คำนำ
ชนบทไทยเป็นที่อยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
เป็นแหล่งที่มีคนยากจน
เจ็บป่วย
และขาดการศึกษาอยู่เป็นจำนวนมาก
จึงเป็นเหตุให้ประชาชนในชนบทถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่ตลอดมา
และถึงแม้ว่ารัฐบาลได้ให้ความสนใจในการพัฒนาชนบทตลอดมา
มีการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก
แต่ก็ยังปรากฏว่า
ยิ่งพัฒนามากขึ้นเท่าใดประชาชนในชนบทยิ่งยากจนมากขึ้นเท่านั้น
สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาชนบทขาประสิทธิภาพ
อันส่งผลให้การพัฒนาชนบทไทยยังไม่ประสบผลสำเร็จมากเท่าที่ควรนั้น
เป็นเพราะการไม่เข้าใจถึงการบริหารการพัฒนาชนบทตามแนวทางต่าง
ๆ อย่างขัดเจน ฉะนั้น
การศึกษาถึงการบริหารการพัฒนาชนบทภาครัฐในแนวทางต่าง
ๆ
ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในภาคอีสาน
อันได้แก่
การบริหารการพัฒนาชนบทตามแนวทางแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง
ตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐาน
และตามแนวทางโครงการอีสานเขียว
โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์วิจารณ์ในแง่มุมต่าง
ๆ อย่างละเอียดและมีระบบ
นอกจากนี้
ในส่วนท้ายสุดได้ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการบริหารการพัฒนาชนบทของไทยในอนาคตว่าควรจะเป็นอย่างไรไว้ด้วย
การกระทำเหล่านี้
ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เข้าใจถึงการบริหารการพัฒนาชนบททั้ง
3 แนวทางดังกล่าวเท่านั้น
ข้อมูลที่ได้รับยังสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงการบริหารการพัฒนาชนบทตามแนวทางนั้น
ๆ ได้อีกด้วย
ซึ่งอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการพัฒนาชนบทไทยได้บ้างไม่มากก็น้อย
สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ควรกล่าวไว้ในที่นี้ก็คือ
แม้ว่าการบริหารการพัฒนาชนบทในภาคอีสานของไทยทั้ง
3
แนวทางที่ทำการเปรียบเทียบจะมีความแตกต่างกันบ้างในหลาย
ๆ เรื่อง เป็นต้นว่า
ในเรื่องชื่อหรือความหมาย
ประวัติความเป็นมา
ความเชื่อพื้นฐาน
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
รวมทั้งหลักการ
กระบวนการ
และกลยุทธ์ก็ตาม
แต่สภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม การเมือง
และการบริหารของการบริหารการพัฒนาชนบททั้ง
3
แนวทางนั้นไม่มีความแตกต่างกั้นมากนัก
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าการบริหารการพัฒนาชนบททั้ง
3 แนวทางอยู่ร่วมสมัยกัน
คือต่างก่อตั้งหรือขยายผลและแพร่หลายไปยังชนบทต่าง
ๆ
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันมาก
คือระหว่าง พ.ศ. 2524-2530
ภายใต้การนำของรัฐบาลพลเอกเปรม
ติณสูลานนท์
อีกทั้งต่างก็เป็นการบริหารการพัฒนาชนบทภาครัฐที่มีปรากฏอยู่ในภาคอีสานด้วย
ดังนั้น
จึงทำให้การเปรียบเทียบในแง่มุมต่าง
ๆ สามารถกระทำได้
ในการเขียนหนังสือเรื่อง
"การบริหารการพัฒนาชนบทเปรียบเทียบ"
นี้ ได้แบ่งออกเป็น 6 บท
บทแรกเป็นบทนำ
ซึ่งกล่าวถึงโครงร่างการเขียนหนังสือ
บทที่ 2 กล่าวถึงความหมาย
รวมทั้งความสัมพันธ์ของการบริหารการพัฒนากับการพัฒนาชนบท
บทที่ 3-5
เป็นการศึกษาถึงการบริหารการพัฒนาชนบทตามแนวทางแผ่นดินธรรม
แผ่นดินทอง
การบริหารการพัฒนาชนบทตามแนวทางความจำเป็นพื้นฐาน
และการบริหารการพัฒนาชนบทตามแนวทางโครงการอีสานเขียว
ตามลำดับ ในบทที่ 6
ซึ่งเป็นบทสุดท้าย
ได้ทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ
และเสนอแนวทางการบริหารการพัฒนาชนบทไทยในอดีตไว้ด้วย
ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น
ผู้เขียนต้องขอขอบพระคุณ
ศ.ดร. ไพบูลย์ ช่างเรียน รศ.ดร.
ติน ปรัชญพฤทธิ์ และ รศ.ดร.
กฤช เพิ่มทันจิตต์
ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้
คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาชนบทให้แก่ผู้เขียน
ส่วนข้อบกพร่องใด ๆ
ที่เกิดขึ้นในหนังสือเล่มนี้
ผู้เขียนขอน้อมรับไว้ทุกประการ
และยินดีที่จะทำการปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วนต่อไป
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
ภาควิชาสังคมศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อ. เมือง จ. ขอนแก่น 40002
2534
|