คำนำ
ศาลปกครองมีอยู่ในทุกประเทศทั่วโลกซึ่งอาจมีชื่อเรียกและมีลักษณะคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันไป
ทั้งนี้เพราะองค์ประกอบของรัฐหรือประเทศทั่วโลก
นอกจากมีดินแดนและอำนาจอธิปไตยแล้ว
ยังมีรัฐบาลและประชากรหรือประชาชนเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกด้วย
โดยรัฐบาลหรือภาครัฐ
หมายถึง
เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐทั้งข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง
ส่วนประชาชน หมายถึง
ภาคเอกชน
ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างมีความสัมพันธ์และดำเนินกิจกรรมร่วมกันเสมอ
แต่ในบางกรณีก็เกิดความขัดแย้งหรือเกิดข้อพิพาททางปกครองและนำไปสู่การฟ้องร้องในคดีปกครองขึ้นได้
โดยคดีปกครองเป็นลักษณะที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ
เช่น
ใช้ดุลพินิจในทางมิชอบ
ละเลยหรือล่าช้าเกินควร
หรือใช้อำนาจหน้าที่เกินขอบเขต
ประชาชนจึงนำคดีปกครองดังกล่าวไปฟ้องร้องต่อศาลปกครองซึ่งมีวิธีการพิจารณาพิพากษาคดีที่สะดวก
รวดเร็ว ประหยัด
และสร้างความเป็นธรรมให้แก่คู่กรณี
เมื่อเป็นเช่นนี้ในทุกประเทศทั่วโลกจึงจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีศาลปกครองหรือมีองค์กรของรัฐที่อาจเรียกชื่ออื่นเข้ามาทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าว
อันเป็นลักษณะของการอำนวยความยุติธรรมและปกป้อง
คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ในเวลาเดียวกัน
ก็มีส่วนช่วยให้การปฏิบัติราชการของภาครัฐเป็นไปด้วยความรอบคอบและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย
ศาลปกครองของแต่ละประเทศอาจมีรูปแบบ
โครงสร้าง อำนาจหน้าที่
และการบริหารงานบุคคลที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนความเป็นมาทางการเมืองการปกครองและการบริหารของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยถึงแม้ว่ามีแนวคิดที่จะจัดตั้งศาลปกครองมานานและรัฐธรรมนูญในอดีตหลายฉบับได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับศาล
ปกครองไว้
แต่ศาลปกครองไทยก็ยังมิได้จัดตั้งขึ้น
จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับศาลปกครองไว้หลายมาตรา
และที่สำคัญซึ่งแตกต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นในอดีตคือ ได้กำหนดเวลาไว้ด้วยว่าให้จัดตั้งศาลปกครองภายในเวลา
2 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญคือวันที่
11 ตุลาคม 2540 เป็นต้นมา
ในที่สุดได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. 2542
ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
การพิจารณาศึกษาศาลปกครองของไทยด้วยการนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับศาล
ปกครองของอังกฤษ ฝรั่งเศส
และเยอรมนี
โดยเน้นด้านการบริหารการจัดการในเรื่อง
รูปแบบ โครงสร้าง
อำนาจหน้าที่และการบริหารงานบุคคลจึงเป็นเรื่องที่น่าจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนไทย อย่างน้อยก็ในส่วนที่จะช่วยให้ภาครัฐและภาคเอกชนได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับศาลปกครองในเชิงเปรียบเทียบเพิ่มขึ้น
และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในสภาพปัจจุบัน
อีกทั้งยังจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศาลปกครองไทยในอนาคตด้วย
มีเหตุผลหรือแรงจูงใจหลายประการที่ทำให้ผู้เขียนเขียนหนังสือเล่มนี้
ประการแรก ศาล
ปกครองเป็นเรื่องทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศไทยที่เพิ่งมีการจัดตั้งศาล
ปกครองขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ประการที่สอง
หนังสือเกี่ยวกับศาลปกครองของไทยและต่างประเทศมีจำนวนไม่มากเท่าที่ควร
ถึงแม้ได้มีการเขียนเพิ่มขึ้นก็ตาม
โดยเฉพาะในช่วงที่ฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหารต่างต้องการแสดงเหตุผลเพื่อให้ศาลปกครองไทยมาสังกัดอยู่กับฝ่ายตน
นอกจากนี้
หนังสือเกี่ยวกับศาลปกครองในเชิงการบริหารการจัดการมีปรากฏให้เห็นน้อยมาก
และยิ่งนำศาลปกครองของต่างประเทศมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับศาลปกครองของไทยด้วยแล้ว
ยิ่งมีจำนวนน้อยลงไปอีก
ประการที่สาม
ผู้เขียนต้องการนำความรู้ทางด้านกฎหมายและด้านการบริหารการจัดการของศาลปกครองมาผสมผสานกัน
เพราะสอดคล้องกับลักษณะเนื้อแท้ของศาลปกครองที่เกี่ยวข้องกับด้านกฎหมายและด้านการปกครองหรือด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างยิ่ง
ประการที่สี่
ความรู้เกี่ยวกับศาลปกครองมิใช่เรื่องใหม่สำหรับนักวิชาการ
แต่เป็นเรื่องใหม่พอสมควรสำหรับประชาชนทั่วไปที่บางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจ หนังสือเล่มนี้จึงพยายามบรรจุรายละเอียดทั้งที่เป็นความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับศาลปกครอง
อันจะช่วยเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน
และสามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาเรื่องศาลปกครอง
รวมทั้งยังอาจช่วยให้ประชาชนไทยเกิดความมั่นใจและเชื่อมั่นได้ว่าศาลปกครองไทยมีลักษณะเป็นสากล
ประการสุดท้าย
ผู้เขียนต้องการให้เป็นหนังสือทางวิชาการเพื่อนำไปสู่การศึกษาหรือวิจัยต่อไปเนื่องจากได้ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ
ผู้เขียนระลึกอยู่เสมอว่า
การเขียนหนังสือที่อ่านและเข้าใจยากจะไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมมากเท่าที่ควร
ดังนั้น จึงได้นำแนวคิด
หลักการ ข้อเท็จจริง
ตลอดจนเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับศาลปกครองทั้งของต่างประเทศและของไทยมาเขียนในลักษณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านกฎหมายและด้านการบริหารการจัดการ
ผู้เขียนหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและประชาชนไม่มากก็น้อย
หากมีข้อบกพร่องประการใด
ผู้เขียนยินดีน้อมรับและจะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
10 มีนาคม 2542
สารบัญ
คำนำ
สารบัญ
สารบัญภาพ
สารบัญตาราง
บทที่
1 บทนำ
1.
ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา
2.
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
3.
ขอบเขตของการศึกษา
4.
ข้อจำกัดของการศึกษา
5.
ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6.
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา
7.
คำจำกัดความ
8.
ระเบียบวิธีศึกษา
9.
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา
10.
บทสรุป
บทที่
2 ศาลปกครอง
1.
ความนำ
2.
ความสำคัญของศาลปกครอง
3.
ความหมายของศาลปกครอง
4.
แนวคิดสำคัญที่เกี่ยวกับศาลปกครอง
5.
รูปแบบของศาลปกครอง
6.
โครงสร้างของศาลปกครอง
7.
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง
8.
การบริหารงานบุคคลของศาลปกครอง
9.
บทสรุป
บทที่
3
ศาลปกครองในประเทศอังกฤษ
1.
ความนำ
2.
รูปแบบ
2.1 ความเป็นมาของศาลปกครองหรือองค์กรพิจารณาพิพากษา
คดีปกครองของอังกฤษ
2.2 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับศาลปกครองหรือองค์กรพิจารณา
พิพากษาคดีปกครองของอังกฤษ
2.3
ระบบศาลและรูปแบบศาลปกครอง
3.
โครงสร้าง
3.1
โครงสร้างระบบศาล
3.2
โครงสร้างศาลปกครอง
4.
อำนาจหน้าที่
4.1
อำนาจหน้าที่ทั่วไปของศาลปกครอง
4.2
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครองสูงสุด
4.3
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครองชั้นอุทธรณ์
4.4
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครองชั้นต้น
5.
การบริหารงานบุคคล
5.1
คุณสมบัติของตุลาการในศาลปกครอง
5.2
หลักประกันของตุลาการในศาลปกครอง
6.
บทสรุป
บทที่
4 ศาลปกครองในประเทศฝรั่งเศส
1.
ความนำ
2.
รูปแบบ
2.1
ความเป็นมาของศาลปกครอง
2.2
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับศาลปกครอง
2.3
ระบบศาลและรูปแบบศาลปกครอง
3.
โครงสร้าง
3.1
โครงสร้างระบบศาล
3.2
โครงสร้างศาลปกครอง
4.
อำนาจหน้าที่
4.1
อำนาจหน้าที่ทั่วไปของศาลปกครอง
4.2
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครองสูงสุด
4.3
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครองชั้นอุทธรณ์
4.4
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครองชั้นต้น
5.
การบริหารงานบุคคล
5.1
การบริหารงานบุคคลของตุลาการในศาลปกครองสูงสุด
5.2 การบริหารงานบุคคลของตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น
และตุลาการในศาล
ปกครองชั้นอุทธรณ์
6.
บทสรุป
บทที่
5 ศาลปกครองในประเทศเยอรมนี
1.
ความนำ
2.
รูปแบบ
2.1
ความเป็นมาของศาลปกครอง
2.2
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับศาลปกครอง
2.3
ระบบศาลและรูปแบบศาลปกครอง
3.
โครงสร้าง
3.1
โครงสร้างระบบศาล
3.2
โครงสร้างศาลปกครอง
4.
อำนาจหน้าที่
4.1
อำนาจหน้าที่ศาลปกครองสูงสุด
4.2 อำนาจหน้าที่ศาลปกครองชั้นอุทธรณ์
4.3 อำนาจหน้าที่ศาลปกครองชั้นต้น
5.
การบริหารงานบุคคล
5.1
คุณสมบัติของตุลาการในศาลปกครอง
5.2
หลักประกันของตุลาการในศาลปกครอง
6.
บทสรุป
บทที่
6 ศาลปกครองในประเทศไทย
1.
ความนำ
2.
รูปแบบ
2.1
ความเป็นมาของศาลปกครองไทย
2.2
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับศาลปกครองไทย
2.3
ระบบศาลและรูปแบบศาลปกครอง
3.
โครงสร้าง
3.1
โครงสร้างระบบศาล
3.2
โครงสร้างศาลปกครอง
4.
อำนาจหน้าที่
4.1
อำนาจหน้าที่ทั่วไปของศาลปกครอง
4.2
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครองสูงสุด
4.3
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครองครองชั้นต้น
5.
การบริหารงานบุคคล
5.1
ความสัมพันธ์กับฝ่ายนิติบัญญัติ
5.2
คุณสมบัติของตุลาการในศาลปกครอง
5.3
ความเป็นอิสระ
5.4
คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง
และ คณะกรรมการ
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
6.
บทสรุป
บทที่
7 วิเคราะห์เปรียบเทียบ
1.
ความนำ
2.
การวิเคราะห์เปรียบเทียบศาลปกครองของอังกฤษ
ฝรั่งเศส
เยอรมนี และไทย
2.1
วิเคราะห์เปรียบเทียบภาพรวมของระบบการเมืองการ
ปกครองและการบริหารที่เกี่ยวข้องกับศาลปกครอง
2.2 วิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบของศาลปกครอง
2.2.1
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับศาลปกครอง
2.2.2
ความเป็นมาของศาลปกครอง
2.2.3
ระบบศาลและรูปแบบศาลปกครอง
2.3 วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างของศาลปกครอง
2.3.1
โครงสร้างระบบศาล
2.3.2
โครงสร้างศาลปกครอง
2.4
วิเคราะห์เปรียบเทียบอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง
2.4.1 อำนาจหน้าที่ทั่วไปของศาลปกครอง
2.4.2
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครองสูงสุด
2.4.3
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครองชั้นอุทธรณ์
2.5
วิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของศาลปกครอง
2.5.1
คุณสมบัติและการแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครอง
2.5.2
หลักประกันของตุลาการในศาลปกครอง
3.
บทสรุป
บทที่
8 สรุปและข้อเสนอแนะ
1.
สรุป
2.
ข้อเสนอแนะ
ภาคผนวก
1.
กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับศาลปกครองของเยอรมนี
2.
ตารางเปรียบเทียบร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและ
วิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ.
.จำนวน 4 ร่าง
เฉพาะเรื่อง
รูปแบบและอำนาจหน้าที่
บรรณานุกรม
1.
ภาษาไทย
2.
ภาษาอังกฤษ
ประวัติผู้เขียน
|