หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 
 

 
 

การบริหารจัดการ

ของหน่วยงานของรัฐ :

การวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัด

Management Administration of State Agencies :

Comparative Analysis of Indicators

       บทความ "การบริหารจัดการของหน่วยงานของรัฐ : การวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัด"
                   
 (80 หน้า) โฮมเพจ หรือหน้าแรกของ www.wiruch.com

 

โดย

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มีนาคม 2551

 

 

คำนำ

          คำว่า การบริหารจัดการ โดยทั่วไปหมายถึง การดำเนินงานหรือการปฏิบัติงานที่หน่วยงาน และ/หรือ บุคลากรของหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชน นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลง พัฒนา หรือสร้างความสุขความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ แต่ในที่นี้จำกัดเฉพาะการดำเนินงานหรือการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้นเพื่อให้สอดคล้องกับหนังสือ “การบริหารจัดการของหน่วยงานของรัฐ : การวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัด” เล่มนี้ ส่วนคำว่า ตัวชี้วัด โดยทั่วไป หมายถึง สัญลักษณ์ ตัวเลข ข้อความ ความคิดเห็น หรือเครื่องบ่งชี้ ที่หน่วยงาน และ/หรือ บุคลากรของหน่วยงานนำมาใช้ในการวิเคราะห์ วัด และประเมินผลความสำเร็จหรือประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานและบุคลากรของหน่วยงานว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่เพียงใด แต่ในที่นี้หมายถึง ตัวชี้วัด กลุ่มตัวชี้วัด หรือชุดตัวชี้วัดที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการ ซึ่งเรียกว่า ตัวชี้วัดการบริหารจัดการเท่านั้น ตัวชี้วัดการบริหารจัดการที่นำมาใช้การวิเคราะห์ การวัด และการประเมินผลนั้น มีความสำคัญเนื่องจาก สิ่งใดที่ชี้วัดและประเมินผลไม่ได้ ย่อมบริหารจัดการไม่ได้ (If you can’t measure, you can’t managed) หรือสิ่งใดที่ชี้วัดและประเมินผลไม่ได้ ย่อมพัฒนาหรือปรับปรุงแก้ไขไม่ได้ (If you can’t measure, you can’t improved) และสิ่งใดที่ได้รับการชี้วัดและประเมินผล ย่อมบริหารจัดการ พัฒนา หรือปรับปรุงแก้ไขได้ (What gets measure, gets done)
     ผู้เขียนมีความปรารถนาที่จะรวบรวม ศึกษา
 วิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัดการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระจัดกระจายให้มาอยู่ในระบบเดียวกัน พร้อมกับแสดงให้เห็นว่าตัวชี้วัดการบริหารจัดการทั้งหลายนั้นมีความหมายใกล้เคียงกันหรือทำนองเดียวกัน โดยแต่ละตัวชี้วัดมีลักษณะร่วมหรือปัจจัยร่วม (common factors) เดียวกัน ยิ่งกว่านั้น ยังได้นำเสนอตัวชี้วัดในลักษณะที่เป็นตัวชี้วัดหลัก ตัวชี้วัดรอง และตัวชี้วัดผลสำเร็จ ที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้ จึงไม่ได้เน้น “วิชาการที่เป็นแนวคิดหรือทฤษฎี" แต่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับ “วิชาการที่เป็นการประยุกต์" หรือ "การนำเสนอข้อมูลทางวิชาการเพื่อนำไปปรับใช้ในการวิเคราะห์ วัด และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ" ทั้งนี้ ได้แบ่งการนำเสนอเป็น 6 หัวข้อใหญ่ ได้แก่ (1) บทนำ (2) แนวคิดเกี่ยวกับตัวชี้วัด (3) ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ : ตัวชี้วัดหลัก ตัวชี้วัดรอง และตัวชี้วัดผลสำเร็จ (4) การวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวชี้วัดจำนวน 5 ตัว/ชุดตัวชี้วัด ได้แก่ 3M-11M, แพ็มส์-โพสคอร์บ (PAMS-POSDCoRB), สวอท (SWOT), เบ๊นช์มาคกิ่ง (benchmarking) และ บัลล๊านด์ สกอร์คาร์ด (balanced scorecard) ต่อจากนั้น จึงเป็น (5) บทสรุป และท้ายสุดได้นำเสนอ (6) ตัวชี้วัดการบริหารจัดการอีกจำนวน 21 ตัว/ชุดตัวชี้วัด รวมทั้งสิ้น 26 ตัว/ชุดตัวชี้วัด
                หนังสือเล่มนี้จะมีส่วนช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบให้แก่วงวิชาการ
 โดยนักศึกษาอาจนำไปปรับใช้ในการตอบข้อสอบ การทำรายงาน กำหนดตัวชี้วัดของแบบสอบถามสำหรับการทำวิจัยหรือทำวิทยานิพนธ์ รวมตลอดถึงการมีส่วนช่วยสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการในเรื่องตัวชี้วัดให้ชัดเจน เป็นระบบ และเป็นสากลต่อไป ในส่วนของหน่วยงานหรือบุคลากรของหน่วยงานอาจนำตัวชี้วัดการบริหารจัดการไปเป็นตัวอย่างและพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้น รวมทั้งนำไปปรับใช้ในหน่วยงานได้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการวิเคราะห์ วัด และการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของหน่วยงานและบุคลากรได้อย่างมั่นใจมากขึ้น อันจะนำไปสู่จุดหมายปลายทางสูงสุด คือ การพัฒนาประเทศในที่สุด
                 หากหนังสือเล่มนี้ มีความดีเกิดขึ้น ผู้เขียนขอมอบความดีนั้นให้ลูกชาย นายวีรฐา วิรัชนิภาวรรณ และลูกสาว นางสาววรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ ที่กำลังศึกษาอยู่ในสหรัฐอเมริกา เมื่อเรียนสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้นำความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์กลับมาทำงานในประเทศไทย
 

                                                 วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
                                                 อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มสธ.
                                                 ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11120
                                                  จังหวัดนนทบุรี โทร. 02-504-8181-4
                                                  เว็บไซต์: www.wiruch.com
                                                  อีเมล์ : wiruch@wiruch.com
                                                  16 มีนาคม 2551

 

สารบัญ


1. บทนำ

2. แนวคิดเกี่ยวกับตัวชี้วัด

2.1 ความหมาย

2.2 การจัดกลุ่มตัวชี้วัดการบริหารจัดการ

2.3 ลักษณะร่วม 8 ประการของตัวชี้วัดการบริหารจัดการ

3. ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ : ตัวชี้วัดหลัก ตัวชี้วัดรอง และตัวชี้วัดผลสำเร็จ

          หนึ่ง          ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า 3M-11M 

          สอง          ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า แพ็มส์-โพสคอร์บ 
                            (PAMS-POSDCoRB)
 

           สาม         ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า สวอท (SWOT) 

           สี่              ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า เบ๊นช์มาคกิ่ง (benchmarking)

           ห้า            ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า บัลล๊านด์ สกอร์คาร์ด 
                            (balanced scorecard)

4. การวิเคราะห์เปรียบเทียบ

5. บทสรุป

6. ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ 21 ตัว/ชุดตัวชี้วัด

            หก           ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า การปฏิบัติราชการตาม
                             คำรับรองของหน่วยงาน

            เจ็ด          ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า 7S ของบริษัทแมคคินซี
                             (McKinsey)

            แปด        ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า การบริหารจัดการแบบมุ่ง
                             ผลสัมฤทธิ์ (Result-Based Management, RBM)

            เก้า           ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า การบริหารจัดการคุณภาพโดย
                             รวม (Total Quality Management, TQM) 

             สิบ           ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า ประสิทธิภาพในการบริหาร
                              จัดการ 3
 ด้าน

              สิบเอ็ด   ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า การบริหารจัดการความรู้ 
                              (Knowledge
 Management, KM)

               สิบสอง  ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ 
                            
 (Learning Organization) หรือปัจจัยที่นำไปสู่การเป็นองค์การ
                              แห่งการเรียนรู้

                สิบสาม ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า ไอเทอมส์ (ITERMS) หรือ
                               ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการบริหารจัดการ 

                 สิบสี่      ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า แนวทางการบริหารกิจการ
                                บ้านเมืองที่ดี (Good Governance) 6 หลัก

                 สิบห้า    ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า แนวทางการบริหารกิจการ
                                บ้านเมืองที่ดี 7 ด้าน

                 สิบหก    ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า แนวทางการบริหารกิจการ
                                 บ้านเมืองที่ดี 5 ด้าน

                 สิบเจ็ด    ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า การบริหารจัดการตาม
                                  แนวทางการบริหารราชการ 11 ด้าน

                 สิบแปด  ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 
                                
(Sufficiency  Economy) 

                 สิบเก้า    ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า แนวทางคุณธรรม (Morality)

                 ยี่สิบ        ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า แนวทางทศพิธราชธรรม 
                        
         (Ten Perfections)

                 ยี่สิบเอ็ด ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า 6ป 

                 ยี่สิบสอง ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า 5ส

                 ยี่สิบสาม ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อ
                                   การบริหารจัดการ 3 ด้าน ที่เรียกว่า SAP หรือ SAM
 

                 ยี่สิบสี่      ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า กระบวนการบริหารจัดการ 
                                   3 ขั้นตอน

                  ยี่สิบห้า  ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า กระบวนการบริหารจัดการ
                                  7 ขั้นตอน

                   ยี่สิบหก ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ที่เรียกว่า กระบวนการบริหารจัดการ 
                                   8 ขั้นตอน

บรรณานุกรม