หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 

 

 

  

 

 

คำนำ
 

          โดยทั่วไป องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุมและวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญมี 3 องค์กร ได้แก่ (1) องค์กรทางการเมือง เช่น คณะกรรมการรัฐธรรมนูญ หรือคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรที่กำหนดให้ข้าราชการการเมืองเข้ามามีส่วนสำคัญในการทำหน้าที่ดังกล่าว  (2) ศาลยุติธรรม เป็น
องค์กรที่ให้อำนาจแก่ศาลฎีกา หรือศาลสูงสุด  และ
(3) ศาลพิเศษ เป็นองค์กรที่ให้อำนาจแก่ศาลรัฐธรรมนูญ สำหรับประเทศไทยเคยกำหนดให้ศาลยุติธรรมและคณะตุลาการ
รัฐธรรมนูญทำหน้าที่ดังกล่าวมาแล้ว จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540 ประกาศใช้ ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่
ดังกล่าว

          รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้กำหนดโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐตลอดจนความสัมพันธ์ของอำนาจขององค์กรของรัฐไว้หลายองค์กร เป็นต้นว่า ศาล
รัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รัฐธรรมนูญยังได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่กว้างขวางมากอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ โดยครอบคลุมอำนาจในการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของความเป็นกฎหมายสูงสุดแห่งรัฐธรรมนูญ การปกป้องรักษาสิทธิเสรีภาพของประชาชน การพิจารณาวินิจฉัยว่ากฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมตลอดถึงการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาความขัดแย้งระหว่างองค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาด และมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ

          ความสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญยิ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและประชาชนได้ใช้สิทธิเสรีภาพ อย่างกว้างขวาง ประกอบกับการใช้อำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญบางองค์กรได้เกิดข้อโต้แย้งเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จึงนำไปสู่การยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย และศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยออกมาทุกปี โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญรวมทั้งคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อคู่กรณีและประชาชน ทั้งในทางผลแห่งคดีและในทางวิชาการ

          จากความเป็นมาและความสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวนี้ มีส่วนสำคัญทำให้คณะผู้ศึกษาวิจัยทำการศึกษาวิจัย เรื่อง “การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" อย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และ ครั้งที่ 3 จนกระทั่งถึงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 4 นี้ โดยคณะผู้ศึกษาวิจัยได้ดำเนินงานโดยยึดถือแนวทางเดิมเป็นหลักเพราะเป็นการโครงการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง และต้องการให้สอดคล้องเป็นระบบเดียวกัน อย่างไรก็ดี มีหลายส่วนที่เพิ่มเติม เช่น (1) การพิสูจน์สมมติฐานเดิมเพื่อสนับสนุนหรือคัดค้านซ้ำ และยังพิสูจน์สมมติฐานใหม่เพิ่มขึ้นอีก (2) การจัดทำตารางคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐานของศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2546 เฉพาะประเด็นสำคัญหรือประเด็นหลัก (3) การนำคำวินิจฉัยและข้อมูลตัวเลขที่สำคัญตั้งแต่คำวินิจฉัย ปี 2541-2546 มา
วิเคราะห์เปรียบเทียบกัน
 และ (4) การจัดทำตารางดัชนีสรุปคำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญ
 ปี 2546 เพื่อประโยชน์ในการค้นคว้าและใช้เป็นเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ รวมทั้งเพื่อให้ต่อเนื่องกับการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา

          เนื้อหาของโครงการศึกษาวิจัยที่นำเสนอครั้งนี้ มีรายละเอียดอย่างสมบูรณ์ จึงทำให้โครงการนี้มีความจำนวนหน้ามาก ซึ่งถือว่าเป็น ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (full report) พร้อมกันนี้ คณะผู้ศึกษาวิจัยได้สรุปพร้อมข้อเสนอแนะไว้ในบทที่ 4 ถือว่าเป็น ผลงานวิจัยฉบับย่อ (short report) และยังมี บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (executive summary) ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้สนใจได้เลือกศึกษาตามความต้องการ หากมีข้อบกพร่องประการใด คณะผู้ศึกษาวิจัยยินดีน้อมรับและจะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป

          สำหรับสัดส่วนความรับผิดชอบในการทำงานของโครงการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ แบ่งเป็น ผู้อำนวยการโครงการ ร้อยละ 80 นักวิจัยและผู้ช่วย ร้อยละ 20 ส่วนที่ปรึกษาพิเศษของโครงการได้ให้คำแนะนำปรึกษาในทุกบท

          ท้ายสุดนี้ คณะผู้ศึกษาวิจัยขอขอบคุณมูลนิธิอาเซียที่ได้ให้ทุนสนับสนุนทั้งหมด และมูลนิธิ ศดร. อมร รักษาสัตย์ ที่ให้การสนับสนุน

 

                                                                      คณะผู้ศึกษาวิจัย

                                                                      พฤษภาคม 2548

 

หมายเหตุ  การศึกษาวิจัยครั้งที่ 4 นี้ จัดพิมพ์ไว้ใน 2 เล่ม

       เล่มหนึ่ง  (คำวินิจฉัยที่ 1/2546 ถึง คำวินิจฉัยที่ 30/2546)  หน้าปกเขียนว่า เล่มที่ 4 ส่วนที่ 1

       เล่มสอง  (คำวินิจฉัยที่ 31/2545 ถึง คำวินิจฉัยที่ 52/2546) หน้าปกเขียนว่า เล่มที่ 4 ส่วนที่ 2

 

บทคัดย่อ

 

ชื่อ       :  โครงการศึกษาวิจัย การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลและตุลาการศาล  
               รัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 4

Title     :  Research on  Analysis of the Decisions of the Court and
               Justices of the Constitutional Court, The Fourth

คณะผู้ศึกษาวิจัย :
               รองศาสตราจารย์ ดร. วิรัช วิรัชนิภาวรรณ    ผู้อำนวยการโครงการ
               ว่าที่ร้อยตรีอนุวัฒน์ ปาณะดิษ                   นักวิจัย
               นายจินดากร บุญมาก                             ผู้ช่วย

ปี             2548
 

          โครงการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง ครั้งที่ 4 ปี 2548 นี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ (1) วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกเรื่องตั้งแต่ปี 2546 จำนวน 52 เรื่อง แบ่งเป็น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 52 เรื่อง (คำวินิจฉัยที่ 1/2546 ถึง คำวินิจฉัยที่ 52/2546) และคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 743 เรื่อง (2)วิเคราะห์เปรียบเทียบคำวินิจฉัยที่สำคัญบางเรื่อง ตั้งแต่ปี 2541-2546 (3) วิเคราะห์ภูมิหลังของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (4) เสนอแนะผลแนวทางการพัฒนาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ การพัฒนาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญรวมทั้งการพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (5)  จัดทำตารางสรุปคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่ปี 2546 รวม 52 เรื่อง เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหา รวมทั้ง (6) จัดทำตารางคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐานของศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2546 เฉพาะประเด็นสำคัญหรือประเด็นหลัก

          ระเบียบวิธีวิจัยที่นำมาใช้เป็นลักษณะของการวิจัยเอกสาร ได้รวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน 2547 ถึง ธันวาคม 2548 รวม 8 เดือน โครงการศึกษาวิจัยตลอดโครงการใช้เวลา 1 ปี

          ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า เมื่อนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปี 2546 จำนวน 52 เรื่อง มาจัดประเภทของปัญหาหรือคำร้องที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย พบว่า ปัญหาการตรวจสอบกฎหมายมีมากที่สุด รองลงมาคือ ปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมือง และเมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย "ปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย" คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 8.2 : 1 และเมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย "ปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ" คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 6.4 : 1

          การวิเคราะห์คำวินิจฉัยส่วนบุคคลยังปรากฏอีกว่า (1) มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 1 คนที่แสดงจุดยืนในการวินิจฉัย โดยมีคำวินิจฉัยที่แตกต่างจากตุลาการศาล
รัฐธรรมนูญอื่นอย่างเด่นชัด
(2) มี 1 คน ที่ได้วินิจฉัยหรือออกเสียงอยู่ฝ่ายเสียงข้างมาก "มากที่สุด" หรือทุกครั้ง คือ ร้อยละ 100.0  (3) มี 2 คน ที่ได้วินิจฉัยหรือออกเสียงอยู่ฝ่ายเสียงข้างมาก “น้อยที่สุด” คือ ร้อยละ 78.8 (4) มี 3 คน เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยหรือเข้าร่วมเป็นองค์คณะครบทุกเรื่อง และ (5) มี 1 คน ที่ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด คือ จำนวน 15 เรื่อง จากจำนวนคำวินิจฉัยในช่วงเวลาดำรงตำแหน่งทั้งหมด 49 เรื่อง ในปี 2546 ก่อนพ้นจากตำแหน่ง

          ส่วนคะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น มติเป็นเอกฉันท์ (ร้อยละ 55.8) และมติไม่เป็นเอกฉันท์ (ร้อยละ 44.2) ขณะที่คำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐานมีมากกว่า (ร้อยละ 62.5) คำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน (ร้อยละ 37.5) สำหรับระยะเวลาส่วนใหญ่ที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาหรือคำร้องจนแล้วเสร็จ "มากที่สุด" คือ 12 เดือนขึ้นไป ส่วนคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณาวินิจฉัยน้อยที่สุด มี 1 เรื่อง ได้แก่ คำวินิจฉัยที่ 32/2546 (วันที่ 22 กันยายน 2546) สมาชิกสภาผูแทนราษฎร กับ การพิจารณารางพระราชบัญญัติงบประมาณ
รายจายฯ
ใช้เวลาเพียง 6 วัน ในส่วนของคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาในเวลาพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด มี เรื่อง คือ คำวินิจฉัยที่ 40-41/2546 (วันที่ 16 ตุลาคม 2546) นายไมเคิล ชาร์ส เมสคอล กับพวก กับ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ ใช้เวลา 2 ปี 22 วัน

          สำหรับการพิจารณาศึกษาระยะเวลาระหว่างวันประกาศคำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญกับวันประกาศคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในราชกิจจานุเบกษา ปรากฏว่า คำวินิจฉัยส่วนใหญ่ใช้เวลา
6-9 เดือน ส่วนคำวินิจฉัยที่ใช้เวลาน้อยที่สุด มี 1 เรื่อง คือ คำวินิจฉัยที่ 30/2546 (วันที่ 28 สิงหาคม 2546) นายมนสันต์ มฤคทัต กับ พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ฯ ใช้เวลา 6 เดือน 15 วัน ขณะที่คำวินิจฉัยที่ใช้เวลา
มากที่สุด
มี
1 เรื่อง คือ คำวินิจฉัยที่ 3/2546 (วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2546) นางจีรวรรณ ตรีภัทรรังษิกุล กับ พระราชบัญญัติ ประกันสังคมฯ ใช้เวลา 10 เดือน 2 วัน อีกทั้งปรากฏว่า คำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน เฉพาะประเด็นสำคัญหรือประเด็นหลัก (ร้อยละ 53.9) มีจำนวนมากกว่า  และคำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐาน (ร้อยละ 46.1)

          ในการวิเคราะห์ภูมิหลัง พบว่า ในจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 17 คน ที่ดำรงตำแหน่งในปี 2546 นั้น เป็นหญิง 1 คน ที่เหลือเป็นชาย และทุกคนแต่งงานแล้ว อายุของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จนถึงวันที่ 1 มกราคม 2547 พบว่า มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่อายุต่ำกว่า 60 ปี จำนวน 1 คน, อายุ 60-65 ปี จำนวน 10 คน, และอายุ 66-70 ปี จำนวน 6 คน ในส่วนของการศึกษา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด 17 คน (1) ล้วนสำเร็จการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญาตรี โดยบางคนสำเร็จ 2 ปริญญา หรือ 3 ปริญญา (2) มี 8 คน สำเร็จเนติบัณฑิตไทย (นบ..) (3) มี 6 คน สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดระดับปริญญาโท และ (4) มี 4 คน สำเร็จการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาเอก 

          สำหรับประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการ (1) มี 2 คน เคยมีประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการในหน่วยงานของฝ่ายนิติบัญญัติ (2) มี 14 คน เคยมีประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการในหน่วยงานของฝ่ายบริหาร เช่น เคยดำรงตำแหน่งต่าง  ในกระทรวง กรม หรือเทียบเท่าของฝ่ายบริหาร (3) มี 7 คน เคยมีประสบการณ์ในการปฏิบัติราชการในหน่วยงานของฝ่ายตุลาการ และ (4) มี 5 คน เคยมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในฝ่ายวิชาการ

          ผลการศึกษาวิจัยได้สนับสนุนและยืนยันสมมติฐานของการศึกษาวิจัย จำนวน 1 ข้อ ได้แก่   ”โครงสร้างหรือองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาและมีจำนวนแตกต่างกัน ย่อมทำให้ทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกลุ่มข้างมากที่เป็นนักกฎหมาย” พบว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา และกลุ่มที่มาจากผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ที่มีคำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันเท่านั้น  แต่ไม่สามารถบอกเหตุผลได้ว่า การที่คำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันของแต่ละกลุ่มนั้นเกิดจากสาเหตุใด แต่ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะสนับสนุนหรือยืนยันสมมติฐานข้อที่ว่า “ประธานศาล
รัฐธรรมนูญมีอิทธิพลต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
”

          นอกจากนี้แล้ว ในการศึกษาครั้งที่ 4 นี้ ยังมีสมมติฐานใหม่ที่ได้พิสูจน์อีก 3 ข้อ
ดังนี้ หนึ่ง ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า
"คำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญสนับสนุนการออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ
สอง ผลการศึกษาวิจัย
สนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน
 ที่ว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญสนับสนุนการออก
กฎหมายของฝ่ายบริหาร
" และ สาม ผลการศึกษาวิจัยไม่สนับสนุนหรือไม่ยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเอื้ออำนวยต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเฉพาะกรณีจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีตามมาตรา295 มีแนวโน้มที่ไม่เอื้ออำนวยต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

          ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบครั้งนี้ ได้นำคำวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มแรก คือ ตั้งแต่ปี 2541 ถึง สิ้นปี 2546 มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน หรือตั้งแต่คำวินิจฉัยที่ 1/2541 ถึง คำวินิจฉัยที่ 52/2546 รวม คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด 301 เรื่อง และคำวินิจฉัยส่วนบุคคลทั้งหมด 4,130 เรื่อง ทั้งนี้ มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งหรือเกี่ยวข้องกับคำวินิจฉัยในช่วงเวลาดังกล่าวรวม 23 คน การวิเคราะห์เปรียบเทียบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์เปรียบเทียบคำวินิจฉัย และการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลตัวเลขที่สำคัญ

          เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบคำวินิจฉัย กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจงใจไม่ยื่นหรือจงใจฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 นับแต่ปี .. 2541-2546 ซึ่งมีรวมทั้งสิ้น 24 เรื่อง พบว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เข้าร่วมเป็นองค์คณะหรือเข้าร่วมพิจารณา
วินิจฉัยครบทั้ง 24 เรื่อง มี 1 คน  ซึ่งวินิจฉัยว่า จงใจไม่ยื่นฯ และ จงใจยื่นบัญชีฯ อันเป็นเท็จฯ 23 เรื่อง, ไม่จงใจยื่นฯ /ยกคำร้อง 1 เรื่อง ขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่เข้าร่วมเป็นองค์คณะหรือเข้าร่วมวินิจฉัยไม่ครบทั้ง 24 เรื่อง มี 22 คน แต่มีเพียง 6 คน วินิจฉัยว่า “จงใจไม่ยื่นฯ และ จงใจยื่นบัญชีฯ อันเป็นเท็จฯ” ทุกครั้งที่เข้าร่วมวินิจฉัย

          สำหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลตัวเลขที่สำคัญ ปรากฏว่า

                   1) ศาลเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญมากที่สุด รองลงมา คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ปฏิบัติหน้าที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง ขณะที่สมาชิกวุฒิสภา และอัยการสูงสุด  ยังไม่เคยยื่นคำร้องแม้แต่เรื่องเดียว

                   2) จำนวนประเด็นหลักของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มี 1 ประเด็นหลักมากที่สุด รองลงมา มี 2 ประเด็นหลัก

                   3) ประเภทของปัญหาที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด คือ ปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย รองลงมา คือ ปัญหาองค์กรหรือพรรคการเมือง

                   4) แนวโน้มคำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่า (1) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาการตรวจสอบกฎหมาย  คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่ชอบด้วย
รัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน
7.0 : 1 (2) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
วินิจฉัยปัญหาอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
 คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 1.3 : 1 (3)  เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาบุคคลหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญน้อยกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญในอัตราส่วน 0.2 : 1 และ (4) เมื่อใดก็ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาองค์กร หรือพรรคการเมือง คำวินิจฉัยมีแนวโน้มที่จะเป็นไปในทิศทางที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมากกว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในอัตราส่วน 12.0 : 1

                   5) คำวินิจฉัยที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พบว่า ในจำนวนตุลาการศาล
รัฐธรรมนูญ
5 คน ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงเวลาของคำวินิจฉัยครบทั้ง 301 เรื่อง มี 5 คน ที่ล้วนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา ผลการวิจัย
เอกสารส่วนนี้
 แสดงให้เห็นแต่เพียงว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกลุ่ม 5 คนที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกานี้ มีคำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันในจำนวนมากน้อยเพียงใดเท่านั้น ผลการวิจัยเอกสารครั้งนี้ไม่สามารถบอกเหตุผลได้ว่าการที่คำวินิจฉัยเป็นไปในทิศทางเดียวกันของแต่ละกลุ่มนั้นเกิดจากสาเหตุใด 

                   6) การเข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัย กล่าวได้ว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 5 คนที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงเวลาของคำวินิจฉัยครบทั้ง 301 เรื่อง นั้น มี 1 คน ที่ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะน้อยที่สุด คือ เพียง 4 เรื่องเท่านั้น และมี 1 คน ไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ได้เข้าร่วมเป็นองค์คณะมากที่สุด คือ จำนวน 33 เรื่อง

                   7) คะแนนเสียงขององค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยมติไม่เป็นเอกฉันท์ (ร้อยละ 56.8) มีมากกว่า มติเป็นเอกฉันท์ (ร้อยละ 43.2)

                   8) ระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาแต่ละเรื่อง ปรากฏว่า ระยะเวลาที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยปัญหาที่ยื่นต่อศาล
รัฐธรรมนูญจนแล้วเสร็จ
มากที่สุด คือ 12 เดือนขึ้นไป ส่วนคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณาวินิจฉัยน้อยที่สุด คือ 2 วัน มี 2 เรื่อง ได้แก่ คำวินิจฉัยที่ 1/2541 และคำวินิจฉัยที่ 26/2543 สำหรับคำวินิจฉัยที่ใช้เวลาน้อยรองลงมา คือ คำวินิจฉัยที่ 6/2543 ใช้เวลา 5 วัน ส่วนคำวินิจฉัยที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณาวินิจฉัยมากที่สุด มี 1 เรื่อง คือ คำวินิจฉัยที่ 48/2545 ใช้เวลา 2 ปี 5 เดือน 14 วัน

                    9) คำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน แบ่งเป็น คำวินิจฉัยที่ไม่ได้วางบรรทัดฐาน (ร้อยละ 51.8) มากกว่าคำวินิจฉัยที่วางบรรทัดฐาน (ร้อยละ 48.2)

                   10) การพิสูจน์สมมติฐาน พบว่า 

                             10.1) ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า  
“โครงสร้างหรือองค์ประกอบของศาลรัฐธรรมนูญที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาและมีจำนวนแตกต่างกันย่อมทำให้ทิศทางของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปตามกลุ่มข้างมาก” (เป็นสมมติฐานของการศึกษาวิจัยครั้งที่ 1-4 ทุกครั้ง)

                             10.2) ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า “ภูมิหลังที่แตกต่างกันของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีผลต่อทิศทางของคำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญ
” (เป็นสมมติฐานของการศึกษาวิจัย เฉพาะครั้งที่ 1-2 เท่านั้น)

                             10.3) ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและการปฏิรูปการเมืองของประเทศ”(เป็นสมมติฐานของการศึกษาวิจัย  เฉพาะครั้งที่ 1-2 เท่านั้น)

                             10.4) ผลการศึกษาวิจัยไม่สนับสนุนหรือไม่ยืนยันสมมติฐานที่ว่า “ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอิทธิพลต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ” และ "ถึงแม้ว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญ

(1) ได้ออกเสียงอยู่ฝ่ายเสียงข้างมากเป็นส่วนใหญ่ หรือ (2) ได้ออกเสียงอยู่ฝ่ายเสียงข้างน้อยเป็นส่วนใหญ่ หรือ (3) ได้ออกเสียงอยู่ฝ่ายเสียงข้างมากทั้งหมด ก็ตาม แต่ก็ไม่อาจยืนยันได้อย่างแน่นอนและชัดเจนว่า ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอิทธิพลเหนือกลุ่มเสียงข้างมากหรือเหนือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใดหรือมีอิทธิพลต่อคำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญ
 อย่างไรก็ดี อาจกล่าวได้ว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มที่จะมีแนวคิดหรือมีคำวินิจฉัยที่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฝ่ายเสียงข้างมากเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น" (เป็นสมมติฐานของการศึกษาวิจัยครั้งที่ 1-4 ทุกครั้ง)

                             10.5) ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า 
"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญสนับสนุนการออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ(เป็น
สมมติฐานใหม่ของการศึกษาวิจัย ครั้งที่
4)

                             10.6) ผลการศึกษาวิจัยสนับสนุนและยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า 
"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญสนับสนุนการออกกฎหมายของฝ่ายบริหาร" (เป็น
สมมติฐานใหม่ของการศึกษาวิจัย ครั้งที่
4)

                             10.7) ผลการศึกษาวิจัยไม่สนับสนุนหรือไม่ยืนยันสมมติฐาน ที่ว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเอื้ออำนวยต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีตามมาตรา 295 มีแนวโน้มที่ไม่เอื้ออำนวยต่อผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (เป็นสมมติฐานใหม่ของการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 4)

          สำหรับข้อเสนอแนะ ส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่ได้เคยเสนอแนะไว้แล้วในโครงการศึกษาวิจัย ครั้งที่ 1-3 เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยออกมาในทิศทางที่ไม่แตกต่างกันมากนักแม้จำนวนคำวินิจฉัยและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะมีการเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ อย่างน้อยจะมีส่วนช่วยยืนยัน เพิ่มน้ำหนัก และเพิ่มความมั่นใจในผลการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาและในครั้งนี้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ได้มีข้อเสนอแนะอื่นเพิ่มเติมไว้ด้วย ดังนี้

                   1) แนวทางการพัฒนาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ควรปรับเปลี่ยนจำนวนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยยังคงให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วย 15 คนเช่นเดิม แต่เพิ่มจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ เป็น 5 คน เท่ากับจำนวนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากผู้พิพากษาในศาลฎีกา และผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ และไม่ควรมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากตุลาการในศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากทุกวันนี้ปริมาณงานของศาลปกครองมีเพิ่มมากขึ้นและมีคดีคั่งค้างมาก ทั้งนี้ ควรประชาสัมพันธ์แสดงเหตุผล หรืออาจทำประชาพิจารณ์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าว  สำหรับแนวทางการพัฒนาอำนาจหน้าที่ของศาล
รัฐธรรมนูญ สรุปได้ว่า
(1) ควรจัดการอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่กระจัดกระจายอยู่ให้เป็นหมวดหมู่และชัดเจนขึ้น (2) ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนยื่นคำร้องต่อศาล
รัฐธรรมนูญได้โดยตรงภายใต้เงื่อนไข
 เช่น ต้องเป็นปัญหาสำคัญที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ต่อสังคม หรือประชาชนโดยรวม และ (3) ควรมีแนวโน้มการตีความขอบเขตอำนาจของตนในทิศทางกว้างโดยครอบคลุมสังคมไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยและสภาพแวดล้อม

                   2) แนวทางการพัฒนาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญ เช่น (1) ควร
แก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเลิกอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคการเมือง
 อำนาจหน้าที่นี้ควรเป็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (2) ควรดำเนินการโดยแก้ไข
เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญด้วยการขยายความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อให้ชัดเจน
 เป็นต้นว่า ถ้อยคำที่ว่า "บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ" มาตรา 266 และ "องค์กรต่าง ๆ ตาม
รัฐธรรมนูญ
" ตามมาตรา 266

                   3) แนวทางการพัฒนาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น การพัฒนาที่ระบบหรือหลักเกณฑ์ เช่น 

                             3.1) กระบวนการสรรหาและเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรมีหลักเกณฑ์ภายในที่ชัดเจนบริสุทธิ์ ยุติธรรม เปิดเผย ปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ และเปิดโอกาสให้ตรวจสอบได้

                             3.2) ในกระบวนการสรรหาและเลือกบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ควรให้ความสำคัญกับประวัติการปฏิบัติงานเพื่อสังคม และควรพิจารณาถึงโยงใยหรือชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลของผู้เข้ารับการสรรหาและเลือกด้วย

                             3.3) ควรมีมาตรการเพื่อให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนเขียน
คำวินิจฉัยส่วนบุคคลของตนเองให้แล้วเสร็จก่อนลงมติเป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

                             3.4) เพื่อประโยชน์ในทางวิชาการ และเป็นแบบอย่างให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นได้นำไปปฏิบัติตาม (1) ควรระบุวันที่ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อสำนักงานศาล
รัฐธรรมนูญไว้ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทุกเรื่อง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อนำมาใช้ในการคำนวณระยะเวลาพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแต่ละเรื่องได้
 (2) ควรระบุคะแนนเสียงฝ่ายเสียงข้างมากและฝ่ายเสียงข้างน้อยไว้ในคำวินิจฉัยของศาล
รัฐธรรมนูญทุกเรื่อง และ
(3) ควรมีการบันทึกและรวบรวมข้อมูลไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อแสดงถึงเหตุผลของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยไว้ทุกเรื่อง พร้อมทั้งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญด้วย

                             3.5) ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรห่างจากประชาชน ความเป็นสถาบันหรือระบบภายในศาลรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มทำให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่ใกล้ชิดประชาชนเพิ่มมากขึ้น

                              3.6) ศาลรัฐธรรมนูญควรเร่งจัดทำและประกาศใช้ ประมวล
จริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

                   ในส่วนของการพัฒนาโดยประชาชน  เช่น เข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ดูแล และช่วยตรวจสอบการปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง ร่วมมือกันเรียกร้องและดำเนินการให้กระบวนการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ปราศจากการแทรกแซงมาทุกฝ่าย และในทางวิชาการอาจสนับสนุนให้ศึกษาวิจัย หรือพิสูจน์สมมติฐาน ดังนี้ (1) ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่หรือใช้อำนาจหน้าที่มากเกินไป (2) ศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรมีอำนาจหน้าที่สั่งยุบพรรคการเมือง (3) กระแสสังคมหรือแรงกดดันจากมวลชนมีอิทธิพลต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (4) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถูกแทรกแซงโดยฝ่ายการเมือง และ (5) ผลกระทบที่
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้รับหลังจากมีคำวินิจฉัยที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของฝ่ายการเมือง