หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 
 

 

คำนำ

 

          หนังสือเกี่ยวกับแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์หรือแนวคิดทางการบริหารจัดการของหน่วยงานของรัฐมีมากมาย โดยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการบริหารจัดการในเรื่อง นโยบาย (Policy) อำนาจหน้าที่ (Authority) จริยธรรม (Morality) จิตวิญญาณหรือสังคม (Spirit/Social) การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Staffing) การอำนวยการ (Directing) การประสานงาน (Coordinating) การรายงาน (Reporting) และการงบประมาณ (Budgeting) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาจมีผู้ศึกษาบางส่วนยังไม่เข้าใจแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ หรือเข้าใจผิวเผินโดยไม่อาจยกตัวอย่างได้อย่างชัดเจน ประกอบกับทุกวันนี้ มีผู้ให้ความสนใจและสมัครเรียนหลักสูตรปริญญาตรี โท และเอก ทางรัฐประศาสนศาสตร์ เพิ่มมากขึ้น

          หนังสือ เรื่อง “แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ การประยุกต์ และการพัฒนา” เล่มนี้ นอกจากจะมีส่วนช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ การประยุกต์ และการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกมุมมองหนึ่งแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การทำรายงาน การทำวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ด้วย ไม่เพียงเท่านั้น เนื้อหาสาระในเล่มนี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้การศึกษาทางรัฐประศาสนศาสตร์มีหลักวิชาการ มีกรอบแนวคิด มีความเป็นสากล และมีระบบรองรับ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่ความเป็นมืออาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์ของนักบริหารจัดการที่ซื่อสัตย์สุจริต เสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง รู้วิธีการปฏิบัติราชการและการประยุกต์ใช้ไปในทิศทางเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน รวมทั้งรู้จักการพัฒนาในอนาคตเพื่อเพิ่มคุณค่าให้แก่วิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์มากขึ้นอีกด้วย

          หนังสือเล่มนี้ มีเนื้อหากะทัดรัด เน้นการคิดและปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ระเบียบ ในแต่ละบทได้ยกตัวอย่างเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการนำไปประยุกต์ใช้ แต่อาจมีข้อบกพร่องบ้าง ผู้เขียนจะนำไปแก้ไขปรับปรุงในโอกาสต่อไป สำหรับข้อดีของหนังสือนี้ ผู้เขียนขอมอบให้แก่ นางสาววรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ ลูกสาวที่สอบได้ทุนเล่าเรียนหลวงและกำลังศึกษาต่อ พร้อมกันนี้ ขอมอบให้บุคคลที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำให้รัฐประศาสนศาสตร์ของไทย มีระเบียบ เป็นสากล เป็นวิชาชีพที่มีระบบ เป็นวิชาการ และได้รับการยอมรับเพิ่มมากขึ้น

          ท้ายสุดนี้ ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทที่พระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในปี 2527 มาไว้ในที่นี้ด้วย ดังนี้ “คนทำงานดี คือ คนมีระเบียบ ได้แก่ ระเบียบในการคิดและการทำ ผู้ไม่ฝึกระเบียบไว้ ถึงจะมีวิชา มีเรี่ยวแรง มีความกระตือรือร้นอยู่เพียงไร ก็มักทำงานให้สำเร็จดีไม่ได้ เพราะความคิดอ่านสับสนว้าวุ่น ทำอะไรไม่ถูกลำดับขั้น มีแต่ความลังเลและขัดแย้งทั้งในความคิด ในการปฏิบัติงาน”

 

                      วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
                      สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
                      ถนนแจ้งวัฒนะ อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี 11120
                 
    โทร 02-504-8181-4
                 
    เว็บไซต์: www.wiruch.com;
                      e-mail address: wiruch@wiruch.com

                      1 ธันวาคม 2548

 

             คำนำ ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 2552

 

               ในการจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง “แนวคิดทางรัฐประศาสนศาตร์ การประยุกต์ และการพัฒนา” ครั้งที่ 2 นี้ ผู้เขียนได้เพิ่มเติม “ภาพรวมแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ของไทยในปัจจุบันและในอนาคต” ไว้ด้วย โดยนำมาเพิ่มไว้ในคำนำนี้เพื่อความสะดวกในการจัดพิมพ์ ผู้เขียนหวังว่า ภาพรวมแนวคิดดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษา และการทำวิจัยที่เกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์

                ภาพรวมแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ หรืออาจเรียกว่า แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐของไทยในปัจจุบันและในอนาคต มีลักษณะสำคัญ 20 ข้อข้างล่างนี้ โดยแต่ละข้อมีความสัมพันธ์กัน คาบเกี่ยวกัน และอาจปรากฏให้เห็นมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา

                1. แนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐและแนวคิดการบริหารจัดการภาคเอกชนของไทยมีแนวโน้มที่จะรวมกันและผสมกลมกลืนกัน เห็นตัวอย่างได้จากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการของแต่ละภาคจะเข้าไปทำหน้าที่หรือรับผิดชอบในอีกภาคหนึ่ง เช่น ผู้บริหารที่เกษียณหรือออกจากวงราชการจะไปทำงานต่อในภาคเอกชน ในเวลาเดียวกัน ผู้บริหารจากภาคเอกชนก็จะเข้ามาปฏิบัติราชการในหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในตำแหน่งทางการเมือง ผู้บริหารของแต่ละภาคดังกล่าวนี้จะนำวิชาความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์มาปรับใช้ในภาคที่ตนเองเข้าไปทำหน้าที่หรือรับผิดชอบ นอกจากนี้แล้ว เมื่อผู้บริหารของทั้ง 2 ภาคได้มีโอกาสติดต่อและปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือส่วนรวม ก็จะนำแนวคิดการบริหารจัดการของแต่ละภาคมาปรับใช้ไม่มากก็น้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ ความแตกต่างระหว่างแนวคิดการบริหารจัดการภาครัฐกับภาคเอกชนมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ก็ยังพอแยกแยะหรือชี้เฉพาะได้ว่าเป็นการบริหารจัดการภาคใด

                2. แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาหรือนำมาจากแนวคิดการบริหารจัดการภาคเอกชน เช่น แนวคิดหัวหน้าผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานหรือซีอีโอ (Chief Executive Officer) การเพิ่มค่าตอบแทน การวางแผนยุทธศาสตร์ การทำสัญญาการปฏิบัติราชการระหว่างผู้บริหารของหน่วยงานของรัฐกับหน่วยงานของรัฐ ที่เรียกว่า การปฏิบัติราชการตามคำรับรองของหน่วยงาน (Performance Agreement of Agency) ทั้งนี้ เนื่องจากภาคเอกชนมีการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคล่องตัวมากกว่า

                3. การเน้นความสำเร็จ (achievement) ผลผลิต (product) ผลลัพธ์ (result) หรือปัจจัยนำออก (output) มากกว่ากระบวนการดำเนินงาน (process) การปฏิบัติงาน (performance) ปัจจัยนำเข้า (input) ตลอดจนกฎหมายและกฎระเบียบ อย่างไรก็ตาม ก็ยังให้ความสำคัญกับเรื่องยุทธศาตร์ (strategy) ของการดำเนินงาน หรือเทคนิค (technique) ที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงานด้วย

                4. การสนับสนุนให้นำตัวชี้วัดการบริหารจัดการมาใช้ในการวิเคราะห์ วัด หรือประเมินผลการปฏิบัติงานและการให้บริการของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                5. การปรับขนาดของหน่วยงานของรัฐให้เล็กลง เป็นลักษณะของจิ๋วแต่แจ๋ว (small is beautiful)

                6. การมอบหมายกิจการของหน่วยงานของรัฐบางส่วนให้แก่หน่วยงานของภาคเอกชน เช่น กิจการเกี่ยวกับอาหาร การรักษาความปลอดภัยภายในบางส่วน และการทำความสะอาด ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มคุณภาพของกิจการ แบ่งเบาภาระ และประหยัดงบประมาณของหน่วยงานของรัฐ

                7. การแบ่งอำนาจหรือการมอบอำนาจ (delegation) ให้หน่วยงานของรัฐในระดับรอง รวมทั้งการกระจายอำนาจ (decentralization) และการกระจายความรับผิดชอบให้แก่ประชาชนหรือองค์กรประชาชนเพิ่มมากขึ้น

                8. การให้ความสำคัญกับคนหรือประชาชนผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง

                9. การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ท้องถิ่น ชุมชน และประชาสังคม

                10. การปฏิบัติงานในลักษณะที่เป็นเครือข่ายร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนสถาบัน การศึกษา และสมาคมต่าง ๆ

                11. การสนับสนุนนักบริหารมืออาชีพทั้งชายและหญิง

                12. การพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานที่สนองผลประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวม

                13. การให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนความรู้และการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม

                14. การนำวิชาความรู้ วิชาการ และการวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น

                15. การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้ในหน่วยงานของรัฐ

                16. การแข่งขันกันสร้างผลงานด้วยความรู้ความสามารถ

                17. การเพิ่มรางวัลตอบแทนสำหรับการปฏิบัติงาน

                18. การจัดตั้ง “ศูนย์” ให้บริการทางวิชาการ คำแนะนำปรึกษา และข้อมูลข่าวสารด้านการบริหารจัดการภาครัฐ

                19. การประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการปฏิบัติงานของหน่วยงานอย่างกว้างขวางและทั่วถึง

                20. การมุ่งส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐนำหลักหรือสาระสำคัญของแนวทางการบริหารจัดการที่เน้นด้านจิตใจมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น โดยอาจนำแนวทางใดแนวทางหนึ่งหรือหลายแนวทางข้างล่างนี้ มาปรับใช้ตามความเหมาะสม

                                20.1 การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงที่ประกอบด้วย 8 หลัก ได้แก่ (1) ความพอประมาณ (2) ความมีเหตุผล (3) การมีภูมิคุ้มกัน (4) การพึ่งตนเอง (5) การเสริมสร้างคุณภาพคนให้มีทั้งความรู้และคุณธรรมควบคู่กัน (6) การรวมกลุ่ม (7) การสร้างเครือข่าย และ (8) ความสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน

                                20.2 การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรม 10 หลัก ได้แก่ (1) การรักษาความสัจ (2) การรู้จักข่มใจตนเอง (3) ความอดทน (4) การละความชั่ว (5) การเสียสละ (6) ความเมตตา (7) ความสามัคคี (8) ความสุจริต (9) ความเที่ยงธรรม และ (10) การส่งเสริมคนดี

                                20.3 การบริหารจัดการตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) 6 หลัก ตาม “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.. 2542” ที่ประกอบด้วย (1) หลักนิติธรรม (2) หลักคุณธรรม (3) หลักความโปร่งใส (4) หลักความมีส่วนร่วม (5) หลักความรับผิดชอบ และ (6) หลักความคุ้มค่า

                                20.4 การบริหารจัดการตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 7 หลัก ตาม “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.. 2546” ที่ประกอบด้วย (1) การบริหารราชการเพื่อใหเกิดประโยชนสุขของประชาชน (2) การบริหารราชการเพื่อใหเกิดผลสัมฤทธิ์ตอภารกิจของรัฐ (3) การบริหารราชการอยางมีประสิทธิภาพและเกิดความคุมคาในเชิงภารกิจของรัฐ (4) การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน (5) การปรับปรุงภารกิจของสวนราชการ (6) การอํานวยความสะดวกและการตอบสนองความตองการของประชาชน และ (7) การประเมินผลการปฏิบัติราชการ

                                20.5 การบริหารจัดการตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 5 หลัก ตาม “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) .. 2545” ที่ประกอบด้วย (1) ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงาน (2) การมีส่วนร่วมของประชาชน (3) การเปิดเผยข้อมูล (4) การติดตามตรวจสอบ และ (5) ประเมินผลการปฏิบัติงาน

 

                                 วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

                                 สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

                                 ถนนแจ้งวัฒนะ อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี 11120 โทร. 02-504-8181-4                                  เว็บไซต์: www.wiruchmail.com; e-mail address: wiruchmail@wiruch.com

                                 26 พฤศจิกายน 2551

 

 

สารบัญ


คำนำ
สารบัญ
สารบัญภาพ

 

บทที่ 1 การประมวลแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์

            1. ภาพรวมแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ของต่างประเทศ
                   1.1 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่
                   1.2 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับบุคคล
                   1.3 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับกระบวนการ

            2. ภาพรวมแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย                      
                   2.1
 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ตามแนวทางการบริหาร
                         ราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา
                   2.2 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ตามแนวทางการบริหาร
                         กิจการบ้านเมืองที่ดี
                   2.3 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับจริยธรรมของ
                         ผู้บริหารตามแนวทางของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

บทที่ 2 การประยุกต์แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์  

            1. การนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์มาใช้ในทางวิชาการ
                   1.1 การนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อ
                         การบริหารจัดการ ที่เรียกว่า 6M มาปรับใช้ในทางวิชาการ
                   1.2 การนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวกับปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อ
                         การบริหารจัดการ หรือกระบวนการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า PAMS-POSDCoRB
                         มาปรับใช้ในทางวิชาการ
                   1.3 การนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่  และ
                         การบริหารงานบุคคล รวมทั้ง โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และกระบวนการดำเนิน
                         งาน มาปรับใช้ในทางวิชาการ
            2. การนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
                   2.1 การนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวกับประชาชนมาประยุกต์ในทาง
                         ปฏิบัติ
                   2.2 การนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมาประยุกต์ใช้
                         ในทางปฏิบัติ
                   2.3 การนำแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ตามแนวทางการบริหารราชการจังหวัด
                         แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา มาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ
      
บทที่
3 การพัฒนาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์

           1. ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์
                   1.1  รัฐธรรมนูญ
                   1.2  นโยบายของรัฐบาล ภาวะผู้นำของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี
                   1.3  สมาชิกรัฐสภา และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
                   1.4  สถานการณ์บ้านเมือง
                   1.5  การเรียกร้องของประชาชน
                   1.6  อิทธิพลของกระแสโลก 
                   1.7  การแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในภูมิภาค และโลก
                   1.8  สถาบันการศึกษาและนักวิชาการ
           2. แนวทางการพัฒนาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์
                   2.1 แนวทางการพัฒนาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ทางวิชาการ
                   2.2 แนวทางการพัฒนาแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ทางปฏิบัติ