หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 
 

 

คำนำ

      แนวทางที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงหรือสร้างความอยู่ดีมีสุข หรือการกินอยู่แต่เพียงพอดีให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ อาจเรียกว่า การพัฒนา การบริหาร หรือการบริหารจัดการ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ของประเทศ ยุคสมัย และผู้นำรัฐบาล เช่น ในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญกับคำว่า “การพัฒนา” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาชนบท อีกทั้งในสมัยนั้นได้มีการจัดแบ่งประเทศในโลกออกเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา โดยไทยถูกจัดเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาประเทศหนึ่ง ขณะที่สมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ได้นำคำว่า “การบริหารจัดการ” มาใช้ควบคู่กับยุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่กล่าวมานี้เป็นการพิจารณาคำว่า การพัฒนาในระดับมหภาคหรือในภาพรวม สำหรับในระดับจุลภาคหรือในภาพย่อย ทุกวันนี้ ยังคงนำคำว่า การพัฒนา มาใช้ เช่น คำว่า การพัฒนาตนเอง และการพัฒนาจิตสำนึก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีคำบางคำ ที่สามารถใช้ได้ทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค เช่น คำว่า การพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาที่ยังยืน การพัฒนาวัตถุและการพัฒนาจิตใจ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้เห็นได้ว่า คำว่า การพัฒนายังคงถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องและแพร่หลาย ดังนั้น หนังสือ “การพัฒนาเมืองและชนบทประยุกต์” นี้ จึงให้ความสำคัญกับการนำเสนอเรื่องการพัฒนาเมืองและชนบทเป็นหลัก ส่วนการบริหารจัดการเป็นเรื่องรอง

      การพัฒนาโดยทั่วไป แบ่งเป็น การพัฒนาพื้นฐาน (basic development) หรือการพัฒนาแบบธรรมดา (simple development) และการพัฒนาประยุกต์ (applied development) ซึ่งหมายถึง การพัฒนาที่แตกต่างจากการพัฒนาพื้นฐาน แต่เป็นการพัฒนาที่ถูกประยุกต์แล้วเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนเมืองและชุมชนชนบท

        คำว่า ประยุกต์ ในที่นี้หมายถึง หนึ่ง การนำปรัชญา แนวคิด หลักการ และกระบวนการหรือการดำเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้และดำเนินงานจริงในการพัฒนาเมืองและชนบท ในเวลาเดียวกัน ก็ได้ให้ความสำคัญกับ สอง การพัฒนาคนหรือการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ คนเป็นทั้งจุดเริ่มต้นของการพัฒนาและจุดหมายปลายทางสูงสุดของการพัฒนาด้วย โดยการพัฒนาควรเป็นลักษณะที่เป็นเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ประชาชนในชุมชนรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน เป็นองค์การในพื้นที่ทุกระดับ รวมทั้งมีเป้าหมายและกิจกรรมเชื่อมโยงกันและสอดคล้องกับการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิและสังคม ที่เป็นไปในทิศทางที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนในชุมชนด้วย สาม ยังนำการบริหารจัดการที่เรียกว่า “หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพร้อมกับ สี่ นำการบริหารหรือการบริหารจัดการที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแกนนำหรือผู้นำในการปฏิบัติงานพัฒนาทุกระดับ ทั้งนี้ นอกเหนือจากการสนับสนุนให้การพัฒนามีลักษณะเป็นวิชาการและวิชาชีพที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น รวมตลอดทั้งในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาย่อมมีการประยุกต์อยู่แล้วด้วย

        หากหนังสือเล่มนี้มีข้อบกพร่อง ผู้เขียนยินดีจะนำไปพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมในโอกาสต่อไปและหากมีความดีเกิดขึ้นขอมอบให้ปรมาจารย์ด้านการพัฒนาท่านหนึ่งที่สนับสนุนผู้เขียนตลอดมาตั้งแต่ระดับปริญญาโทถึงปริญญาเอก ท่านได้แนะนำให้ผู้เขียนเขียนหนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่ได้เคยเขียนและหยุดเขียนไป คุณงามความดีความดีของท่านนั้น ผู้เขียนได้ตอบแทนด้วยการอบรมสั่งสอนนักศึกษาทุกรุ่นให้ดีที่สุดเต็มกำลังความสามารถของผู้เขียน พร้อมกันนี้ขอมอบความดีให้ นายวีรฐา วิรัชนิภาวรรณ ลูกชายที่กำลังศึกษาต่อในต่างประเทศและนางสาววรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ ลูกสาวที่สอบได้ทุนเล่าเรียนหลวงและกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ด้านเศรษฐศาสตร์/กฎหมาย ทั้งสองคนได้รับการปลูกฝังให้นำความรู้ความสามารถจากการศึกษากลับมาทำงานเพื่อชาติบ้านเมืองไทย

                                 วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
                
                อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มสธ.
                                 เว็บไซต์: www.wiruch.com
                                 อีเมล์ : wiruch@wiruch.com
                                 9 มิถุนายน 2549



        
คำนำ ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 2551
 

          ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนา คือ การเป็นกระบวนการ ที่ประกอบด้วยหลายขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ นอกจากนั้น ในการปฏิบัติงานพัฒนา ไม่ควรคำนึงเฉพาะสาระสำคัญ เช่น (1) “การพัฒนาคน” ซึ่งครอบคลุมการให้ความสำคัญกับภาคประชาชนที่รวมทั้งประชาชนในระดับรากหญ้า (2) “การดำเนินงานในลักษณะเป็นเครือข่าย” และ (3) การนำแนวทางที่เรียกว่า “หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” (Good Governance) มาปรับใช้เท่านั้น แต่ควรคำนึงถึง “ตัวชี้วัดการพัฒนา” ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ หนังสือ “การพัฒนาเมืองและชนบทประยุกต์” พิมพ์ครั้งที่ 2 ผู้เขียนจึงได้เพิ่มเติมสาระสำคัญไว้ด้วย กล่าวคือ

          หนึ่ง เพิ่มเติมตัวชี้วัดการพัฒนา โดยเฉพาะอย่ายิ่ง ตัวชี้วัดกระบวนการพัฒนา 8 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การพัฒนาตนเอง หรือการเตรียมตัวเองให้พร้อม (2) การศึกษาข้อเท็จจริง (3) การรวมกลุ่มอภิปรายถกเถียงปัญหา (4) การวิเคราะห์ปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา (5) การร่วมกันวางแผน (6) การระดมทรัพยากร  (7) การลงมือปฏิบัติงาน และ (8) การติดตามผลและประเมินผล

          สอง แก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การบริหารจัดการ” หรือ “การพัฒนา” ตามแนวทางที่เรียกว่า หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ที่ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องบริหารราชการ โดยยึดหลักของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การพัฒนาตามแนวทางดังกล่าวนี้ ให้ความสำคัญกับ 6 หลัก ได้แก่ หลักนิติธรรม (rule of laws) หลักคุณธรรม (ethics) หลักความโปร่งใส (transparency) หลักความมีส่วนร่วม (participation) หลักความรับผิดชอบ (accountability) และหลักความคุ้มค่า (value for money) ทั้งนี้ เป็นไปตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542

          สาม เสนอแนะให้กระบวนการตรวจสอบเข้มแข็งขึ้น โดย (1) หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐควรสนับสนุนประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายในการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานพัฒนาของผู้ปฏิบัติงานพัฒนาที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ (2) ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาควรติดประกาศงบประมาณรายรับรายจ่ายของหน่วยงานของตนไว้ในที่เปิดเผยอย่างชัดเจนและต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนและชุมชนได้ทราบและเข้าใจ (3) หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐควรสนับสนุนให้ “กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด” ดำเนินการควบคุมตรวจสอบอย่างจริงจัง และ (4) กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นควรออกระเบียบหลักเกณฑ์ให้ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาจากการเลือกตั้งจำเป็นต้องเข้ารับการฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการ ด้านการปฏิบัติงานพัฒนา และด้านกฎหมายทุก 1-2 ปี

          ผู้เขียนได้พยายามพัฒนาแนวคิดการพัฒนาให้ทันสมัยและมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติ หากหนังสือเล่มนี้มีข้อดี ขอมอบให้ผู้ปฏิบัติงานพัฒนาทั้งหลายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

 

                                                วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

                                                อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มสธ.

                                                เว็บไซต์: www.wiruch.com

                                                อีเมล์ : wiruch@wiruch.com

                                                19 มีนาคม 2551

 


 

สารบัญ

 

บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐาน

     1. ความหมาย

           1.1 การพัฒนา

           1.2 การพัฒนาชุมชน

           1.3 การพัฒนาที่ยั่งยืน

           1.4 การพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

           1.5 การบริหารการพัฒนา

           1.6 การบริหาร

           1.7 การเปลี่ยนแปลง

           1.8 ความก้าวหน้า

           1.9 ความทันสมัย

           1.10 บทสรุป

     2. เป้าหมาย

           2.1 เป้าหมายของการพัฒนา

           2.2 การพัฒนาคน

           2.3 การพัฒนาวัตถุหรือสิ่งแวดล้อม

           2.4 บทสรุป

     3. ปรัชญา

          3.1 ปรัชญาของการพัฒนา

          3.2 ปรัชญาของการพัฒนา 7 ประการ ตามแนวคิดของนักปรัชญา
                ตะวันตก

                ปรัชญาของการพัฒนาประการที่หนึ่ง ความศรัทธาใน
                     ตัวคนที่ว่า คนเป็นทรัพยากรที่ประเสริฐมีค่า และสำคัญที่สุด

                ปรัชญาของการพัฒนาประการที่สอง ความศรัทธาในตัวคน
                     ที่ว่า คนเป็นสัตว์โลกที่พัฒนาได้ดีที่สุด

               ปรัชญาของการพัฒนาประการที่สาม ความศรัทธาในความ
                    สมดุลของการพัฒนา

               ปรัชญาของการพัฒนาประการที่สี่ ความศรัทธาในควา
                   ยุติธรรม

               ปรัชญาของการพัฒนาประการที่ห้า ความศรัทธาใน
                   หลัประชาธิปไตย

               ปรัชญาของการพัฒนาประการที่หก ความศรัทธาในการ
                   รวมกลุ่ม

               ปรัชญาของการพัฒนาประการที่เจ็ด ความศรัทธาในการศึกษา

           3.3 บทสรุป

4. แนวคิดและหลักการพัฒนา

          4.1 แนวคิดการพัฒนา

          4.2 หลักการพัฒนา

         4.3 บทสรุป
 

บทที่ 2 การพัฒนาของไทย

     1. ความเป็นมาของการพัฒนา

         1.1 สมัยกรุงสุโขทัย

         1.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา

         1.3 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

         1.4 บทสรุป

     2. โครงสร้างและลักษณะของชุมชน

          2.1 ความหมายและชนิดของชุมชน

         2.2 ความแตกต่างระหว่างชุมชนเมืองกับชุมชนชนบท

         2.3 ภาระหน้าที่ของชุมชน

         2.4 โครงสร้างและลักษณะของชุมชนไทย

         2.5 สถาบันที่สำคัญในชุมชน

         2.6 บทสรุป

     3. การดำเนินงานพัฒนา

         3.1 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

         3.2 การดำเนินงานพัฒนาในฐานะที่เป็นกระบวนการ

         3.3 บทสรุป

     4. เทคนิคการเข้าถึงประชาชน

         4.1 ความหมาย

         4.2 เทคนิค

        4.3 สิ่งที่ควรคำนึงในการปฏิบัติตามเทคนิค

        4.4 บทสรุป
 

บทที่ 3 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขการพัฒนาของไทย

     1. ปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาของไทย

           1.1 ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากตัวประชาชน

           1.2 ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างประชาชนกับข้าราชการ

     2. แนวทางแก้ไข

     3. บทสรุป


บรรณานุกรม

     ภาษาไทย

     ภาษาอังกฤษ