คำนำ
แม้กระทั่งทุกวันนี้ ยังไม่มีนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญคนใดที่สามารถให้ความหมายคำว่า รัฐประศาสนศาสตร์และแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ให้เป็นสากลหรือเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ นอกจากนี้ การศึกษาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย มีได้หลายแนวทาง
ขึ้นอยู่กับผู้รู้หรือผู้เขียนแต่ละคนว่ามีจุดมุ่งหมายหรือยึดถือแนวทางใด เช่น ในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย : ผลงานของนักวิชาการไทยสมัยใหม่ โดยศึกษาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ของนักวิชาการไทยด้านรัฐประศาสนศาสตร์ที่เขียนแสดงผลงานของตนไว้ในหนังสือ บทความ หรือเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ เป็นต้น
การศึกษา เรื่อง แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ. 2540) และรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญ มุ่งพิจารณาศึกษาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญโดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
หรือคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้ร่วมกันยกร่างและผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา
รัฐธรรมนูญนั้นเป็นกฎหมายแม่บทหรือกฎหมายสูงสุดของประเทศ กฎหมายทั้งหลายของประเทศที่เปรียบเสมือน เป็นกฎหมายลูก ไม่ว่าจะตราออกมาก่อนหรือหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ต้องมีบทบัญญัติที่สอดคล้องกับ
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
จะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ และหากมีปัญหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย
ยิ่งไปกว่านั้น หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องนำบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไปเป็นแนวทางในการบริหารราชการแผ่นดินหรือปฏิบัติราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชน
การศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นอีกมุมมองหรืออีกแนวทางหนึ่งที่แตกต่างจากผลงานทางวิชาการด้านรัฐประศาสนศาสตร์ในอดีต โดยยังไม่นับรวมถึงการนำวิชาความรู้ด้านกฎหมายมหาชนมาผสมผสานกับความรู้ด้านรัฐประศาสนศาสตร์อีกด้วย การศึกษาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์นั้นมุ่งเน้นในส่วนที่เกี่ยวกับภายในและภายนอกองค์กรเฉพาะที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น
ภายในองค์กร หมายถึง มุ่งศึกษาเรื่องโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และกระบวนการบริหารจัดการซึ่งประกอบด้วยการบริหารงาน
คน และเงินที่เกี่ยวกับภายในองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ ส่วนภายนอกองค์กร หมายถึงศึกษาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนและชุมชน รวมตลอดถึงภาคเอกชนและองค์การเอกชน
พร้อมกันนั้น ยังนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(พ.ศ. 2540) ไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญฉบับสำคัญอื่นซึ่งรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ
อย่างไรก็ตาม อาจเป็นไปได้ที่คณะบุคคลที่ร่วมกันยกร่างรัฐธรรมนูญของไทย
ไม่เคยคิดที่จะนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ทั้งภายในและภายนอกองค์กรดังกล่าวไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากแนวคิดในเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องพื้นฐานที่รู้จักคุ้นเคยกันทั่วไป หรือไม่อาจชี้เฉพาะได้ว่าเป็นแนวคิดทางวิชาการของสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ประกอบกับนักวิชาการบางสาขา เช่น
กฎหมายมหาชน หรือรัฐศาสตร์ อาจมองว่าเป็นแนวคิดของสาขาวิชาตนได้เช่นกัน
แต่ในที่นี้ผู้ศึกษาได้ใช้มุมมองด้านรัฐประศาสนศาสตร์เป็นหลักในการศึกษา วิเคราะห์ และเปรียบเทียบ โดยจะนำความรู้ด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์มาเป็นส่วนเสริม ทั้งนี้ คาดหวังว่าจะเกิดประโยชน์ทางวิชาการ
เช่น เป็นการพัฒนาแนวคิดและช่วยเพิ่มคุณค่าของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ให้เป็นวิชาชีพมากขึ้นเพราะแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้ถูกนำไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน นอกจากนี้
ยังจะเกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติด้วย เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีพื้นฐานความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์จะเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น และสำหรับของประชาชน หากนำไปแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ไปศึกษาจะได้รับความรู้ความเข้าใจการบริหารราชการแผ่นดิน
โดยเฉพาะเรื่องโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และกระบวนการบริหารจัดการของหน่วยงานของรัฐ
การศึกษาครั้งนี้เป็นลักษณะของการวิจัยเอกสาร ใช้เวลาดำเนินงานประมาณ 2 เดือน จึงอาจมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ศึกษาจะรวบรวมและนำไปแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป สำหรับข้อดีถ้าเกิดมีขึ้น
ผู้เขียนขอมอบให้แก่นักศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ โดยเฉพาะผู้ที่มีจิตใจและการกระทำที่คิดและทำนอกกรอบเพื่อส่วนรวมในทิศทางที่ดีหรือคาดว่าดีกว่าเดิม แม้จะได้รับแรงต่อต้านก็ควรมีจิตใจแน่วแน่มั่นคงไม่ท้อถอย ในเวลาเดียวกัน ผู้ศึกษาไม่ลืมที่จะมอบความดีนี้ให้แก่
นางสาววรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ ลูกสาวที่ตั้งใจเล่าเรียนหนังสือ นำความภาคภูมิใจมาสู่พ่อแม่ และยังได้รับการปลูกฝังให้มีความคิดและการกระทำเพื่อสังคมอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ถนนแจ้งวัฒนะ
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
โทรศัพท์ 02-504-7777 ต่อ 8181-5
เว็บไซท์ :
www.wiruch.com
e-mail address :
msaswwir@stou.ac.th
หรือ
wiruch@wiruch.com
29 กุมภาพันธ์ 2547
สารบัญ
คำนำ
สารบัญ
สารบัญภาพ
สารบัญตาราง
บทที่ 1
บทนำ
1. ความสำคัญของเรื่องที่ศึกษา
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
3. ขอบเขตของการศึกษา
4. ข้อจำกัดของการศึกษา
5. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา
7. ระเบียบวิธีการศึกษา
8. คำจำกัดความ
9. ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษา
10. สรุป
บทที่ 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ไทย
1. การให้ความหมายของคำหรือถ้อยคำในทางสังคมศาสตร์
2. กลุ่มคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับแนวคิด
3.
การจัดแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษา
4. สรุป
บทที่ 3 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ไทยในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ. 2540)
1. แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับภายในองค์กร
1.1 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่
1.2
แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับกระบวนการบริหารจัดการ
2. แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับภายนอกองค์กร
2.1 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับประชาชนและชุมชน
2.2 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับภาคเอกชนและองค์การเอกชน
3. สรุป
บทที่ 4 วิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับสำคัญ
7 ฉบับ
1. รัฐธรรมนูญไทย 16 ฉบับ
2. การวิเคราะห์เปรียบเทียบ
3. สรุป
บทที่ 5 ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
1. บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในอดีต
2. นโยบายของรัฐบาล ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
3 สมาชิกรัฐสภา และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
4. การเรียกร้องของประชาชน
5. สถานการณ์บ้านเมือง
6. อิทธิพลของกระแสโลก
7. การแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในภูมิภาค และโลก
8. สรุป
บรรณานุกรม
|