หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 
 

 

คำนำ


          หนังสือ “หลักรัฐประศาสนศาสตร์ : แนวคิดและกระบวนการ” ให้ความสำคัญกับการพิจารณาศึกษาด้านรัฐประศาสนศาสตร์หรือการบริหารภาครัฐ โดยเน้นส่วนที่เกี่ยวกับแนวคิด ในเรื่อง ความสำคัญและความจำเป็น ขอบเขตทางรัฐประศาสนศาสตร์ และสภาพแวดล้อม ในเวลาเดียวกัน ได้พิจารณาศึกษาการบริหารในแง่ของกระบวนการด้วย โดยนำกระบวนการบริหารที่เรียกว่า PAMS-POSDCoRB มาเป็นแนวทางเนื่องจากเป็นกระบวนการที่สมบูรณ์และครอบคลุมเรื่องการบริหารมากที่สุด โดยประกอบด้วย 11 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การบริหารนโยบาย (Policy) (2) การบริหารอำนาจหน้าที่ (Authority) (3) การบริหารคุณธรรมหรือจริยธรรม (Morality) (4) การบริหารที่เกี่ยวข้องกับสังคม (Society) (5) การวางแผน (Planning) (6) การจัดองค์การ (Organizing) (7) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staffing) (8) การอำนวยการ (Directing) (9) การประสานงาน (Coordinating) (10) การรายงาน (Reporting) และ (11) การงบประมาณ (Budgeting)

          นอกจากนี้ เพื่อช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารที่สำคัญบางเรื่องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารดังกล่าว จึงได้เพิ่มเนื้อหาสาระในเรื่อง หนึ่ง การบริหารนโยบาย  โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับประเภทของนโยบายสาธารณะ และกระบวนการวิเคราะห์นโยบาย สอง การบริหารจริยธรรม เรื่อง จริยธรรมในการบริหารราชการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และพฤติกรรมการบริหาร สาม การบริหารที่เกี่ยวข้องกับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคมหรือประชาชน รวมทั้งคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากนี้ ยังได้มีการศึกษาเรื่อง สภาพแวดล้อมกับการบริหารด้วย

          ท้ายสุด หากหนังสือเล่มนี้มีข้อบกพร่อง ผู้เขียนจะนำไปพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมในโอกาสต่อไป  และหากมีความดีเกิดขึ้นขอมอบให้ นายวีรฐา วิรัชนิภาวรรณ ที่กำลังศึกษาต่อในต่างประเทศ และ นางสาววรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ ลูกสาวที่สอบได้ทุนเล่าเรียนหลวงและได้ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ด้านเศรษฐศาสตร์/กฎหมาย ทั้งสองคนได้รับการปลูกฝังให้นำความรู้ความสามารถจากการศึกษากลับมาทำงานเพื่อชาติบ้านเมืองไทย

 

                               วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

                               อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มสธ.
                               เว็บไซต์: www.wiruch.com 
                               อีเมล์: wiruch@wiruch.com
                               1 ตุลาคม 2549

 

สารบัญ  

 

บทที่ แนวคิดเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์

          1.  ความสำคัญ ความจำเป็น และความหมายของ
               รัฐประศาสนศาสตร์

                   1.1 ความสำคัญและความจำเป็น

                   1.2 ความหมายของรัฐประศาสนศาสตร์ 

          2.  ขอบเขตของรัฐประศาสนศาสตร์

          3.  แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์

 
บทที่ แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ของต่างประเทศและไทย

          1.  ภาพรวมแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ของต่างประเทศ

                   1.1 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับโครงสร้าง
                         และอำนาจหน้าที่

                   1.2 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับบุคคล

                   1.3 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับกระบวนการ

          2.  ภาพรวมแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ของไทย

                   2.1 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ตามแนวทางการ
                       บริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา

                   2.2 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ตามแนวทาง
                         การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

                   2.3 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับจริยธรรมของ
                         ผู้บริหารตามแนวทางของ
 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

                   2.4 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ของผู้บริหารตาม
                         แนวทางทศพิธราชธรรม

          3.  แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ในรัฐธรรมนูญแห่ง
               ราชอาณาจักรไทย (.. 2540)

                   3.1 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับภายใน
                         องค์กร

                   3.2 แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์เกี่ยวกับภายนอก
                         องค์กร


บทที่ 3 กระบวนการบริหาร

          1.  การบริหารนโยบาย (Policy)

                   1.1 ความหมายและขอบเขต

                   1.2 สาระสำคัญ

          2.  การบริหารอำนาจหน้าที่ (Authority)

                   2.1 ความหมายและขอบเขต

                   2.2 สาระสำคัญ

          3.  การบริหารจริยธรรม (Morality)

                   3.1 ความหมายและขอบเขต

                   3.2 สาระสำคัญ

          4.  การบริหารที่เกี่ยวข้องกับสังคม (Society)

                   4.1 ความหมายและขอบเขต

                   4.2 สาระสำคัญ

          5.  การวางแผน (Planning)

                   5.1 ความหมายและขอบเขต

                   5.2 สาระสำคัญ

          6.  การจัดองค์การ (Organizing)

                   6.1 ความหมายและขอบเขต

                   6.2 สาระสำคัญ

          7.  การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Staffing)

                   7.1 ความหมายและขอบเขต

                   7.2 สาระสำคัญ

          8.  การอำนวยการ (Directing)

                   8.1 ความหมายและขอบเขต

                   8.2 สาระสำคัญ

          9.  การประสานงาน (Coordinating)

                   9.1 ความหมายและขอบเขต

                   9.2 สาระสำคัญ

          10.  การรายงาน (Reporting)

                   10.1 ความหมายและขอบเขต

                   10.2 สาระสำคัญ

          11.  การงบประมาณ (Budgeting)

                   11.1 ความหมายและขอบเขต

                   11.2 สาระสำคัญ

บรรณานุกรม