หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 
 
 

คำนำ

     การเขียนหนังสือเรื่อง "ค่านิยมของข้าราชการไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชนบท : สาเหตุและแนวทางแก้ไข"มีจุดมุ่งหมายประการสำคัญเพื่อจะใช้เป็นหนังสือประกอบการสอนวิชาหลักการพัฒนาชุมชน การพัฒนาชนบทเปรียบเทียบ ศาสนากับการพัฒนา และการบริหารการพัฒนา ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการเรียนการสอนอยู่ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญของรัฐ

     การเขียนหนังสือเรื่องนี้ ตั้งอยู่บนความเชื่อพื้นฐานประการสำคัญที่ว่า มีค่านิยมของข้าราชการบางประการเป็นอุปสรรคตอการพัฒนาชนบท อันส่งผลทำให้การปฏิบัติงาน หรือการบริหารงานพัฒนาชนบทไม่ประสบผลำเร็จมากเท่าที่ควร

     จากความเชื่อนี้ ประกอบกับสภาพที่ปรากฏทั้งในอดีตและปัจจุบันบ่งชี้ให้เห็นว่า ค่านิยมของข้าราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชนบทได้มีส่วนสำคัญทำให้การพัฒนาชนบทไทยประสบกับปัญหาและอุปสรรค ขณะเดียวกัน หนังสือที่เกี่ยวกับค่านิยมของข้าราชไทยกับการพัฒนาชนบทอย่างมีระเบียบระบบ ยังมีผู้ศึกษาหรือเขียนไว้น้อยมาก ทั้ง ๆ ที่ค่านิยมของข้าราชการเป็นเรื่องสำคัญและมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการพัฒนาชนบทและการบริหารงานพัฒนาชนบท ด้วยเหตุผลที่ว่า ค่านิยมนั้นมีส่วนในการกำหนดพฤติกรรม ซึ่งหากข้าราชการมีค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชนบทอย่างมากโดยไม่มีการปรับปรุงแล้ว ย่อมส่งผลให้พฤติกรรมของข้าราชการเป็นไปในทิศทางที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชนบทด้วย สิ่งเหล่านี้ ได้ดลใจให้ผู้เขียนมีความปรารถนาที่จะเขียนหนังสือเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น

     จากนั้น ผู้เขียนได้ทำการทบทวนวรรณกรม ทฤษฎีและแนวความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้ความรู้ของผู้เขียนทำการสร้างกรอบแนวคิดในการเขียนหนังสือเรื่องนี้ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนต่อไป

     การศึกษาครั้งนี้ ได้แบ่งออกเป็น 4 บท  บทแรก เป็นบทนำกล่าวถึงกระบวนการเขียนหรือกระบวนการศึกษา บทที่ 2 เป็นการศึกษาถึงความหมาย  บทที่ 3 บรรยายถึงวิวัฒนาการและความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมของข้าราชการกับการพัฒนาชนบท  บทที่ 4 แสดงให้เห็นถึงค่านิยมของข้าราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชนบท 7 ประการ   บทที่ 5 เป็นการแสดงถึงสาเหตุการเกิดค่านิยมที่เป็นอุปสรรคอย่างละเอียด บทที่ 6 อธิบายถึงค่านิยมของข้าราชการที่ควรเป็นไปในสังคม บทที่ 7 ซึ่งเป็นบทสุดท้าย เป็นการสรุปพร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขไว้ด้วย ในส่วนท้ายสุดคือในภาคผนวก ยังได้มีการเพิ่มเติมเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงไว้ด้วยอีก 3 เรื่อง อันได้แก่ แนวความคิดของระบบชนชั้นที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม : ศึกษาเฉพาะควายกับรถไถ และแนวความคิดความจำเป็นพื้นฐานและการประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาชนบทในประเทศไทย

     ข้อมูลที่ใช้ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ได้มาจากตำราและเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งจากการศึกษาวิจัยที่ผู้เขียนได้ทำขึ้น โดยผู้เขียนพยายามที่จะผสมผสานวิชาความรู้ทาง มานุษยวิทยา การพัฒนา และการบริหารการพัฒนาเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างละเอียดลึกซึ้งขึ้น และแม้หนังสือเล่มนี้จะมีข้อบกพร่อง ซึ่งผู้เขียนต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย แต่ก็คาดหวังว่า หนังสือเล่มนี้คงให้ประโยชน์แก่นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปมากพอสมควร

     ข้อบกพร่องต่าง ๆ ของหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนขอรับไว้แต่ผู้เดียวและจะรีบปรับปรุงแก้ไขในทันที ดังนั้น ขอความกรุณาให้ผู้รู้หรือผู้ที่มีประสบการณ์ทั้งหลายได้ช่วยชี้แนะข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง ส่วนความดีของหนังสือเล่มนี้ หากมีขึ้น ขอมอบให้แก่ เด็กหญิงวรรณวิรัช วิรัชนิภาวรรณ ลูกสาวที่น่ารักวัย 7 เดือน ที่แม้จะยังพูดเป็นถ้อยคำไม่ได้ แต่ก็ได้ให้ความน่ารักเป็นกำลังใจให้แก่ผู้เขียนเสมอมา

                                          วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

                                          ภาควิชาสังคมศาสตร์

                                          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

                                          มหาวิทยาลัยขอนแก่น

                                          อ. เมือง จ. ขอนแก่น 40002

 

สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

     1. ความนำ

     2. ความสำคัญการศึกษา

     3. วัตถุประสงค์ของการศึกษา

     4. ขอบเขตของการศึกษา

     5. กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา

     6. ระเบียบวิธีการศึกษา

     7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     8. สรุป

บทที่ 2 ความหมาย

     1. ความนำ

     2. ค่านิยม

     3. ข้าราชการ

     4. การพัฒนาชนบท

     5. สรุป

บทที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมของข้าราชการไทยกับ

            การพัฒนาชนบท

     1. ความนำ

     2. ค่านิยมของข้าราชการไทยในอดีต-ปัจจุบัน

     3. ค่านิยมของข้าราชการกับการพัฒนาชนบท

     4. สรุป

บทที่ 4 ค่านิยมของข้าราชการไทยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชนบท

     1. ความนำ

     2. ค่านิยมของข้าราชการ 7 ประการที่เป็นอุปสรรคต่อการ

          พัฒนาชนบท

          2.1 ค่านิยมของการใช้อำนาจหน้าในทางมิชอบเพื่อแสวงหา

                 ผลประโยชน์

          2.2 ค่านิยมที่ยึดถือระบบพวกพ้องในทางมิชอบ

          2.3 ค่านิยมที่ต้องกาเรป็นเจ้าคนนายคน

          2.4 ค่านิยมในการประจบสอพลอ

          2.5 ค่านิยมที่ชอบความสะดวกสบายและเกียจคร้าน

          2.6 ค่านิยมแบบปัจเจกชนนิยม

          2.7 ค่านิยมในความเป็นอนุรักษ์นิยม

     3. สรุป

บทที่ 5 สาเหตุการเกิดค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชนบท

     1. ความนำ

     2. สาเหตุการเกิดค่านิยมที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชนบท

          2.1 สาเหตุที่เกิดจากระบบภายใน

          2.2 สาเหตุที่เกิดจากระบบภายนอก

     3. สรุป

บทที่ 6 ค่านิยมของข้าราชการที่ควรเป็นไปในสังคมเพื่อการ

         พัฒนาชนบท

     1. ความนำ

     2. ค่านิยมของข้าราชการไทยที่ควรเป็นไปในสังคมเพื่อ

          การพัฒนาชนบท 7 ประการ

          2.1 ค่านิยมในความซื่อสัตย์สุจริต

          2.2 ค่านิยมในระบบคุณธรรม

          2.3 ค่านิยมในหลักประชาธิปไตย

          2.4 ค่านิยมที่ยึดถือหลักกการมากกว่าตัวบุคคล

          2.5 ค่านิยมในความประหยัดและขยัน

          2.6 ค่านิยมของการรวมกลุ่ม

          2.7 ค่านิยมในระเบียบวินัย

     3. สรุป

บทที่ 7  สรุปและแนวทางแก้ไข 

     แนวทางการปลูกฝังค่านิยมของข้าราชการที่ควรเป็นไปในสังคม

     เพื่อการพัฒนาชนบท

          - ในระดับครอบครัว

          - ในระดับโรงเรียน

          - ในระดับจังหวัด

          - ในระดับชาติ

บรรณานุกรม

ภาคผนวก

     - แนวความคิดของระบบชนชั้นที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง

        ในสังคมไทย

     - การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง

        ทางสังคม : ศึกษาเฉพาะควายกับรถไถ

     - แนวความคิดความจำเป็นพื้นฐานและการประยุกต์ใช้เพื่อ

        การพัฒนาชนบทในประเทศไทย