คำนำ
ในอนาคตศาลรัฐธรรมนูญของไทยอาจได้รับยกย่องว่าเป็น
ครูของประเทศ
ดังเช่นสหรัฐอเมริกาที่ยกย่องศาลสูงสุดของประเทศ
(the United States Supreme Court)
ที่ทำหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญของประเทศด้วย
ว่าเป็น
ครูใหญ่ของประเทศ (Schoolmaster of
the Republic)
เนื่องจากศาลสูงสุดของประเทศพิจารณาพิพากษาคดีประมาณ
400 คดีต่อปี ในจำนวนนี้
เป็นคดีที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญประมาณร้อยละ
7 ซึ่งเท่ากับ 28 คดี ต่อปี
โดยในแต่ละคดีศาลสูงสุดของประเทศได้เขียนความเห็นของตน
(Courts written opinions)
หรือทำคำวินิจฉัยในส่วนของตนไว้ด้วย
ซึ่งความเห็นดังกล่าวนี้ได้รับการประเมินว่ามีคุณค่าอย่างยิ่งต่อระบบการเมืองและผลประโยชน์ของชาติ
แม้คำวินิจฉัยหรือความเห็นในบางคดีจะไม่ได้รับการยอมรับก็ตาม
ศาลรัฐธรรมนูญมีอยู่ในทุกประเทศทั่วโลก
โดยอาจเรียกว่าศาลรัฐธรรมนูญเหมือนกัน
หรือเรียกแตกต่างกันไป
ทั้งนี้เพราะทุกประเทศล้วนมีรัฐธรรมนูญ
ซึ่งอาจเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
และเมื่อใดที่เกิดข้อปัญหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญก็เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่อำนวยความยุติธรรมและปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ในบางประเทศเช่น ไทย
ศาลรัฐธรรมนูญได้มีส่วนช่วยปฏิรูปการเมืองการปกครองและการบริหารของประเทศด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น
ยังจะมีส่วนช่วยทำให้การปฏิบัติราชการของภาครัฐเป็นไปด้วยความรอบคอบและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ศาลรัฐธรรมนูญของแต่ละประเทศอาจมีโครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
และการบริหารงานบุคคลที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดจนความเป็นมาทางการเมืองการปกครองและการบริหารของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ศาลรัฐธรรมนูญในลักษณะที่มีฐานะเป็นศาลอย่างแท้จริงได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
การพิจารณาศึกษาศาลรัฐธรรมนูญของไทยพร้อมกับศาลรัฐธรรมนูญของต่างประเทศ
โดยเน้นด้านการบริหารการจัดการในเรื่องโครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
และการบริหารงานบุคคลจึงเป็นเรื่องที่น่าจะเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนไทย อย่างน้อยก็ในส่วนที่จะช่วยให้ภาครัฐและภาคเอกชนได้รับข้อมูลข่าวสารความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญในเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบเพิ่มขึ้น
และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในสภาพปัจจุบัน
ทั้งยังจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศาลรัฐธรรมนูญในอนาคตด้วย
มีเหตุผลหรือแรงจูงใจหลายประการที่ทำให้ผู้เขียนเขียนหนังสือเล่มนี้
ประการแรก ศาลรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องทันสมัย
น่าสนใจ
และสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศไทยที่เพิ่งมีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ประการที่สอง
หนังสือเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญของไทยและต่างประเทศมีจำนวนไม่มากเท่าที่ควร
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การพิจารณาศึกษาในเชิงการบริหารการจัดการ
ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศกับไทย
ยิ่งมีปรากฏให้เห็นน้อยมาก
ประการที่สาม
ผู้เขียนต้องการนำความรู้ทางด้านกฎหมายและด้านการบริหารการจัดการของศาลรัฐธรรมนูญมาผสมผสานกัน
เพราะสอดคล้องกับลักษณะเนื้อแท้ของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับด้านกฎหมาย
โดยเฉพาะกฎหมายมหาชน
และด้านการบริหารการจัดการซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญและจำเป็นที่จะช่วยให้การพิจารณาวินิจฉัยปัญหาของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความสุจริต เที่ยงธรรม
และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประการที่สี่
ความรู้เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญมิใช่เรื่องใหม่สำหรับนักวิชาการ แต่เป็นเรื่องใหม่สำหรับประชาชนทั่วไปที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ หนังสือเล่มนี้จึงพยายามบรรจุรายละเอียดทั้งที่เป็นความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ อันจะช่วยเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชน
และยังอาจช่วยให้ประชาชนไทยเกิดความภาคภูมใจ
เชื่อมั่น เลื่อมใส
ศรัทธาว่าศาลรัฐธรรมนูญไทยมีลักษณะของโครงสร้าง
อำนาจหน้าที่
และการบริหารงานบุคคลที่เป็นสากล
ประการสุดท้าย
ผู้เขียนต้องการให้เป็นหนังสือทางวิชาการที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ พร้อมทั้งเป็นหนังสือพื้นฐานสำหรับนำไปสู่การศึกษาหรือการทำวิจัยต่อไป
เนื่องจากได้ดำเนินการค้นคว้า
รวบรวม จัดระบบ วิเคราะห์
และนำเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากตำรา
หนังสือ และเอกสารต่าง ๆ
ที่นักวิชาการหรือนักวิจัยของไทยและต่างประเทศได้ทำไว้ อีกทั้งการพิจารณาศึกษามิใช่เป็นลักษณะของการวิเคราะห์เจาะลึกอย่างลึกซึ้งจนเกินความจำเป็น
ในการเขียนหนังสือเล่มนี้และอีกหลายเล่มก่อนหน้านี้ ผู้เขียนขอถือโอกาสขอบคุณบุคลากรของสำนักบรรณสารสนเทศหรือห้องสมุดกลางของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีตลอดมา
โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ท
(internet)
และให้ยืมหนังสือต่างประเทศที่ทันสมัยและมีอยู่มากเพียงพอ
ผู้เขียนระลึกอยู่เสมอว่า
การเขียนหนังสือที่อ่านและเข้าใจยากจะไม่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมเท่าที่ควร
ดังนั้น
จึงพยายามเขียนในลักษณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านกฎหมายและด้านการบริหารการจัดการ
โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและประชาชนไม่มากก็น้อย
หากมีข้อบกพร่องประการใด
ผู้เขียนยินดีน้อมรับและจะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
มิถุนายน 2544
สารบัญ
คำนำ
สารบัญ
สารบัญภาพ
สารบัญตาราง
บทที่
1 บทนำ
1.
ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา
2.
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
3.
ขอบเขตและข้อจำกัดของการศึกษา
4.
ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.
กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา
6. คำจำกัดความ
7. ระเบียบวิธีศึกษา
8.
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา
9. บทสรุป
บทที่
2 ศาลรัฐธรรมนูญ
1. ความนำ
2. ระบบกฎหมายโลก
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ
และประเภท
ของรัฐธรรมนูญ
3. ความหมายของศาลรัฐธรรมนูญ
4.
ความสำคัญและความจำเป็นของศาลรัฐธรรมนูญ
5.
แนวคิดสำคัญที่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
6.
โครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญ
7.
อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
8.
การบริหารงานบุคคลของศาลรัฐธรรมนูญ
9. บทสรุป
บทที่
3 ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศไทย
1. ความนำ
2. โครงสร้าง
2.1 โครงสร้างระบบศาล
2.2 โครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญ
3. อำนาจหน้าที่
4. การบริหารงานบุคคล
4.1
คุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
4.2
หลักประกันของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
5. บทสรุป
บทที่
4 ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศสหรัฐอเมริกา
1. ความนำ
2. โครงสร้าง
2.1 โครงสร้างระบบศาล
2.2
โครงสร้างศาลสูงสุดของประเทศ
3. อำนาจหน้าที่
4. การบริหารงานบุคคล
4.1
คุณสมบัติของตุลาการศาลสูงสุดของประเทศ
4.2
หลักประกันของตุลาการศาลสูงสุดของประเทศ
5. บทสรุป
บทที่
5 ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศอังกฤษ
1. ความนำ
2. โครงสร้าง
2.1 โครงสร้างระบบศาล
2.2 โครงสร้างศาลสภาขุนนาง
3. อำนาจหน้าที่
4. การบริหารงานบุคคล
4.1
คุณสมบัติของตุลาการศาลสภาขุนนาง
4.2
หลักประกันของตุลาการศาลสภาขุนนาง
5. บทสรุป
บทที่
6 ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศฝรั่งเศส
1. ความนำ
2. โครงสร้าง
2.1 โครงสร้างระบบศาล
2.2
โครงสร้างคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
3. อำนาจหน้าที่
4. การบริหารงานบุคคล
4.1
คุณสมบัติของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
4.2 หลักประกันของคณตุลาการรัฐธรรมนูญ
5. บทสรุป
บทที่
7 ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศเยอรมนี
1. ความนำ
2. โครงสร้าง
2.1 โครงสร้างระบบศาล
2.2 โครงสร้างศาลรัฐธรรมนูญ
3. อำนาจหน้าที่
4. การบริหารงานบุคคล
4.1
คุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
4.2
หลักประกันของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
5. บทสรุป
บทที่
8 ศาลรัฐธรรมนูญในประเทศญี่ปุ่น
1. ความนำ
2. โครงสร้าง
2.1 โครงสร้างระบบศาล
2.2 โครงสร้างศาลสูงสุด
3. อำนาจหน้าที่
4. การบริหารงานบุคคล
4.1
คุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
4.2
หลักประกันของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
5. บทสรุป
บทที่
9
การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
1. ความนำ
2.
การวิเคราะห์ศาลรัฐธรรมนูญของไทยและต่างประเทศ
2.1 การวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิด
2.1.1
ภาพรวมของระบบการเมืองการปกครองและ
การบริหารของประเทศ
2.1.2 ระบบศาล
2.1.3
โครงสร้างระบบศาลของประเทศ
2.1.4
แนวคิดสำคัญที่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ
2.1.5
ความเป็นมาของศาลรัฐธรรมนูญ
2.2
การวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญ
2.3
การวิเคราะห์เปรียบเทียบอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
2.4
การวิเคราะห์เปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของ
ศาลรัฐธรรมนูญ
2.4.1
คุณสมบัติและการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
2.4.2
หลักประกันของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
3. บทสรุป
บทที่
10 สรุปและข้อเสนอแนะ
1. สรุป
2. ข้อเสนอแนะ
ภาคผนวก
รายชื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญที่แต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2489 ถึงรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2534
บรรณานุกรม
1. ภาษาไทย
2. ภาษาอังกฤษ
ประวัติผู้เขียน
|