หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 
 
 

การบริหารจัดการตาม

แนวทางคุณธรรมและ

แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

Management Administration
Following Morality Guideline 
and
Sufficiency Economy Guideline

       บทความ "การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและแนวทาง
                    เศรษฐกิจพอเพียง"
(40 หน้า)
                    โฮมเพจ หรือหน้าแรกของ
www.wiruch.com

 

คำนำ


           หนังสือ “การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” เล่มนี้ ได้นำคำว่า การบริหารจัดการ ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Management Administration มาใช้อย่างเต็มภาคภูมิเนื่องจากประเทศไทยได้ใช้คำนี้มาอย่างน้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ส่วนในต่างประเทศ โดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา ก็ได้ใช้คำนี้เช่นกัน โดยใช้ในวงวิชาการ ในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน คำว่า การบริหารจัดการ ในที่นี้หมายถึง การดำเนินงานหรือการปฏิบัติงานที่หน่วยงาน และ/หรือ บุคลากรของหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลง พัฒนา หรือสร้างความสุขความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ การให้ความหมายเช่นนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการตามแนวคิดหรือแนวทาง “คุณธรรม” และ “เศรษฐกิจพอเพียง”

           หนังสือเรื่องนี้ แบ่งเป็น 4 บท คือ บทที่ 1 แนวคิด บทที่ 2 การประยุกต์ บทที่ 3 ปัญหาและการพัฒนา และบทที่ 4 สรุปและข้อเสนอแนะ

         ผู้เขียนมีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเสนอการบริหารจัดการตามแนวคิดทางตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของประเทศไทย เพื่อนำเข้ามาถ่วงดุลการบริหารจัดการตามแนวคิดทางตะวันตกที่ประเทศไทยนำมาใช้อย่างแพร่หลายก่อนหน้านี้ แนวคิดทางตะวันตกนั้น ไม่สอดคล้องกับสังคมไทย และยังเน้นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เสรีนิยม หรือบริโภคนิยม ให้ความสำคัญกับวัตถุ เงินตรา ประสิทธิภาพ กำไรสูงสุด ความรวดเร็ว การต่อสู้แข่งขัน ความเจริญก้าวหน้า เทคโนโลยีที่ทันสมัย และผลประโยชน์สูงสุด ขณะที่การบริหารจัดการตามแนวคิดทางตะวันออกเน้นคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต การเสียสละ ความเมตตา ความพอเพียง ตลอดจนความอยู่เย็นเป็นสุข ความสุขความเจริญอย่างมั่นคงและยั่งยืนของประชาชนและประเทศชาติ ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากความเชื่อของผู้เขียนที่ว่า นักวิชาการไทยควรหลีกเลี่ยงที่จะอ้างแนวคิดหรือทฤษฎีของต่างประเทศตลอดเวลา โดยเฉพาะแนวคิดหรือทฤษฎีของประเทศทางตะวันตก เพราะสังคมตะวันตกมีสภาพแตกต่างจากสังคมไทย แต่นักวิชาการไทยควรมีความคิดและการกระทำที่จะพัฒนาแนวคิดหรือทฤษฎีของไทยขึ้นมาเองจากความรู้ ประสบการณ์ สภาพความเป็นจริง วัฒนธรรม และการปฏิบัติจริงของคนไทย พร้อมกับนำไปปรับใช้หรืออย่างน้อยก็นำไปผสมผสานกับทฤษฎีหรือแนวคิดทางตะวันตก เช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดความภาคภูมิใจมากกว่าการไปแปลหรือคัดลอกมาจากต่างประเทศ และยังจะทำให้เกิดความอิ่มเอิบใจในความเป็นไทยที่มีความเจริญแบบไทยสืบต่อกันมาช้านานอีกด้วย

        การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการบริหารจัดการที่บุคคลตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนควรนำมาปรับใช้เป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันและในการทำกิจกรรมทั้งหลาย ที่สำคัญคือ เป็นการเสนอการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับแนวคิดทางตะวันออกที่ให้ความสำคัญกับด้านจิตใจและสภาพของวัฒนธรรม รวมทั้งยังเป็นการบริหารจัดการของไทย ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยคนไทย และเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทย

              หากหนังสือเล่มนี้ มีความดีเกิดขึ้นขอมอบให้ลูกชาย นายวีรฐา วิรัชนิภาวรรณ และลูกสาว นางสาวรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ ที่กำลังศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกา ขอให้เป็นคนดีที่มีทั้งคุณภาพและคุณธรรม เสียสละเพื่อส่วนรวม พร้อมกับนำความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์กลับมาช่วยพัฒนาประเทศไทย

                                                    วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
                                                    อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มสธ.
                                                    ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11120
                                                    จังหวัดนนทบุรี โทร. 02-504-8181-4
                                                    เว็บไซต์: www.wiruch.com
                                                    อีเมล์ : wiruch@wiruch.com
                                                    16 สิงหาคม 2550

 

สารบัญ

บทที่ 1 แนวคิด

       1. แนวคิดการบริหารจัดการ
                        
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการบริหารจัดการ
                    1.2 ความหมายของการบริหารจัดการ
                    1.3 สรุป

       2. แนวคิดการบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรม
                        
2.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการบริหารจัดการ
                          ตามแนวทางคุณธรรม
                    2.2 ความหมายของการบริหารจัดการตามแนวทาง
                         คุณธรรม
                    2.3 หลักการสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทาง
                          คุณธรรม
                   
2.4 สรุป

       3. แนวคิดการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
                        
3.1 ความเป็นมาและความสำคัญของการบริหารจัดการ
                          ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
                    3.2 ความหมายของการบริหารจัดการตามแนวทาง
                          เศรษฐกิจพอเพียง
                    3.3 หลักการสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทาง
                         เศรษฐกิจพอเพียง
                    3.4 สรุป

บทที่ 2 การประยุกต์

                1. การประยุกต์การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรม
                     
1.1 การนำการบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมไป
                        ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนและกิจกรรมในชุมชน
                 1.2 การนำการบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมไป
                       
ประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพของนักบริหารจัดการ
                
1.3 สรุป

         2. การประยุกต์การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจ
                     พอเพียง
                    
2.1 การดำเนินงานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
                 2.2 การนำการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
                      ไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนและการประกอบอาชีพ 
                 2.3 การนำการบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมไป
                      ประยุกต์ใชักับกิจกรรมต่าง ๆ
                 2.4 สรุป

บทที่ 3 ปัญหาและการพัฒนา

             1. ปัญหาและการพัฒนาการบริหารจัดการตามแนวทาง
                    คุณธรรม
                      
1.1 ปัญหาการบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรม
                  1.2 การพัฒนาการบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรม
                  1.3 สรุป

             2. ปัญหาและการพัฒนาการบริหารจัดการตามแนวทาง
                    เศรษฐกิจพอเพียง
                      
2.1 ปัญหาการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
                 
2.2 การพัฒนาการบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจ
                        พอเพียง
                  2.3 สรุป

บทที่ 4 สรุปและข้อเสนอแนะ

               1. สรุป
                     
1.1 การสรุปสาระสำคัญของบทที่ 1-3
                  1.2 การสรุปและวิเคราะห์สาระสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทาง
                        สำหรับกำหนดข้อเสนอแนะ

        2. ข้อเสนอแนะ
                     
2.1 แนวทางการเสริมสร้างหรือพัฒนาคุณธรรมให้แก่
                       ประชาชน
                
2.2 แนวโน้มการบริหารจัดการในอนาคต

บรรณานุกรม