หน้าหลัก ประวัติและสถานที่ติดต่อ วัตถุประสงค์ ตำรา หนังสือ ผลงานวิจัย บทความ ผลงานอื่น

 

 
 


                          
           คำนำ

     "เจ้า" เป็นคำที่ได้ยินได้ฟังกันมาช้านาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนในสังคมเสมอมาโดยมักจะได้ยินคำว่าเจ้าควบคู่ไปกับคำว่าพระของพระพุทธศาสนาอยู่บ่อยครั้ง เช่น ไปหาพระหาเจ้า หรือไหว้พระไหว้เจ้า นอกจากนี้ คำว่าเจ้า จะมีหลายลักษณะ เช่น เป็นรูปเหมือนของบุคคลหรือสิ่งที่ประชาชนเคารพนับถือกราบไหว้บูชา และอีกลักษณะหนึ่งเป็นลักษณะที่รู้จักกันทั่วไปคือ เจ้าที่มาเข้าทรง

     การเข้าทรงและร่างทรงเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา หรือไสยศาสตร์ซึ่งเกิดมานานแล้วและยังสืบต่อมาจนกระทั่งปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น การเข้าทรงและร่างทรงได้ปรากฏให้เห็นทั่วไปในสังคม และแม้ว่าจะมีประชาชนบางส่วนมีความคิดเห็นว่า การเข้าทรงเป็นเรื่องงมงาย ไร้สาระ แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ยังมีประชาชนไปขอรับบริการ และ/หรือ ไปร่วมพิธีกรรมการเขช้าทรงในรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก อันมีส่วนทำให้การเข้าทรงและร่างทรงยังคงดำรงบทบาทอยู่ในสังคมได้เสมอมา ทั้ง ๆ ที่สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และสภาพทางภูมิศาสตร์ของสังคมนั้นได้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับการศึกษาวิจัยทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องการเข้าทรงและร่างทรงอย่างละเอียดมีให้เห็นไม่มาก เหตุผลเหล่านี้ ได้มีส่วนที่กระตุ้นให้ผู้ศึกษาวิจัยเกิดความสนใจเป็นพิเศษที่จะศึกษาเรื่อง "การเข้าทรงและร่างทรง : ความเชื่อ พิธีกรรม และบทบาทที่มีต่อสังคม"

     ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ได้แนวความคิดพื้นฐานและเนื้อหาสาระบางส่วนมาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร ของนางนิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ แต่ได้มีการศึกษาวิจัยและค้นคว้าเพิ่มเติม ทั้งนี้โดยมีความมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดคือ ต้องการให้ความรู้เกี่ยวกับการเข้าทรงและร่างทรงได้เผยแพร่สู่สังคมตามลักษณะที่เป็นจริง โดยใช้ความรู้ทางวิชาการมาศึกษาวิจัย

     การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เน้นการศึกษาวิจัยภาคสนามเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ร่างทรง รวมทั้งประชาชนที่รู้และสนใจการเข้าทรง ส่วนข้อมูลจากเอกสารหลักฐาน และการสังเกตสภาวะต่าง ๆ เป็นเพียงข้อมูลประกอบเท่านั้น

     ผลของการศึกษาวิจัยที่ได้ สามารถใช้ได้โดยตรงเฉพาะในสังคมอำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทราเท่านั้น กระนั้นก็ตาม หลักใหญ่ใจความของผลการศึกษาวิจัยอาจนำไปศึกษาเปรียบเทียบกับสังคมอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้ ผู้ศึกษาวิจัยมีความเชื่อมั่นว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่นำไปศึกษาและประยุกต์ใช้  หรืออย่างน้อยก็สามารถใช้เป็นแนวทางเพื่อนำไปสู่การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการเข้าทรงและร่างทรงในด้านอื่น ๆ ต่อไป

     บุคคลที่ควรได้รับการกราบขอบพระคุณอย่างยิ่งไว้ ณ ที่นี้ก็คือ รศ. ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม  ผศ. ปรานี วงษ์เทศ และ ผศ. นิวัฒน์ ฉิมพาลี รวมทั้ง ศ.ดร. สนิท สมัครการ  บุคคลที่กล่าวมานี้ได้ให้ทั้งความรู้และคำแนะนำต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาวิจัย พร้อมกันนี้ ผู้ศึกษาวิจัยต้องกราบขอบพระคุณร่างทรงตลอดจนประชาชนที่รู้และสนใจการเข้าทรงทั้งหลายที่ได้สละเวลาอันมีค่าให้สัมภาษณ์ ให้ความรู้ และเปิดโอกาสให้ผู้ศึกษาวิจัยได้มีโอกาสร่วมพิธีกรรมต่าง ๆ ด้วยเป็นอย่างดี ซึ่งหากปราศจากบุคคลทั้งหมดนี้แล้ว หนังสือเล่มนี้ก็มิอาจเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้

     แม้ผู้ศึกษาได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการอุดข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่จะเกิดมีขึ้น แต่ก็คงไม่อาจทำได้ทั้งหมด ฉะนั้น จึงขอความกรุณาจากท่านผู้ที่มีความรู้หรือผู้ที่มีประสบการณ์ได้โปรดกรุณาชี้แนะและให้คำวิพากษ์วิจารณ์ด้วย  จักเป็นพระคุณยิ่ง


                                                              วิรัช วิรัชนิภาวรรณ  และ 

                                                              นิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ

                               สารบัญ

บทที่ 1 บทนำ

     - ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่องที่ศึกษาวิจัย

     - วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย

     - ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

     - กรอบแนวความคิดในการศึกษาวิจัย

     - คำจำกัดความที่ใช้ในการศึกษาวิจัย

     - เอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

     - วิธีศึกษาวิจัย

บทที่ 2 สภาพทั่วไปของสังคมอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

     - ประวัติเมืองฉะเชิงเทรา

     - ประวัติอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

     - สภาพต่าง ๆ ของอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

บทที่ 3 ความเชื่อ

     - พุทธศาสนากับความเชื่อในเรื่องการเข้าทรง

     - ความเชื่อในเรื่องผีสางเทวดาของอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา

     - มูลเหตุที่ทำให้ประชาชนมีความเชื่อหรือสนใจเรื่องการเข้าทรง

       และร่างทรง

     - ความเชื่อของร่างทรงที่มีต่อการเข้าทรง

     - ความเชื่อของประชาชนที่มีต่อการเข้าทรง

บทที่ 4 พิธีกรรม

     - ประเภทของการเข้าทรงและการผสมผสานการเข้าทรง

     - สาเหตุที่เจ้ามาจับทรง

     - คุณสมบัติของร่างทรง

     - สาเหตุที่ร่างทรงยอมรับการเป็นร่างทรง

     - การถูกเลือกเป็นร่างทรง

      - ขั้นตอนในการเป็นร่างทรง

     - วิธีการค้นหาเจ้าที่มาจับทรงครั้งแรก

     - พิธีครอบครู

     - พิธีตั้งหิ้งเจ้า

     - พิธีไหว้ครูประจำปี

     - พิธีเข้าทรงเพื่อให้บริการแก่ผู้มารับบริการ

     - สาเหตุที่ผู้รับบริการมาใช้บริการ

     - เกณฑ์ที่ตัดสินว่าการให้บริการประสบผลสำเร็จ

     - ขั้นตอนในการมาขอรับบริการ

     - สิ่งของจำเป็นที่ใช้ในพิธีกรรมเข้าทรงและความหมาย

     - การสิ้นสุดการเป็นร่างทรง

     - กิจกรรมภายหลังสิ้นสุดการเป็นร่างทรง

     - ปัญหาของร่างทรง

     - ข้อกำหนดของร่างทรง

     - ความสัมพันธ์ของร่างทรงด้วยกัน

     - การไปดูงานของร่างทรงตามสำนักต่าง ๆ นอกจังหวัด

บทที่ 5 บทบาทของร่างทรงที่มีต่อสังคม

     - บทบาทของร่างทรงที่มีผลกระทบต่อปัจเจกชน

     - บทบาทของร่างทรงที่มีผลกระทบต่อสังคม

บทที่ 6 ชีวประวัติของร่างทรงบางรายที่น่าสนใจ

     - ร่างทรงรายที่ 1

     - ร่างทรงรายที่ 2

     - ร่างทรงรายที่ 3

     - ร่างทรงรายที่ 4

     - ร่างทรงรายที่ 5

     - ร่างทรงรายที่ 6

บทที่ 7 สรุป วิเคราะห์ และข้อเสนอแนะ

     -  สรุปและวิเคราะห์

     - ข้อเสนอแนะ

บรรณานุกรม

     - ภาษาไทย

     - ภาษาอังกฤษ