พุทธศักราช 2511
2.4
ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย
พุทธศักราช 2517
2.5
ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย
พุทธศักราช 2521
2.6
ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2534
2.7
ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2540
3.
วิเคราะห์เปรียบเทียบรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ
7 ฉบับ
3.1
การวิเคราะห์เปรียบเทียบในตาราง
1)
บททั่วไป
2)
พระมหากษัตริย์
3)
สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย
4)
หน้าที่ของชนชาวไทย
5)
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
6)
รัฐสภา
7)
คณะรัฐมนตรี
8)
ศาล
9)
การปกครองส่วนท้องถิ่น
10)
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
11)
การตรวจเงินแผ่นดิน
12)
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
3.2
หลักการสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย
3.3
กลไกสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย
3.4
การถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ
3.5
การควบคุมอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติโดยศาลรัฐธรรมนูญ
3.6
หลักการใหม่หรือสาระสำคัญที่เพิ่มใหม่ซึ่งปรากฏอยู่
ในรัฐธรรมนูญฉบับปี
พุทธศักราช 2540
4.
สรุปและข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
|