คำนำ
ปัจจุบันมีนักศึกษาเป็นจำนวนมากสมัครเรียนหลักสูตรปริญญาโทด้านสังคมศาสตร์
ในการเรียนปริญญาโทนั้น
จำเป็นต้องตอบข้อสอบด้วยการเขียนบรรยาย เขียนรายงาน รวมทั้งทำวิทยานิพนธ์
หรือเลือกทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ
มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่ประสบปัญหาในการตอบข้อสอบ
บางคนตอบโดยใช้ความรู้สึกของตนเอง
ถามแค่ไหนก็ตอบไปแค่นั้น ไม่มีการอ้างอิงหลักวิชาการหรือจัดระบบความคิดหรือนำกรอบแนวคิดทางสังคมศาสตร์มาปรับใช้เพื่อให้คำตอบนั้น มีน้ำหนัก น่าเชื่อถือ และเป็นวิชาการเพิ่มมากขึ้นในส่วนของการทำรายงาน การทำวิทยานิพนธ์ หรือทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ นักศึกษาบางส่วนยังไม่เข้าใจถึงการนำกรอบแนวคิดมาปรับใช้เพื่อให้ผลงานเขียนมีคุณค่ามากขึ้น
ผู้เขียนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว อีกทั้งหนังสือเกี่ยวกับแนวทางการตอบข้อสอบและการนำกรอบแนวคิดทางสังคมศาสตร์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกมีน้อย ประกอบกับผู้เขียนได้เขียนหนังสือและทำวิจัยไว้หลายเล่ม ในแต่ละเล่มมีการจัดระบบความคิดพร้อมกับกำหนดกรอบแนวคิดทางวิชาการไว้ด้วยเสมอ
ด้วยเหตุผลเหล่านี้
จึงเป็นที่มาของการเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น
หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหากะทัดรัด
ประกอบด้วย 20 ตัวแบบ
และได้เพิ่มเทคนิคการเขียนงานวิจัยและวิทยานิพนธ์
รวมทั้งการเขียนอ้างอิงทางวิชาการ
ไว้ในภาคผนวกด้วย
โดยในแต่ละส่วนได้ยกตัวอย่างเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการนำไปปรับใช้
การเขียนครั้งนี้ใช้เวลาไม่มากประมาณ 2 เดือน จึงอาจมีข้อบกพร่องเกิดขึ้นได้ ผู้เขียนจะรวบรวมและนำไปแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป
สำหรับข้อดีของหนังสือนี้ ถ้าเกิดมีขึ้น ผู้เขียนขอมอบให้แก่นางสาววรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ ที่สอบทุนเล่าเรียนหลวงได้และกำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อ
พร้อมกันนี้
ขอมอบให้นักศึกษาที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำให้วิชาการทางสังคมศาสตร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
รัฐประศาสนศาสตร์ของไทยเป็นสากล
เป็นวิชาชีพที่มีระบบ
เป็นวิชาการ
และได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้น
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ถนนแจ้งวัฒนะ
อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทรศัพท์ 02-504-8181-4 เว็บไซต์: www.wiruch.com;
e-mail address: wiruch@wiruch.com
1 เมษายน 2548
สารบัญ
คำนำ
สารบัญ
สารบัญภาพ
เนื้อเรื่อง
1.
การสรุปประเด็นคำถาม
2.
การนำเสนอแนวคิด ทฤษฎี
หลักการ หรือหลักกฎหมาย
3.
การนำกรอบแนวคิดทางวิชาการมาใช้
3.1 การจัดกลุ่มปัญหา
3.2
การนำกรอบแนวคิดทางวิชาการที่เป็นตัวแบบมาใช้ในการวิเคราะห์
ตัวแบบที่ 1 กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วยแนวทาง วิถีทาง หรือ
มรรควิธี
(means)
ที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทาง
(end)
ตัวแบบที่ 2 กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วย เหตุ (cause) ผล (effect) และผลกระทบ
(impact)
ตัวแบบที่ 3 กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า (input)
กระบวนการปรับ
เปลี่ยน (process) และปัจจัยนำออก (output)
เรียกย่อว่า ไอโป้ (IPO)
ตัวแบบที่ 4 กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วย ปัญหา (problem) สาเหตุ
(cause) และ
แนวทางแก้ไข (suggestion)
หรือเรียกว่า
กระบวนการพิจารณา
แก้ไขปัญหา
ตัวแบบที่ 5 กรอบแนวคิดที่แบ่งเป็น
2 ฝ่าย และ 3 ฝ่าย
ตัวแบบที่ 6 กรอบแนวคิดที่แบ่งกระบวนการเป็น
3 ขั้นตอนใหญ่
ตัวแบบที่ 7 กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งระดับ
แบบ 1 ตัวแปร
ตัวแบบที่ 8 กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งระดับ
แบบ 2
ตัวแปรเพื่อระบุระดับ
ขีดความ
สามารถและเปรียบเทียบ
ตัวแบบที่ 9 กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหน่วยงาน
และแนวโน้มของการพัฒนา
ตัวแบบที่ 10 กรอบแนวคิดของทฤษฎีระบบ
ตัวแบบที่ 11 กรอบแนวคิดที่แสดงระบบย่อยหลายระบบที่มีความสัมพันธ์กัน
และมีลักษณะร่วมกัน
ตัวแบบที่ 12 กรอบแนวคิดที่แสดงระบบย่อยและระบบใหญ่
ตัวแบบที่ 13 กรอบแนวคิดที่เรียกว่า สวอท
(SWOT) ซึ่งประกอบด้วย จุดแข็ง
(Strength) จุดอ่อน (Weakness) โอกาส (Opportunity)
และข้อจำกัดหรืออุปสรรค
(Threat)
ตัวแบบที่ 14 กรอบแนวคิดที่แสดงองค์ประกอบ
ตัวแบบที่ 15 กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งเป็นตัวแปรอิสระ (เหตุ)
และตัวแปรตาม
(ผล)
ที่มีความสัมพันธ์ทางเดียว
ตัวแบบที่ 16 กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งเป็นตัวแปรอิสระ (เหตุ)
และตัวแปรตาม
(ผล) ที่มีความสัมพันธ์ 2 ทาง
ตัวแบบที่ 17 กรอบแนวคิดที่นำแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ใหญ่
(general)
หรือหลัก
การสำคัญที่เกิดขึ้นทั่วไป
มาเป็นแนวทางสำหรับอธิบายหรือ
กำหนดแนวคิดหรือหลักเกณฑ์
ส่วนย่อย
(specific) หรือ เรียกว่า นิรนัย (deductive)
ตัวแบบที่ 18 กรอบแนวคิดที่นำแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ส่วนย่อย
(specific) มา
เป็นแนวทางสำหรับอธิบายหรือ
กำหนดแนวคิดหรือหลักเกณฑ์
ใหญ่ (general) หรือหลักการสำคัญที่เกิดขึ้นทั่วไป
ตัวแบบที่ 19 กรอบแนวคิดในรูปของสมการ
ตัวแบบที่ 20 กรอบแนวความคิดที่เรียกว่า
ไอเทอมส์ เอ็น (ITERMS,
N) ซึ่งแบ่ง
เป็นตัวแปรอิสระหลายตัวและตัวแปรตามหลายตัว
4.
การวิเคราะห์ สรุป
และเสนอข้อเสนอแนะ
5.
การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ทางรัฐประศาสนศาสตร์
บรรณานุกรม
ภาคผนวก
ผนวก
1
เทคนิคการเขียนงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
ผนวก 2
การเขียนอ้างอิงทางวิชาการ
สารบัญภาพ
ภาพที่
1 กลุ่มคำที่มีความหมายใกล้เคียงกับแนวคิด โดยนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์
ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาเป็นตัวอย่าง
2
การจัดกลุ่มปัญหาโดยนำปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการ
3 ด้าน 4 ด้าน และ
6
ด้าน มาใช้
3 กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วยแนวทาง
วิถีทาง หรือมรรควิธี
ที่จะนำไปสู่จุดหมายปลายทาง
โดยนำขั้นตอนการตอบข้อสอบและกรอบแนวคิดทางสังคมศาสตร์
มาเป็นตัวอย่าง
4 กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วยแนวทาง
วิถีทาง หรือมรรควิธี
ที่จะนำไปสู่จุดหมายปลาย
ทาง โดยนำหัวใจของคำสอนของพุทธศาสนา
มาเป็นตัวอย่าง
5 กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วยแนวทาง
วิถีทาง หรือ
มรรควิธีที่นำไปสู่จุดหมายปลายทาง
โดยนำการบริหารการพัฒนา
มาเป็นตัวอย่าง
6 กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วยเหตุ
ผล และผลกระทบ
โดยนำความสัมพันธ์ของเหตุหรือสาเหตุ
ผล และผลกระทบของแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ในรัฐธรรมนูญไทย
มาเป็นตัวอย่าง
7
กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วย เหตุ
ผล และผลกระทบ โดยนำจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
มาเป็นตัวอย่าง
8
กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วย เหตุหรือสาเหตุ
ผล และผลกระทบ
โดยนำการพิทักษ์ความ
ศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ
มาเป็นตัวอย่าง
9
กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า
กระบวนการปรับเปลี่ยน
และปัจจัยนำออก
โดย
นำแนวทางหรือวิธีการบริหารจุดเน้นและจุดหมายปลายทางที่แบ่งเป็นจุดหมายปลายทาง
เบื้องต้นและจุดหมายปลายทางสูงสุดของแนวทางหรือวิธีการบริหาร
จำนวน 5 แบบ
มาเป็น
ตัวอย่าง
10 กรอบแนวคิดที่ประกอบด้วย ปัญหา สาเหตุ
และแนวทางแก้ไข
หรือเรียกว่ากระบวนการ
พิจารณาแก้ไขปัญหา
โดยนำภาพรวมปัญหา สาเหตุ
และแนวทางแก้ไขของเทศบาลไทยที่
จัดกลุ่มปัญหาด้วย
6M มาเป็นตัวอย่าง
11
กรอบแนวคิดที่แบ่งเป็น
2 ฝ่าย และ 3 ฝ่าย
12 กรอบแนวคิดที่แบ่งกระบวนการเป็น
3 ขั้นตอนใหญ่
13
กรอบแนวคิดที่แบ่งกระบวนการเป็น
3 ขั้นตอนใหญ่
โดยนำขั้นตอนการกำหนดนโยบาย
ของ เจมส์ อี. แอนเดอร์สัน และ
โทมัส อาร์. ดาย
มาเปรียบเทียบเป็นตัวอย่าง
14
กรอบแนวคิดที่แบ่งกระบวนการเป็น
3 ขั้นตอนใหญ่
โดยนำขั้นตอนการวิเคราะห์การ
บริหารโครงการ
มาเปรียบเทียบเป็นตัวอย่าง
15 กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งระดับ
แบบ 1 ตัวแปร โดยนำระดับการกระจายอำนาจของรัฐบาล
กลางหรือรัฐบาลในส่วนกลางให้แก่รัฐบาลในท้องถิ่นของต่างประเทศและไทย
มา
เปรียบเทียบเป็นตัวอย่าง
16 กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งระดับ
แบบ 2 ตัวแปร
เพื่อระบุระดับ
ขีดความสามารถและ
เปรียบเทียบโดยนำระดับความเป็นประชาธิปไตย และระดับการกระจายอำนาจของสหรัฐ
อเมริกา
อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย
มาเปรียบเทียบเป็นตัวอย่าง
17 กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งระดับ
แบบ 2 ตัวแปร
เพื่อระบุระดับ
ขีดความสามารถและ
เปรียบเทียบ โดยนำระดับการเจริญเติบโตของสินค้าส่งออก
และระดับการขยายตัวของ
ส่วนแบ่งของสินค้าที่ส่งออก
มาเปรียบเทียบเป็นตัวอย่าง
18 กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหน่วยงาน และแนวโน้มของการ
พัฒนาโดยนำการพัฒนาการบริหารเมืองหลวงรูปแบบกรุงเทพมหานครมาเป็นตัวอย่าง
19 กรอบแนวคิดของทฤษฎีระบบ โดยนำระบบข้าราชการ
ระบบนักการเมือง
และระบบ
ประชาชน มาเป็นตัวอย่าง
20 กรอบแนวคิดที่แสดงระบบย่อยหลายระบบที่มีความสัมพันธ์กัน
และมีลักษณะร่วมกัน
โดยนำระบบเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง และการบริหาร
มาเป็นตัวอย่าง
21 กรอบแนวคิดที่แสดงระบบย่อยและระบบใหญ่หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งแบ่งเป็นสภาพ
แวดล้อมภายในและภายนอกประเทศ
ด้านเศรษฐกิจ สังคม
การเมืองการปกครอง
และ
การบริหาร
โดยนำปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายของรัฐบาลไทย
มาเป็น
ตัวอย่าง
22 กรอบแนวคิดที่แสดงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของหน่วยงานด้วย
สวอท (SWOT)
ซึ่งประกอบด้วย จุดแข็ง
จุดอ่อน โอกาส
และข้อจำกัดหรืออุปสรรค
สภาพแวดล้อม
แบ่ง
เป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
โดยนำแนวทางการพัฒนาการปกครองท้องถิ่น
รูปแบบกรุงเทพมหานคร
ในเรื่องรูปแบบ
โครงสร้างและอำนาจหน้าที่
มาเป็นตัวอย่าง
23
กรอบแนวคิดที่แสดงองค์ประกอบของเรื่อง
หรือปัจจัยต่าง ๆ
ที่ศึกษา
โดยนำ
องค์ประกอบของรัฐ อำนาจอธิปไตยของไทย
และกฎหมาย
มาเป็นตัวอย่าง
24
กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งเป็นตัวแปรอิสระ
(เหตุ) และตัวแปรตาม (ผล)
โดยนำความเชื่อ
พื้นฐานเกี่ยวกับศาลปกครองไทย
มาเป็นตัวอย่าง
25
กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งเป็นตัวแปรอิสระ
(เหตุ) และตัวแปรตาม (ผล)
โดยนำปัจจัยที่มีส่วน
สำคัญต่อการกำหนดแนวโน้มของกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการ
จำนวน 8 ปัจจัย
มาเป็นตัวอย่าง
26 กรอบแนวคิดที่จัดแบ่งเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่มีความสัมพันธ์
2
ทางโดยนำ
แนวคิดเกี่ยวกับค่านิยม มาเป็นตัวอย่าง
27 กรอบแนวคิดที่นำแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ใหญ่
หรือหลักการสำคัญที่เกิดขึ้นทั่วไปมาเป็น
แนวทางสำหรับอธิบายหรือกำหนดแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ส่วนย่อย โดยนำการวิเคราะห์
เปรียบเทียบศาลปกครองไทยกับต่างประเทศ
มาเป็นตัวอย่าง
28 กรอบแนวคิดที่นำแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ใหญ่
หรือหลักการสำคัญที่เกิดขึ้นทั่วไปมาเป็น
แนวทางสำหรับอธิบายหรือกำหนดแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ส่วนย่อย โดยนำการวิเคราะห์
เปรียบเทียบผู้ว่าราชการจังหวัดของไทยกับต่างประเทศมาเป็นตัวอย่าง
29 กรอบแนวคิดที่นำแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ส่วนย่อยมาเป็นแนวทางสำหรับอธิบายหรือ
กำหนดแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ใหญ่ หรือหลักการสำคัญที่เกิดขึ้นทั่วไป โดยนำการ
เปรียบเทียบการจัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในอนาคตของจังหวัดนนทบุรี
นครราชสีมา และระนอง
กับของประเทศไทย
มาเป็นตัวอย่าง
30 กรอบแนวคิดที่นำแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ส่วนย่อยมาเป็นแนวทางสำหรับอธิบายหรือ
กำหนดแนวคิดหรือหลักเกณฑ์ใหญ่ หรือหลักการสำคัญที่เกิดขึ้นทั่วไป
โดยนำการ
วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 6 เรื่อง
กับแนวทางคำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญในอนาคต
มาเป็นตัวอย่าง
31
กรอบแนวคิดที่เรียกว่า
ไอเทอมส์ เอ็น (ITERMS, N)
ซึ่งแบ่งเป็น
ตัวแปรอิสระหลายตัว
และตัวแปรตามหลายตัว
32 การวิเคราะห์ลักษณะผู้นำและวิธีการบริหารจัดการของนักบริหาร
2 คน โดยนำหลัก
วิชาการหรือกรอบแนวคิด
มาปรับใช้
33 การวิเคราะห์ลักษณะผู้นำและวิธีการบริหารจัดการของนักบริหาร
2 คน และนักบริหารใน
อนาคต |