หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 

 

 

คำนำ
 

            ในการเขียนหนังสือ “กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย : ปัญหา แนวทางแก้ไข และแนวโน้มของกฎหมายในอนาคต” ครั้งนี้ มีความเชื่อพื้นฐานว่า หลังจากรัฐสภาพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารรราชการไทยและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทำให้ร่างกฎหมายฉบับนั้นมีผลใช้บังคับ แต่หลังจากนำกฎหมายไปใช้บังคับระยะหนึ่ง  ย่อมเกิดปัญหาขึ้นบ้างเช่น การบังคับใช้กฎหมายนั้นไม่ได้ผลเท่าที่ควร ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ และ/หรือ เกิดจากบทบัญญัติของกฎหมายนั้นมีข้อบกพร่อง ไม่ทันสมัย หรือไม่เป็นสากล หนังสือเล่มนี้จึงมุ่งศึกษาภาพรวมของปัญหา แนวทางแก้ไข และแนวโน้มของกฎหมายในอนาคตพร้อมกันไปด้วย ทั้งนี้ ได้นำรัฐธรรมนูญและกฎหมายมหาชนที่สำคัญ รวม 8 ฉบับ เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาเป็นกรณีศึกษา

             วัตถุประสงค์ประการสำคัญของการเขียนหนังสือนี้ คือ ช่วย เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทยต่อประชาชน และผู้สนใจทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้สามารถต่อสู้แข่งขันหรือเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกับหน่วยงานของเอกชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วโปร่งใส และตรวจสอบได้ รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) มาตรา 70 ที่ว่า  เจ้าหน้าที่ของรัฐ "มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชน..…"

           หนังสือเล่มนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายมหาชนที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจำเป็นต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ รวมทั้งความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเมืองการปกครองและการบริหาร ตลอดจนวิชาการบริหารจัดการภาครัฐ ทั้งนี้ เป็นลักษณะของการผสมผสานความรู้ด้านกฎหมาย รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์เข้าด้วยกันภายใต้สภาพแวดล้อมของยุคปฏิรูปการเมืองการปกครองและการ บริหาร ยุคปฏิรูประบบราชการ และยุคเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์หรือพยากรณ์แนวโน้มของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทยในอนาคตไว้ด้วย     วิธีการเขียนหนังสือเล่มนี้ เป็นลักษณะของหนังสือหรือตำราทางวิชาการ พร้อมภาพและตารางตามความเหมาะสม

            การนำเสนอหนังสือ แบ่งเป็น 4 บท บทแรก เป็นบทนำมุ่งเสนอกระบวนการศึกษา บทที่ 2 เป็นความรู้พื้นฐานของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย บทที่ 3 ปัญหาและแนวทางแก้ไขบทสุดท้ายคือบทที่ 4 เป็นแนวโน้มของกฎหมายในอนาคต ส่วนสำคัญของหนังสือเล่มนี้คือ การพิจารณาศึกษากฎหมายในมุมมองของนักบริหารด้วย  พร้อมกับนำแนวคิดการบริหารจัดการคือ 6M ซึ่งประกอบด้วย บุคลากร (Man) การเงิน (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Material) การบริหารงานทั่วไป (Management) การให้บริการประชาชน (Market) และจริยธรรม (Morality) มาปรับใช้ เพราะจะมีส่วนช่วยให้การพิจารณาศึกษาแนวโน้มของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทยเข้าใจง่าย ชัดเจน ครอบคลุม และเป็นระบบมากขึ้น

            หนังสือเล่มนี้ใช้เวลาเขียน 2 เดือน หากในอนาคตมีข้อบกพร่องเกิดขึ้น ผู้เขียนยินดีน้อมรับเพื่อนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมในครั้งต่อไป ส่วนความดีถ้ามีขึ้น ขอมอบให้ นางสาววรรณวิรัช
วิรัชนิภาวรรณ บุตรสาววัย 15 ปี ที่ไม่มีโอกาสให้กำลังใจ เนื่องจากให้ความสนใจและรับผิดชอบเรื่องการเรียน การเตรียมตัวสอบชิงทุน และทำกิจกรรมของโรงเรียนอย่างมาก

 

                                               วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

                                               สาขาวิชาวิทยาการจัดการ

                                               มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                                               ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอ ปากเกร็ด

                                               จังหวัด นนทบุรี 11120

                                               โทรศัพท์ 02-504-7777- ต่อ 8181-5

                                                เว็บไซท์ : www.wiruch.com

                                                e-mail address : msaswwir@stou.ac.th

                                                หรือ wiruch@wiruch.com

                                                28 ธันวาคม 2546

 

                                        

                           สารบัญ

คำนำ

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

     1. วัตถุประสงค์

     2. ขอบเขตของการศึกษา

          2.1 ความหมาย

          2.2 การจัดแบ่งกฎหมายและเหตุผลของการจัดแบ่ง

          2.3 กฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย

     3. แนวทางการนำเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการ 

     4. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา

บทที่ 2 ความรู้พื้นฐานของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย

     1. แนวคิดและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรัฐ

          1.1 ความหมายและองค์ประกอบของรัฐ

          1.2 ลักษณะของรัฐ

          1.3 ระบบการเมืองการปกครองและการบริหารของรัฐ

          1.4 อำนาจอธิปไตยและการแบ่งการใช้อำนาจอธิปไตย

          1.5 ความสัมพันธ์ขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ

     2. แนวคิดและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย

             2.1 กฎหมายธรรมชาติ

          2.2 ความหมายและองค์ประกอบของกฎหมาย

          2.3 ระบบกฎหมายโลก

          2.4 ประเภทของกฎหมาย

          2.5 องค์กรที่มีอำนาจออกฎหมาย

          2.6 รัฐธรรมนูญ

     3. แนวคิดและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารราชการ

            3.1 การจัดระเบียบบริหารราชการ

          3.2 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

          3.3 จริยธรรมในการบริหารราชการ

บทที่ 3 ปัญหาและแนวทางแก้ไขของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย

      1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540)

     2. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

     3. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

     4. พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484

     5. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457

     6. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496

     7. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537

     8. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528

บทที่ 4 แนวโน้มของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย

     1. ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการกำหนดแนวโน้มของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการ

          1.1  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540)

          1.2 นโยบายของรัฐบาล

          1.3  ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี

          1.4 สถานการณ์บ้านเมือง

          1.5  ภาวะวิกฤตหรือความจำเป็นรีบด่วน

          1.6  การใช้สิทธิเสนอร่างกฎหมาย

          1.7  อิทธิพลของกระแสโลก

          1.8  การแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในภูมิภาค และโลก

     2. แนวโน้มของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการ

            2.1  ด้านบุคลากร

          2.2  ด้านการเงิน

          2.3  ด้านวัสดุอุปกรณ์

          2.4  ด้านการบริหารงานทั่วไป

          2.5  ด้านการให้บริการประชาชน

          2.6  ด้านจริยธรรม

บรรณานุกรม